Deconditioning หรือ Disuse Syndrome หรือ ภาวะถดถอยทางร่างกาย เป็นหนึ่งในภาวะอันตรายที่คุณอาจะไม่รู้จัก เป็นภาวะที่เกิดจากการนอนหรือไม่ได้ขยับมาเป็นเวลานาน ส่งผลให้ความสามารถหรือการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายลดลง ซึ่งนำมาสู่การเกิดภาวะถดถอยหรือ โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยอ่อนแอลงจนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงไปในที่สุด ผู้ป่วยที่อาจเกิด Disuse Syndrome หรือ ภาวะถดถอยทางร่างกาย เช่น
-
ผู้ได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน
-
ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเยอะ
-
ผู้ป่วยที่ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
-
ผู้ป่วยที่เส้นเลือดสมองตีบ
-
ผู้ป่วยกระดูกหัก
-
ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงนาน หรือ นอนโรงพยาบาลนาน
การที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ปุวยตระหนักถึงภาวะ Deconditioning หรือ Disuse Syndrome หรือ ภาวะถดถอยทางร่างกายจะทำให้สามารถป้องกันและรักษาได้อย่างเหมาะสม
ปัญหาที่อาจเกิดจากภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งาน
กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ
ผลกระทบ:
– ข้อฝืด
– ข้อยึดติด
– กระดูกบาง
– กล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง
หัวใจและหลอดเลือด
ระบบการหายใจ
– ภาวะเวียนหัวขณะเปลี่ยนท่าทางเนื่องจากการปรับระดับไหลเวียนโลหิต
– ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
– เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep vein thrombosis)
ระบบการหายใจ
ผลกระทบ:
– ลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด ทำให้หายใจลำบากขึ้น หายใจ 1 ครั้งดึงอ๊อกซิเจนไปใช้ได้น้อยลง
– ประสิทธิภาพการไอและขับเสมหะลดลง
– เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบและลิ่มเลือดอุดตันในปอด
ระบบประสาท
ผลกระทบ:
– เกิดการกดทับเส้นประสาท
– สูญเสียการทรงตัว
ระบบต่อมไร้ท่อ
ผลกระทบ:
– เกิดภาวะดื้ออินซูลิน
– ลดการสร้างฮอร์โมนบางชนิด
– เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ
ระบบปัสสาวะ
ผลกระทบ:
– มีการคั่งของปัสสาวะ อาจทำให้เกิดกระเพาะ ปัสสาวะคราก
– เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
– เกิดนิ่ว
ระบบทางเดินอาหาร
ผลกระทบ:
– ท้องผูก
– ลดความอยากอาหาร
ระบบผิวหนัง
ผลกระทบ:
– เกิดแผลกดทับ
ตัวอย่างอาการภาวะถดถอยทางร่างกายหรือ Disuse Syndrome
การรักษาเบื้องต้นจากภาวะถดถอยทางร่างกายหรือ Disuse Syndrome
-
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยการเคลื่อนไหวข้อต่อ
-
กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวและคนรอบตัว เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
-
พยายามให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด
-
ฟื้นฟูร่างกายด้วยการกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาช่วยเหลือตัวเอง ใช้ชีวิตใกล้เคียงกับวิถีชีวิตเดิม
-
เปลี่ยนท่าทางการปรงตัวบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับ
-
เลือกใช้ที่นอนที่ไม่ยุบตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเปลี่ยนท่านอน
ขอบคุณข้อมูลจาก:
การฟื้นฟูผู้สูงอายุและภาวะถดถอยของร่างกาย Rehabilitation in elderly and Deconditioning
ผศ.พญ.จีระนันท์ คุณาชีวะ
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือคลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน กระตุ้นความทรงจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
✔️ใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
✔️รักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ
✔️มาตรฐานการรักษาจากญี่ปุ่น
#PNKG #ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ #บริการกายภาพบำบัด #สโตรก #ฟื้นฟูหลังผ่าตัด #กระตุ้นการกลืน #อัลไซเมอร์ #กล้ามเนื้ออ่อนแรง