PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

ล้มแล้วต้องรีบลุก! เป็นสโตรกต้องเร่งทำกายภาพบำบัด ใน 6 เดือนแรก

  • Home
  • บทความ
  • ล้มแล้วต้องรีบลุก! เป็นสโตรกต้องเร่งทำกายภาพบำบัด ใน 6 เดือนแรก
โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke) ได้กลายเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว กลุ่มคนอายุน้อยก็ยังมีแนวโน้มเกิดโรคนี้สูงขึ้นด้วย และหากเป็นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตระยะยาวอย่างแน่นอน หากไม่รีบทำการฟื้นฟู ร่างกายอาจเกิดภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งานร่วมด้วย ส่งผลให้เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้
จากงานวิจัยในปี 2563 พบว่าอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ในประเทศไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับ 328 ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ซึ่งมีแนวโน้มสูงมากขึ้น
(อ้างอิง: วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย Vol.37 | NO.4 | 2021)
(อ้างอิง: งานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ)
(อ้างอิง: งานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ)
(อ้างอิง: งานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ)

การทำกายภาพบำบัดจะช่วยผู้ป่วยได้อย่างไร ?

เนื่องจากสมองได้รับความเสียหาย จึงส่งผลต่อการทำงานของหลาย ๆ ระบบในร่างกาย เมื่อถึงมือแพทย์และได้รับการรักษา หลังจากนั้นร่างกายจะค่อย ๆ ฟื้นตัวตามลำดับ เช่น ต้องเรียนรู้การเคลื่อนไหว เรียนรู้การกลืนอาหารเนื่องจากมีภาวะกลืนลำบาก หรือแม้กระทั่งเรียนรู้กระบวนการคิด หรือการสื่อสารใหม่อีกครั้ง
โดยช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากพ้นขีดอันตรายนั้น เรียกว่า Golden Period หรือ “ช่วงเวลาทองของการฟื้นฟู” ซึ่งสรุปโดยง่าย คือช่วงเวลาที่ดีที่สุด ที่เราจะเริ่มฟื้นฟูร่างกายตนเองให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุดนั่นเอง

การฟื้นฟูในช่วง Golden Period ส่งผลดีต่อผู้ป่วยอย่างไร ?

Golden Period คือช่วงเวลาระหว่างเดือนที่ 3 – 6 หลังพ้นขีนอันตรายจาก สโตรค ระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่ระบบประสาทสามารถฟื้นฟูได้ดีที่สุด ดังนั้นยิ่งเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็วเท่าไร ประสิทธิภาพในการฟื้นตัวของสมอง และร่างกายก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย  นอกจากนั้น ยังเป็นช่วงที่ร่างกายของผู้ป่วย มีแผลกดทับ มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และการติดเชื้อน้อยกว่า อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำต่ำกว่า อีกด้วย
ดังนั้น เราควรเริ่มต้นการฟื้นฟูโดยทันที เมื่อเข้าสู่ช่วง Golden Period และเนื่องจากการที่สมองของเราสามารถฟื้นฟูได้ดีที่สุดในช่วงนี้ เราจึงควรเข้ารับการฟื้นฟูอย่างเข้มข้น และทุ่มเทเวลาไปกับการฟื้นฟู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปรแกรมฟื้นฟูที่เหมาะสม ตรงตามความสามารถของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแต่ละราย

การฟื้นฟูในช่วง Golden Period ทำอะไรบ้าง ?

  • ประเมินสาเหตุ: ประเมินร่างกายผู้ป่วย เพื่อหาสาเหตุการเกิดสโตรก เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำในอนาคต เช่น ความดันเลือด ภาวะเบาหวาน
  • ตั้งเป้าหมาย: ตั้งเป้าหมายในการฟื้นฟู เพื่อให้ทีมฟื้นฟูสามารถออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟู และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประเมินความสามารถของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ: ทีมฟื้นฟูจะทำการประเมินศักยภาพผู้ป่วย เพื่อนำผลลัพธ์ไปปรับกับแผนการฟื้นฟูเป็นระยะ ๆ
  • ส่งต่อการฟื้นฟู: หลังจากเข้ารับการฟื้นฟูตามโปรแกรมการฟื้นฟูตลอดช่วง Golden Period แล้ว ผู้ป่วยจะเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูระยะยาว เช่น ทีมฟื้นฟูจะทำการออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูที่บ้าน เพื่อการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพในะระยะยาว เป็นต้น
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือคลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน กระตุ้นความทรงจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

✔️ใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

✔️รักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ

✔️มาตรฐานการรักษาจากญี่ปุ่น

 

#PNKG #ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ #บริการกายภาพบำบัด #สโตรก #ฟื้นฟูหลังผ่าตัด #กระตุ้นการกลืน #อัลไซเมอร์ #กล้ามเนื้ออ่อนแรง