PNKG Recovery and Elder Care
-
โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมอง ตีบ แตก ตัน
-
โรคทางระบบประสาท
-
ฟื้นฟูหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ข้อสะโพก และภาวะถดถอยทางร่างกาย

เราคือใคร

ความร่วมมือ
จากปณิธานที่ต้องการให้ประชากรสามารถเข้าถึงการสาธารณสุขที่ดี จึงเกิดเป็นความร่วมมือของทั้งสองกลุ่มบริษัทที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน


Nihon Keiei Group
มีประสบการณ์ด้านการดูแลผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี เน้นการฟื้นฟู ด้วยแนวคิด Self-reliance ให้ผู้สูงอายุกลับมาแข็งแรงและกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวได้

บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) (PRINC)
มุ่งเน้นในการสร้างเครือข่ายการให้บริการด้านสุขภาพด้วยความเป็นเลิศในด้านการแพทย์ ผสานเข้ากับการนำเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อความรวดเร็วในให้บริการและความปลอดภัยของผู้เข้ารับการรักษา
จุดเด่นของเรา

รักษาด้วยวิธี Kaigo - Do
เน้นให้ผู้ป่วยกลับไปช่วยเหลือตัวเองที่บ้านได้เร็วที่สุด ด้วยระบบการดูแลและฟื้นฟูจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยอมรับด้าน Rehabilitation ระดับโลก

การทำงานร่วมกันเป็นทีมของสหวิชาชีพ
ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์พัฒนาและนำมาสู่แบบแผนการใช้ชีวิต ที่เหมาะสม

โปรแกรมการรักษาเฉพาะบุคคล
แผนการฟื้นฟูเฉพาะบุคคล ที่เน้นรักษาแบบเข้มข้น ในระยะเวลาสั้น ทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายได้เร็ว

ดูแลอย่างใกล้ชิด
มีบุคลากรทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวิชาชีพ ทั้งไทยและญี่ปุ่น ดูแล 24 ชั่วโมง

แผนการรักษาเข้มข้นในเวลาอันสั้น
ทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายได้ไว
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา

นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) หรือที่รู้จักกันว่า “PT” หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูผู้ป่วยระบบประสาทและกระดูกกล้ามเนื้อ โดยตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยด้วยหลักการของชีวกลศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และทฤษฎีต่าง ๆ ผสมผสานกัน เพื่อให้ร่างกายอยู่ในท่าทาง และตำแหน่งที่เหมาะสมถูกต้อง ทั้งการลุก การนั่ง การเดิน รวมทั้งการบูรณาการการเคลื่อนไหวสู่การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการมีส่วนร่วมในสังคม

นักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) หรือที่เรียกกันว่า “OT” หมายถึง บุคลากรที่ทำหน้าที่ประเมินและรักษาสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ เนื่องจากอาการเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือสถานการณ์อื่นๆ และช่วยให้บุคคลเหล่านั้นกลับมามีทักษะในการทำงานที่เคยหายไปอีกครั้ง นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความสามารถและทักษะทางสังคม และพึ่งพาตนเองในการทำงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝึกกลืน ฝึกความคิดความเข้าใจ ฝึกการหยิบจับ รวมถึงการฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีมากยิ่งขึ้น

Care Team เป็นฝ่ายที่ทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยและครอบครัวมากที่สุดประกอบไปด้วย พยาบาล ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยเริ่มตั้งแต่ซักประวัติความเจ็บป่วยและภูมิหลัง คอยสังเกตอาการ สอบถามรายละเอียดการใช้ชีวิต สุขภาพจิตของผู้เข้ารับการฟื้นฟู ตลอดจนประวัติการรักษาโรคประจำตัว เพื่อนำมาวิเคราะห์ พร้อมประสานงานไปยังทีมนักบำบัด นำไปสู่การปรับเปลี่ยนการฟื้นฟูผ่านตารางการฝึกในแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและตรงกับความต้องการกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

คอยให้คำแนะนำ และสังเกต อาการข้างเคียงของโรคที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูเป็นอยู่ รวมไปถึงในด้านโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการฟื้นฟูรวมไปถึงพิจารณาการลดยาประจำตัวของผู้เข้ารับการฟื้นฟู

มีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณสารอาหารที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูพึงจะได้รับ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยมีทีมนักโภชนาการจากประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ
