PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

Author name: admin

“ศูนย์ฟื้นฟู VS ศูนย์บริบาลหรือบ้านพักคนชรา เลือกสถานบริบาลอย่างไรให้เหมาะสมกับคนที่คุณรัก” ในปัจจุบันเราแทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสังคมประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2561 จากการอ้างอิงของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หมายถึงประเทศไทยจะมีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ10 ของประชากรทั้งหมด โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลง อีกทั้งยังมีปัญหาสุขภาวะจากโรคประจำตัว ร่วมกับภาวะเปราะบางหรือทุพพลภาพในผู้สูงอายุบางรายร่วมด้วย ส่งผลให้บางครอบครัวมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการให้การดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มดังกล่าวประกอบกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชากรที่เป็นครอบครัวเดี่ยว ฉะนั้นการหาสถานที่ในการให้การช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แต่การจะเลือกสถานบริบาลแต่ละที่นั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคนเสมอไป ดังนั้นวันนี้เราจึงจะมาคุยถึงแนวทางการเลือกสถานบริบาลที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและปัญหาของพวกท่าน สถานบริบาลในอุดมคตินั้นควรจะเป็นสถานที่สนับสนุนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในขณะที่ไม่เป็นการจำกัดความสามารถของผู้สูงอายุ อีกทั้งยังต้องสนับสนุนและช่วยเหลือในส่วนที่พวกท่านนั้นบกพร่อง แต่ในปัจจุบัน (มีนาคม 2566) สถาบริบาลที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับกระทรวงสาธารณสุขมีมากกว่า 786 แห่ง และกระจุกตัวอย่างมากในสังคมเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล ดังนั้นการเลือกสถานบริบาลที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละรายจึงเป็นอีกสิ่งที่ควรพิจารณาก่อนจะพาผู้สูงอายุที่ท่านรักไปรับการดูแลตามสถานบริบาลนั้นๆ เกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาคือความความรุนแรงของปัญหาที่ผู้ป่วยเป็น อันแสดงออกถึงความสามารถของผู้สูงอายุ ซึ่งปกติหลังจากภาวะผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีภาวะบาดเจ็บหรือได้รับการรักษาในระยะเฉียบพลัน(Acute phase) จะมีปัญหาทางพยาธิสภาพที่คงที่ และสามารถกลับมาพักฟื้นที่บ้านด้วยการดูแลของครอบครัวได้ ในระยะนี้จะถือว่าเป็นระยะฟื้นฟู (Recovery phase) ในระยะนี้ ร่างกายจะมีความสามารถที่ด้อยกว่าภาวะปกติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยคืนความสามารถให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดตามเเต่ข้อจำกัดของผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งความแข็งแรงทางร่างกาย ตลอดจนการรับรู้ความเข้าใจ ให้มีความสามาถเพียงพอต่อการทำกิจกรรมพื้นฐานและสามารถลดระดับความช่วยเหลือจากรอบข้าง ซึ่งหากพ้นจากระยะฟื้นฟูแล้วผู้ป่วยจะมีอัตราการพัฒนาที่ช้าลงและเข้าสู่ระยะคงความสามารถ (Maintenance phase) ซึ่งจะเป็นการปรับใช้ความสามารถที่มีกับการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งระยะของผู้ป่วยแต่ละรายและความรุนแรงนี้ก็มีผลต่อการเลือกสถานบริบาลเนื่องจากจุดประสงค์ของการดูแลที่แตกต่างกัน อีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกสถานบริบาลคือแรงจูงใจของผู้ป่วยต่อการช่วยเหลือตนเองรวมถึงทัศนติต่อการกลับมาช่วยเหลือตนเอง เนื่องจากเป็นประเด็นหลักที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการฟื้นฟูตามแต่ละระยะ หากเราทราบปัจจัยทั้งสองส่วนนี้และจะสามารถนำมาเป็นกรอบในการพิจารณาชนิดของสถานบริบาลตามแผนภาพได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 …

“ศูนย์ฟื้นฟู VS ศูนย์บริบาลหรือบ้านพักคนชรา เลือกสถานบริบาลอย่างไรให้เหมาะสมกับคนที่คุณรัก” Read More »

Loading…

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke) ได้กลายเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว กลุ่มคนอายุน้อยก็ยังมีแนวโน้มเกิดโรคนี้สูงขึ้นด้วย และหากเป็นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตระยะยาวอย่างแน่นอน หากไม่รีบทำการฟื้นฟู ร่างกายอาจเกิดภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งานร่วมด้วย ส่งผลให้เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ จากงานวิจัยในปี 2563 พบว่าอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ในประเทศไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับ 328 ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ซึ่งมีแนวโน้มสูงมากขึ้น (อ้างอิง: วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย Vol.37 | NO.4 | 2021) (อ้างอิง: งานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ) (อ้างอิง: งานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ) การทำกายภาพบำบัดจะช่วยผู้ป่วยได้อย่างไร ? เนื่องจากสมองได้รับความเสียหาย จึงส่งผลต่อการทำงานของหลาย ๆ ระบบในร่างกาย เมื่อถึงมือแพทย์และได้รับการรักษา หลังจากนั้นร่างกายจะค่อย ๆ ฟื้นตัวตามลำดับ เช่น ต้องเรียนรู้การเคลื่อนไหว เรียนรู้การกลืนอาหารเนื่องจากมีภาวะกลืนลำบาก หรือแม้กระทั่งเรียนรู้กระบวนการคิด หรือการสื่อสารใหม่อีกครั้ง โดยช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากพ้นขีดอันตรายนั้น …

ล้มแล้วต้องรีบลุก! เป็นสโตรกต้องเร่งทำกายภาพบำบัด ใน 6 เดือนแรก Read More »

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การกลืน” เป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานของร่างกายที่สำคัญมาก หากเรามีปัญหากับการกลืน อย่าง “ภาวะกลืนลำบาก” อาจส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ยากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ภาวะกลืนลำบาก คืออะไร? ภาวะกลืนลำบาก คือ ภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติในการกลืน ทำให้อาจกลืนสิ่งต่าง ๆ ได้ยากลำบากหรือมีอาการเจ็บเวลากลืน เช่น ขณะกลืนอาหาร หรือของเหลวบางชนิด กลืนน้ำลาย เป็นต้น ภาวะกลืนลำบากสามารถพบได้ใน กลุ่มผู้ป่วยด้านระบบประสาทและสมอง (โรคหลอดเลือดสมอง บาดเจ็บที่สมอง หรือสมองเสื่อม) มะเร็ง และโรคกรดไหลย้อน (GERD) สาเหตุของภาวะกลืนลำบาก ผู้สูงอายุบางรายอาจมีประสิทธิภาพการเคี้ยวและการกลืนลดลง ทำให้รู้สึกเจ็บ เมื่อกลืนน้ำหรืออาหาร ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น โรคอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเรื้อรัง เนื้องอกที่สมอง ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเส้นเลือดในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตัน ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเอากล่องเสียงออก ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน อาการของภาวะกลืนลำบาก นอกจากนี้ ภาวะกลืนลำบากยังมักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่าง เนื้องอก พาร์กินสัน ซึ่งกระทบกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เช่น หายใจติดขัด หายใจไม่ออก สำลักหลังรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ (อาหารหรือของเหลวเข้าสู่หลอดลม) ไอระหว่างหรือหลังกลืนอาหารหรือน้ำ …

ภาวะกลืนลำบาก: ผลเสียต่อผู้สูงอายุและวิธีดูแล Read More »

9 ธ.ค. 65 จ.กรุงเทพมหานคร – PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC นำโดยคุณยูกิ ฟุรุยะ ผู้อำนวยการศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care และคุณสรวงศ์ ศิริบุญพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ พร้อม ดร.อรณัฏฐ์ นครศรี ประธานกรรมการมูลนิธิจากนางฟ้าถึงคุณวันใหม่ และ คุณณัฐกาญจน์ เด่นวณิชชากร ผู้อำนวยการของ Joy Ride Thailand มอบ “คุณช้างจับมือ” อุปกรณ์เพื่อการบริหาร เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ เพื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 500 ตัว แก่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โดยมีคุณปาริชาติ จันทร์สุนทราพร …

คุณช้างจับมือ อุปกรณ์ช่วยกายภาพ Read More »

Motor Learning Theory คือ เทคนิกการฟื้นฟูที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ ด้วยการสร้างความเคยชิน ที่ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care เราใช้ศาสตร์การฟื้นฟูแบบไคโก-โดะ ซึ่งเป็นศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง โดยมีผู้ดูแล (Caregiver) คอยให้ความช่วยเหลือในเวลาที่เขาต้องการเท่านั้น แต่รู้หรือไม่? เบื้องหลังความสำเร็จของการฟื้นฟูแบบไคโก-โดะ คือทฤษฎีการฟื้นฟูที่มีชื่อว่า Motor Learning Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นพัฒนา และเสริมสร้างการทำงานสหสัมพันธ์ของสมองและกล้ามเนื้อ ผ่านการฝึกฝนและช่วงเวลา‍ Motor Learning Theory คืออะไร? เคยสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมเราสามารถกลับมาขับรถยนต์ ว่ายน้ำ หรือเล่นเปียโนได้ หลังจากหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ ไปเป็นปี ปัจจัยนึงมาจากสมองของมนุษย์นั้นได้บันทึกข้อมูลการเคลื่อนไหวนี้ไว้แล้ว ทำให้สามารถหยิบข้อมูลดังกล่าวมาใช้ได้ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่คล่องเหมือนเดิมแต่หากฝึกฝนซ้ำ ๆ ก็สามารถกลับมาทำกิจกรรมนั้นได้ดังเดิม แล้วทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับการฟื้นฟูผู้ป่วย? หลังจากพ้นจากขีดอันตรายของโรคหลอดเลือดสมอง พักฟื้นจากการผ่าเข่า สะโพก กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถขยับ เคลื่อนที่ หรือใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นเคย ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นคืนความสามารถที่เสียไปได้โดยการทำกายภาพบำบัด …

Motor Learning Theory หนึ่งในหัวใจกายภาพบำบัด Read More »

เพราะว่าการฟื้นฟูไม่มีสูตรสำเร็จ ผู้ป่วยแต่ละคนจึงต้องมีแผนการฟื้นฟูเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้การฟื้นฟูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care เราให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ การขับถ่าย และการออกกำลังกายของผู้เข้ารับการฟื้นฟู ซึ่งแน่นอนว่าความสามารถของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น บุคลากรของทางศูนย์ จะเริ่มต้นจากการพูดคุยกับผู้เข้ารับการฟื้นฟู เพื่อออกแบบ “แผนการฟื้นฟูเฉพาะบุคคล” ให้เหมาะสมกับตัวผู้เข้ารับการฟื้นฟูแต่ละรายให้ได้มากที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโปรแกรมฟื้นฟู เพื่อให้ได้แผนการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสอดคล้องกับวิถีชีวิตเดิมของผู้เข้ารับการฟื้นฟู บุคลากรของทางศูนย์จะทำการพูดคุยกับผู้เข้ารับการฟื้นฟูถึง ข้อมูลส่วนตัวบางประการที่เปิดเผยได้ ภูมิหลังทั่วไป ตลอดจนความชอบส่วนบุคคล และกิจกรรมที่สนใจ เพื่อนำมาปรับให้เหมาะสมกับโปรแกรมการฝึก และโปรแกรมการดูแลทั้งหมด ทำไมถึงต้องซักถามข้อมูลโดยละเอียด? เพราะคนเดินไม่ได้ 10 คน มีสาเหตุแตกต่างกันทุกคน นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราถึงต้องซักประวัติอย่างละเอียด เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเดินไม่ได้ ”ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมฟื้นฟูข้อดีของแผนฟื้นฟูเฉพาะบุคคล แผนการรักษาจะปรับเปลี่ยนตามพัฒนาการของผู้เข้ารับการฟื้นฟู ทางศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care จะมีแผนการฟื้นฟูระยะสั้น และระยะยาว ทั้งนี้ บุคลากรของทางศูนย์จะทำการประเมินผลจากการประยุกต์ใช้แผนฟื้นฟูเฉพาะบุคคลกับผู้เข้ารับการฟื้นฟูแต่ละราย เพื่อดูว่าผลลัพธ์ตรงตามที่เราตั้งไว้มาก-น้อย เพียงไหน และปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้การฟื้นฟูประสบความสำเร็จ และปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้การฟื้นฟูไม่ประสบความสำเร็จ เพื่อที่ทางศูนย์จะสามารถปรับแผนการฟื้นฟู …

ทำไมก่อนกายภาพบำบัด ต้องมีแผนฟื้นฟูเฉพาะบุคคล Read More »

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือดอันเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย และเป็นเหตุให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก โรคหลอดเลือดสมอง (โรค Stroke) คือ อะไร? โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือดอันเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย และเป็นเหตุให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ จากสถิติในประเทศไทยในรายงานปี 2562 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกว่า 34,728 คน (อ้างอิง: กรมควบคุมโรค, 28 ตุลาคม 64) ลักษณะของโรคสโตรค หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke) ถือเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ (80%) ของการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีผลให้ประสิทธิภาพการลำเลียงเลือดลดลง เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ลิ่มเลือดจากบริเวณอื่นไหลมาอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมองจนอุดตัน หลอดเลือดตีบจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) ภาวะนี้อันตรายและส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ …

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คืออะไร วิธีดูแลผู้ป่วยทำอย่างไร Read More »