กายภาพบำบัด คือ การตรวจประเมิน วินิจฉัย และบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดจากภาวะของโรคและการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ รวมทั้งป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เมื่อร่างกายแข็งแรง สภาพจิตใจก็ดีขึ้นตามไปด้วย เป้าหมายของการทำกายภาพบำบัด คือ เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยกลับมามีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายหรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางประเภทอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูนาน ขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และอายุของผู้ป่วย เป็นต้น จุดมุ่งหมายของการทำกายภาพบำบัด แบ่งออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่ 1. ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายการหลังจากผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่าง ๆ ควรได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บ โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อต่อยึดติด เพราะยิ่งคนไข้นอนอยู่บนเตียงนานเท่าไหร่ ยิ่งสูญเสียแรงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หลังจากที่ผู้ป่วยผ่าตัดเสร็จ แผลปิดสนิท ผู้ป่วยรู้ตัวดี อาจสามารถเริ่มทำกายภาพบำบัดได้เลย เช่น การพาลุกขึ้นนั่งบนเตียง ยกขาสูง ขยับแขน-ขา เพื่อไม่ให้นอนบนเตียงยาว ๆ อย่างไรก็ตาม นักกายภาพบำบัดจะประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมและเคลื่อนไหวร่างกายได้มาก-น้อยแค่ไหน 2. รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรัง …
https://pnkg-recoverycenter.com/wp-content/uploads/2023/02/Testimonial-case_10.mp4 พูดคุยกับ คุณวัชรศักดิ์ ผู้ป่วยภาวะ Long Covid อาการก่อนเข้ามารับการฟื้นฟูกับศูนย์กายภาพบำบัด PNKG เป็นอย่างไร “ตอนนั้นเป็นโควิดครับ อาการระดับสีแดง นอนอยู่ห้องไอซียูประมาณ 20 กว่าวัน ต้องนอนคว่ำหน้าตลอดมีการฟอกเลือดประมาณ 3 ครั้ง ให้น้ำเกลือ ทานข้าวก็ต้องทานบนเตียง หลังจากออกจากห้องไอซียู รู้สึกว่าแขนขาอ่อนแรงทั้งสองข้า ลับไปเลย ไม่มีแรงเดิน ประคองตัวไม่ได้ เลยปรึกษาคุณหมอ กลัวว่าจะใช้ชีวิตได้ไม่เหมือนปกติ คุณหมอเลยแนะนำให้มากายภาพบำบัด” ผลลัพธ์ก่อนและหลังกายภาพบำบัดกับศูนย์กายภาพบำบัด PNKG “ผลลัพธ์ดีมาก เจ้าหน้าที่เอาใจใส่ดี ติดตามผลลัพธ์ตลอด การฝึกตรงต่อเวลา จากที่ขาผมลีบเลย เดินไม่ได้ ภายใน 1 อาทิตย์ ผมสามารถประคองตัวเดินได้ เหมือนสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ไม่คิดว่าจะฟื้นตัวได้ใน 1 อาทิตย์หลังจากนั้นก็ซื้อโปรแกรมเพิ่มอีก 2 อาทิตย์ เพื่อให้ตัวเองดีขึ้น แข็งแรงขึ้น กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ” ระหว่างที่ฝึก รู้สึกเหนื่อยง่ายไหมจากอาการ Long Covid “เหนื่อยง่ายครับ เพราะเชื้อกินปอดไปบางส่วน แต่นักกายภาพบำบัดที่นี่ไม่ได้ฝึกเคี่ยวหนักจนเกินไป …
สัมภาษณ์สด คุณวัชรศักดิ์ (ผู้ป่วยภาวะ Long Covid) Read More »
https://pnkg-recoverycenter.com/wp-content/uploads/2023/02/Case-3.mp4 พูดคุยกับ ญาติและคุณไซ้เอ็ง แซ่โค้ว ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คุณไซ้เอ็งมีอาการปวดเข่าต่อเนื่องมามากกว่า 11 เดือน จึงไปปรึกษาแพทย์ แพทย์ลงความเห็นว่ามีอาการข้อเข่าเสื่อม แนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า หลังจากการผ่าตัด ไซ้เอ็งเข้ารับการฝึกออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวและเพิ่มความสามารถในการเดินเป็นระยะเวลาประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงกลับบ้าน แต่ด้วยสถานการณ์โควิดที่รุนแรงในช่วงนั้น ทำให้ไม่ได้มาติดตามการฝึกตามนัด ประกอบกับถูกจำกัดการเคลื่อนไหวและกิจกรรมเพียงในบ้านเท่านั้น ส่งผลให้มีอาการอ่อนแรงของขาทั้งสองข้าง ก้าวเดินลำบากมากขึ้น และลดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ต้องมีคนดูแลคอยช่วยเหลือตลอดเวลา คุณไซ้เอ็งได้รับคำแนะนำจากคนรู้จักให้มารับคำปรึกษาจากทางศูนย์ฟื้นฟูฯ PNKG จึงเข้ารับการประเมินปัญหา หลังจากได้รับการฝึกกายภาพบำบัด เป็นผู้ป่วยในต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ คุณไซ้เอ็งสามารถเดินทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เช่น เดินไปทานข้าว เข้าห้องน้ำ ได้ด้วยตนเองภายใต้การดูแลของครอบครัว และมีความมั่นใจเพียงพอต่อการทำกิจกรรมที่บ้าน ญาติให้คะแนนศูนย์ฟื้นฟูฯ PNKG คะแนน 1 – 5 (5 คือมากที่สุด 1 คือน้อยที่สุด) การเตรียมรายละเอียดของทีมพยาบาลและฝ่ายการดูแล (Care Team) “ให้ 5 คะแนน” คะแนนการบริการของศูนย์ PNKG “มีเกิน …
สัมภาษณ์ ญาติและคุณไซ้เอ็ง (ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม) Read More »
กายอุปกรณ์ (Orthosis and Prosthesis: PO) หมายถึง อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการเคลื่อนไหว รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้กับร่างกายสำหรับทดแทนอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพ เช่น ข้อเข่าเทียม ข้อสะโพกเทียม แขนขาเทียม เป็นต้น ในบางครั้งกายอุปกรณ์จะกินความหมายครอบคลุมถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น รถเข็น (Wheelchair) ไม้เท้า เป็นต้น โดยทั่วไป กายอุปกรณ์ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามจุดประสงค์การใช้งาน คือ กายอุปกรณ์เทียม (prosthesis) คือ กายอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ทดแทนอวัยวะหรือชิ้นส่วนของอวัยวะที่ขาดหาย หรือสูญเสียไปจากสาเหตุต่างๆ เช่น ขาเทียม แขนเทียม ข้อต่อเทียม นิ้วมือเทียม หรืออวัยวะเทียมอื่นๆ กายอุปกรณ์เสริม (orthosis) อาจเรียกชื่อสามัญอื่นๆว่า อุปกรณ์เสริม, อุปกรณ์ดาม, อุปกรณ์ประคอง (Splint หรือ Brace) คือ กายอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เพื่อเสริมความสามารถในการทำหน้าที่เดิมของอวัยวะที่มีปัญหาในการทำงานจากภาวะอ่อนแรง เจ็บปวด หรือเสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น ซึ่งกายอุปกรณ์เสริมเป็นอุปกรณ์ที่นำมาดัดแปลงเพื่อสนับสนุนลักษณะโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของการเคลื่อนไหวผ่านการช่วยเหลือระบบประสาทยนต์ ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบโครงสร้างและแกนกลางของร่างกาย …
ฝึกเดินด้วยกายอุปกรณ์ทำให้กลับมาเดินได้ จริงหรือไม่? Read More »
https://pnkg-recoverycenter.com/wp-content/uploads/2023/02/228ca0b7-36b7-478f-b65b-aec2f6e4c2b7.mp4 พูดคุยกับ คุณแพลน ญาติผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน อาการก่อนเข้ามารับการฟื้นฟูกับศูนย์กายภาพบำบัด PNKG เป็นอย่างไร “คุณตาก่อนเข้ามารักษามีสุขภาพแข็งแรงดี ไปเดินห้างได้ด้วยตัวเอง จนเมื่อช่วงโควิดที่ผ่าน ทำให้ไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ โรคประจำตัวก็กำเริบ ไม่ว่าจะเป็นโรคไต และที่สำคัญที่สุดคือโรคพาร์กินสัน” เหตุผลที่เข้ารับการฟื้นฟูกับศูนย์กายภาพบำบัด PNKG “ส่วนตัวแล้วผมเองทำงานในแวดวงด้านสุขภาพอยู่แล้ว แล้วก็ได้มีโอกาสรู้จักศูนย์กายภาพบำบัด PNKG จริง ๆ แล้วคุณตารักษาอยู่หลายที่ครับ แต่พอมารู้จักที่นี่ เราเลยอยากรู้ว่าศูนย์นี้แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร เท่าที่หาข้อมูลมาคือที่นี่มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทสญี่ปุ่นมารักษา ทำให้อยากพาคุณตามรักษาที่นี่ ทางศูนย์จะถามข้อมูล อย่างเช่น เรามีเป้าหมายการรักษาอย่างไร ซึ่งเป้าหมายแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป อย่างคุณตาของผม ผมแค่คาดหวังว่าอยากให้คุณตาสามารถลุกเข้าห้องน้ำได้เองในตอนกลางคืน จะได้ไม่เป็นภาระสำหรับลูกหลานที่บ้าน ซึ่งหลังกายภาพบำบัดไปได้ 5 ครั้ง คุณตาก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ครับ” ความประทับใจระหว่างเข้ารับการรักษาที่ศูนย์กายภาพบำบัด PNKG “สิ่งที่ประทับใจเป็นพิเศษ คือ น้อง ๆ ที่เข้ามาช่วยดูแลคุณตา พอคุณตามาถึงโรงพยาบาล ก็จะเดินไปรับที่รถ แล้วพาคุณตาเดินขึ้นมาที่ศูนย์ ทุก ๆ ครั้ง ทุก ๆ วันที่คุณตามา น้อง …
สัมภาษณ์สด คุณแพลน (ญาติคุณสุรัติ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน) Read More »
พูดคุยกับ คุณอ้วน ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมอง (Stroke) อาการก่อนเข้ามารับการฟื้นฟูกับศูนย์กายภาพบำบัด PNKG เป็นอย่างไร “ผมเป็นสโตรค สมองด้านขวา ข้างซ้าย จะอ่อนแรงทั้งหมด ร่วม 10 เดือน จนมาพบวิธีการรักษาที่นี่ ซึ่งมีการวางเป้าหมายร่วมกัน หรือที่นี่เรียกว่า Care Plan เพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างปลอดภัยร่วมกัน” ความประทับใจที่มีต่อศูนย์กายภาพบำบัด PNKG “3 เดือน ผ่านไปไวเหมือนโกหก สิ่งผมค้นพบกับตัวเอง คือความเปลี่ยนแปลงของร่างกายซึ่งมหัศจรรย์มาก ๆ ด้วยวิธีการฝึกที่แตกต่างจากหลายที่ในเมืองไทย ที่นี่ฝึกตามาตรฐานของญี่ปุ่น มีการฝึกทั้ง Physical Therapist (นักกายภาพบำบัด) และ Occupational Therapist (นักกิจกรรมบำบัด) แผนการฝึกเข้มข้น โดยจุดประสงค์คือ เน้นให้กล้ามเนื้อที่สำคัญต่อแขน ขา แข็งแกร่งขึ้น อีกทั้งยังแบบฝึกหัดกายภาพบำบัดที่บ้าน มีบริการประเมินและปรับปรุงสภาพบ้าน ทำให้เราปลอดภัยเมื่อต้องกลับไปใช้ชีวิตเอง” หลังจากฝึกกับศูนย์กายภาพบำบัด PNKG มีพัฒนาการอย่างไร “หลังจากฝึกกายภาพบำบัดมา 3 เดือน ผมสามารถเดินได้ด้วยตัวเองอย่างปลอดภัย กล้ามเนื้อขาดีขึ้น ความเร็วในการเดินดีขึ้น …
宮﨑 拓郎 Takurou Miyazaki CEO of GoodTe U.S. Registered Dietitian Nutritionist (RDN) Master of Public Health (MPH) in Nutritional Sciences Master of Arts (MA) in Human Sciences หน้าที่ของนักโภชนาการอาการ คือ ควบคุมปริมาณสารอาหารที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูพึงจะได้รับ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ประสานงานให้สอดคล้องกับแผนการดูแลของทีม คุณมิยาซากิ นักโภชนาการชาวญีุ่ป่น จบการศึกษาจาก University of Michigan และมีประสบการณ์การทำงานด้านโภชนาการที่ Univesity of Michigan Hospital นอกจากนี้ ยังเคยดูแลด้านโภชนาการให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วย คุณมิยาซากิยังเป็นนักเขียนและเคยตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หน้าที่หลัก ๆ ของคุณมิยาซากิ คือ การประเมินปริมาณน้ำและอาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับประทานในแต่ละวันควบคู่ไปกับโรคประจำตัวต่าง ๆ เพื่อให้ได้แผนการรับประทานอาหารที่เพียงพอและเหมาะสม นอกจากนี้ นักโภชนาการของเราจะคอยติดตามจากผลทางห้องปฏิบัติการอีกด้วย …
นักโภชนาการอาหาร (Nutritionist) มีบทบาทสำคัญต่อการกายภาพบำบัดอย่างไร? Read More »
พยาบาลและฝ่ายการดูแล หรือ Care Team เป็นฝ่ายที่ทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยและครอบครัวมากที่สุด ประกอบไปด้วย พยาบาล ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา เนื่องจากเป็นผู้ติดตามผลการฟื้นฟูในด้านของการปฏิบัติจริง และประสานงานร่วมกันกับทีมนักบำบัด นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด ในการปรับแผนการดูแลให้สอดคล้องกับความสามารถของผู้ป่วย ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน ผู้ป่วยจะได้ฝึกปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในสถานที่จริงและทำกิจกรรมในห้องพัก เมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล จะมีการติดตามการปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน เพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมและการเคลื่อนไหวที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งการฝึกทั้งหมดจะเกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดของร่างกายผู้ป่วย โดยมีครอบครัวช่วยหลือและสนับสนุน เพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพภายและเกิดความปลอดภัยมากที่สุด การฟื้นฟูจะเริ่มตั้งแต่ 1. กระบวนการดูแลตั้งแต่การซักประวัติอย่างละเอียด ทั้งประวัติความเจ็บป่วยปัจจุบัน ประวัติอดีต ตลอดจนประวัติการรักษาโรคประจำตัว เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหารวมทั้งข้อห้ามข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งประวัติภูมิหลัง สิ่งที่ผู้ป่วยและครอบครัวคาดหวังจากการฟื้นฟู เพื่อค้นหาแรงจูงใจ เป้าหมาย ความเคยชิน หรือกิจกรรมที่เป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาของปัญหาจากการทำกิจวัตรประจำวัน 2. ยังคอยสังเกตอาการ ติดตามสอบถามรายละเอียดการใช้ชีวิต ค้นหาข้อสนับสนุนหรืออุปสรรคในการปฏิบัติกิจวัตร ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ของผู้เข้ารับการและครอบครัว เพื่อนำมาวิเคราะห์ ประสานงานทั้งต่อทีมนักบำบัด แพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และกำหนดเป็นแผนการดูแลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ผ่านตารางการฝึกในแต่ละสัปดาห์ อันจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหว การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้ป่วย และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า …
พยาบาลและฝ่ายการดูแล (Care team) มีบทบาทสำคัญต่อการกายภาพบำบัดอย่างไร? Read More »
นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ อายุรแพทย์ระบบประสาท พญ.ดวงใจ บัวขวา ความชำนาญการ เวชศาสตร์ฟื้นฟู นพ.ลิขิต กำธรวิจิตรกุล อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ดูแพทย์ทั้งหมดของเราคลิกที่นี่ ทางศูนย์ทำงานร่วมกับแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขาตามแต่ปัญหาของผู้รับบริการในแต่ละราย เช่น แพทย์อายุรกรรมทั่วไป แพทย์อายุรกรรมประสาท แพทย์อายุรกรรมหัวใจ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นต้น โดยแพทย์เป็นผู้ดูแล คอยให้คำแนะนำ และสังเกต ทั้งปัญหาหลักและอาการข้างเคียงของโรคที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูเป็นอยู่ รวมไปถึงในด้านโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการฟื้นฟูโดยองค์รวมทั้งในการร่างกายและการเคลื่อนไหว จิตใจ การรับรู้ และความคิดความเข้าใจ ตลอดจนพิจารณาการลดยาประจำตัวของผู้เข้ารับการฟื้นฟู ผ่านการประสานงานกับทางทีม (นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด พยาบาลและฝ่ายดูแล) โดยมีบทบาทร่วมในการวางแผนและติดตามการรักษา อีกทั้งยังเป็นผู้ประสานงานกับครอบครัวในเชิงของการดูแลผู้รับบริการในระบบพยาธิสภาพ หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ …
แพทย์ (Physician) มีบทบาทสำคัญต่อการกายภาพบำบัดอย่างไร? Read More »
นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) หรือที่รู้จักกันว่า “PT” ตามพรบ.วิชาชีพกายภาพบำบัด ปี พ.ศ.2547 กล่าวว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการทางร่างกายรวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยคำแนะนำของคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) หรือที่รู้จักกันว่า “PT” ตามพรบ.วิชาชีพกายภาพบำบัด ปี พ.ศ.2547 กล่าวว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการทางร่างกายรวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยคำแนะนำของคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด หรืออธิบายอย่างง่ายว่า นักกายภาพบำบัด คือบุคคลที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ด้วยข้อจำกัดของปัญหาทางด้านร่างกายไม่ว่าจะมาจาก ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจและหัวใจ ระบบประสาท ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ และปัญหาด้านพัฒนาการ โดยการตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาด้าการเคลื่อนไหวนั้นๆ ด้วยการวิเคราะห์ปัญหาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยตามหลักการของชีวกลศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และทฤษฎีต่าง ๆ ผสมผสานให้เกิดตำแหน่ง และท่าทางการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมถูกต้อง ตั้งแต่การเคลื่อนย้ายบนเตียง การลุกยืน การเคลื่อนย้าย การทรงตัวในท่านั่งและยืน การเดินทั้งภายในและภายนอกสถานที่ สรุปและกำหนดเป็นแผนการดูแลรักษาร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว …
นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) คือใคร? มีหน้าที่อะไร? Read More »