โรคหลอดเลือดสมองหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดอัมพาต แต่สามารถป้องกันได้ หากเรารับมือและดูแลผู้ป่วยอย่างทันท่วงทีและถูกวิธี
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภัยเงียบอันดับ 2 ที่คร่าชีวิตคนไทย เป็นรองแค่เพียงโรคมะเร็งเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่แค่กับผู้สูงอายุอย่างที่เข้าใจกัน
โรคหลอดเลือดในสมองอันตรายอย่างไร?
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดในสมองเกิดการตีบ ตัน หรือแตกอย่างเฉียบพลัน ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองในบริเวณนั้นหยุดชะงักลง และเป็นผลให้เนื้อสมองถูกทำลายจากภาวะขาดออกซิเจนและสารอาหาร
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ที่นี่
ลองทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ที่นี่
สมองแต่ละส่วนทำหน้าที่ดูแลการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจมีอาการรุนแรงและแตกต่างกัน เช่น:
เกิดความเสียหายที่สมองซีกซ้าย:
- ร่างกายฝั่งขวาเป็นอัมพาต
- มีปัญหาการสื่อสาร การพูด และการเข้าใจ
- มีปัญหาในการกลืนอาหาร
- สูญเสียการจัดการ ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง
- สูญเสียการมองเห็นภาพซีกขวาของตาทั้งสองข้าง
เกิดความเสียหายที่สมองซีกขวา:
- ร่างกายฝั่งซ้ายเป็นอัมพาต
- สูญเสียความสามารถในการประเมินขนาดและประมาณระยะทาง
- สูญเสียการมองเห็นภาพซีกซ้ายของตาทั้งสองข้าง
ซึ่งไม่ว่าจะเกิดความเสียหายกับเนื้อสมองส่วนไหน อาการก็ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตระยะยาวทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อลดความรุนแรงของอาการที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนเพื่อลดโอกาสการเสียชีวิต เราจึงควรสังเกตอาการตัวเองและรู้ทันอาการของโรค หากเราหรือคนรู้จักมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
BEFAST: สังเกตอาการ รู้ก่อน ถึงมือแพทย์ก่อน โอกาสรอดชีวิตสูงกว่า
B – BALANCE: สูญเสียการทรงตัว
E – EYE: มองเห็นภาพซ้อน ภาพเบลอ หรือสูญเสียการมองเห็น
F – FACE: ใบหน้าอ่อนแรง มีอาการชา หรือปากเบี้ยว
A – ARM: แขนขาอ่อนแรง หรือมีอาการชาครึ่งซีก
S – SPEECH: พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือพูดไม่เข้าใจ
T – TIME: หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
เมื่อถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันจะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร?
สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที เพื่อเป็นการลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งวิธีการรักษาอาจแตกต่างกันออกไป ตามอาการ และข้อบ่งชี้ในการรักษา ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ยาละลายลิ่มเลือด การสวนหลอดเลือดเพื่อไปลากก้อนเลือดที่อุดตัน การใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด และการผ่าตัด เป็นต้น
ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการฟื้นฟูร่างกายด้านไหนบ้าง?
การฟื้นฟูร่างกายที่มีคุณภาพเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างคนไข้ ผู้ดูแล และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อศักยภาพสูงสุดในการกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด นอกเหนือจากการฟื้นฟูร่างกายด้วยการฝึกความแข็งแรง การทรงตัว การฝึกเดิน หรือการฝึกลุกยืน ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนทักษะการใช้งานต่าง ๆ จากศักยภาพที่คงอยู่ให้สอดรับกับกิจวัตรประจำวัน ควบคู่กับการฟื้นฟูด้านจิตใจด้วย:
- กายภาพบำบัด: ฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ฝึกทักษะการใช้งานของรยางค์ ทักษะการเคลื่อนไหว การทรงตัว
- กิจกรรมบำบัด: ฝึกการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อมัดเล็ก ทักษะการใช้งานกล้ามเนื้อมือ ฝึกกลืน ฝึกการขับถ่ายและการใช้ห้องน้ำ
- อรรถบำบัด: ฝึกการพูด การออกเสียง และการหายใจ
- ฟื้นฟูกระบวนการรับรู้ ความคิด และความจำ
- ฟื้นฟูภาวะซึมเศร้า และเยียวยาสภาพจิตใจ
ทั้งนี้ กระบวนการฟื้นฟูอาจแตกต่างกันไปตามความจำเป็นในการฟื้นฟู และความสามารถทางร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย ตามดุลยพินิจของแพทย์และนักบำบัด
การฟื้นฟูแบบฉบับ PNKG Recovery Center and Elder Care
ศูนย์ฟื้นฟูของเรามุ่งเน้นการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยควบคู่กับการดูแลทางด้านจิตใจ โดยใช้กระบวนการฟื้นฟูที่มีชื่อว่า ไคโก-โดะ (Kaigo-Do) ซึ่งเป็นศาสตร์การฟื้นฟูกายภาพตามแบบฉบับญี่ปุ่น ที่เน้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าของการมีชีวิต และเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเองเป็นหลัก โดยมีผู้ดูแล (Caregiver) คอยสังเกตอย่างใกล้ชิด และให้ความช่วยเหลือเฉพาะในสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้เท่านั้น
โปรแกรมการฟื้นฟูที่ศูนย์ PNKG Recovery Center and Elder Care ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับปัญหาและความต้องการของผู้เข้ารับการรักษาแต่ละราย ด้วยการออกแบบรายบุคคลอย่างเป็นองค์รวม ภายใต้การดูแลของทีมบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล นักบำบัด นักโภชนาการ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งครอบครัวและผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่กับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือ คลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ
บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน กระตุ้นความทรงจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
✔️ ใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
✔️ รักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ
✔️ มาตรฐานการรักษาจากญี่ปุ่น
#PNKG #ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ #บริการกายภาพบำบัด #สโตรก #ฟื้นฟูหลังผ่าตัด #กระตุ้นการกลืน #อัลไซเมอร์ #กล้ามเนื้ออ่อนแรง