PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

สําลักอาหารบ่อย เกิดจากอะไร เปิด 5 สาเหตุที่ทำให้สำลักบ่อย

  • Home
  • บทความ
  • สําลักอาหารบ่อย เกิดจากอะไร เปิด 5 สาเหตุที่ทำให้สำลักบ่อย

สําลักอาหารบ่อย เกิดจากอะไร? เปิด 5 สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการสําลักอาหาร หรือสําลักน้ําบ่อย ๆ พร้อมเปิด 6 สัญญาณเด่นที่สามารถสังเกตได้ อันตรายถึงชีวิต เช็กภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามก่อนสาย พร้อมตอบคำถามยอดฮิต สำลักแบบไหนอันตราย และสามารถป้องกันอาการนี้ได้ไหม? 

เปิด 5 สาเหตุสำคัญสำลักอาหารบ่อย เกิดจากอะไร

การสําลักอาหารบ่อย เกิดจากอะไร? จริง ๆ แล้วอาการสำลักสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่ถ้าเกิดบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งอาการสําลักอาหารบ่อย เกิดจากหลายสาเหตุ โดยจะสามารถแบ่งได้ 5 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

การรับประทานอาหารเร็วเกินไป 

เมื่อรีบรับประทานอาหาร ก็จะทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด และเผลอกลืนอาหารชิ้นใหญ่มากกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้เกิดอาการสำลักได้ 

พูดขณะรับประทานอาหาร 

การพูดคุยหรือหัวเราะขณะรับประทานอาหาร จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการสําลักอาหารเข้าหลอดลมได้ จากการโฟกัสการพูดคุยหรือหัวเราะมากกว่าการเคี้ยวอาหารและการกลืน

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืนอาหารหรือของเหลว อาจมีอาการเจ็บ หรือกลืนอาหารได้ยากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการสำลัก โดยมักจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพาร์กินสัน (Parkinson) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท ผู้ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน เป็นต้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

ผู้ที่มีปัญหาการรับรู้และความเข้าใจ (Cognitive)

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการรับรู้และความเข้าใจ อาจส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน ระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนอาจทำงานไม่ประสานกัน ทำให้ไม่สามารถกลืนอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการสำลักมากกว่าปกติ ซึ่งมักพบในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้

การเสื่อมของระบบประสาทตามวัย 

เมื่ออายุมากขึ้น โครงสร้างทางกายภาพและการทำงานของร่างกายก็เสื่อมถอยลง ซึ่งรวมถึงความสามารถในการกลืนอาหารด้วย ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเผชิญอาการสำลักอาหาร หรือสำลักน้ำบ่อย ๆ  เนื่องจาก การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเสื่อมถอยลง

เช็ก 5 สัญญาณ สําลักอาหารแบบไหนอันตรายถึงชีวิต

สําลักอาหารบ่อย เกิดจากอะไร เปิดเช็กลิสต์ 5 สัญญาณต้องระวัง สําลักอาหารหรือสำลักน้ำแบบไหนอันตรายถึงชีวิต

เช็กลิสต์ 5 สัญญาณต้องระวัง สําลักอาหารหรือสำลักน้ำแบบไหนอันตรายถึงชีวิต หากพบสมาชิกในครอบครัวหรือคนรู้จักมีอาการต่อไปนี้ ไม่ควรมองข้าม 

1. มีอาการไอเรื้อรังหลังรับประทานอาหาร

หากคนรู้จักเริ่มมีอาการไอเรื้อรังหลังรับประทานอาหาร ร่วม ๆ กับการมีเสมหะหรือมีไข้ร่วมด้วย อาการนี้อาจเป็นสัญญาณสําลักอาหารเข้าหลอดลม ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะปอดอักเสบจากอาการสำลัก (Aspiration pneumonia) ซึ่งอันตรายต่อชีวิตได้ 

2. มีภาวะหายใจลําบากหลังการกิน

ภาวะนี้มักเกิดขึ้นระหว่างรับประทานอาหารหรือหลังทานอาหารมีอาการหายใจติดขัด อาจเป็นสัญญาณของการสําลักที่ส่งผลต่อทางเดินหายใจ หรือการสําลักอาหารเข้าหลอดลมได้

3. สําลักเงียบ (Silent Aspiration)

สําลักแบบเงียบ (Silent Aspiration) เป็นอาการที่ผู้ป่วยไม่แสดงอาการไอหรือสําลักให้เห็น ทําให้อาหารหรือของเหลวเข้าไปในปอดโดยไม่รู้ตัว มักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก และผู้สูงอายุ 

4. น้ําหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

เมื่อเริ่มมีอาการสำลักบ่อย ผู้ป่วยหลายเคสจะเริ่มรับประทานอาหารได้น้อยลง จนน้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม 

5. เกิดอาการสําลักรุนแรงบ่อยขึ้นและควบคุมไม่ได้

เพราะอาการสำลักอาหารและน้ำไม่ใช่เรื่องเล็ก ยิ่งมีอาการสำลักถี่และรุนแรงมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งอันตรายมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยระบบประสาท เช่น สโตรก พาร์กินสัน เป็นต้น หากพบว่าอาการเกิดถี่มากขึ้น ควรรีบพาผู้ป่วยไปปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ผู้ป่วยที่มีอาการสำลักอาหารบ่อย อันตรายแค่ไหน?

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหรือโรคต่าง ๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการสำลักบ่อย ๆ มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปวยที่มีโรคประจำตัว หรือผู้สูงอายุ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหรือโรคต่าง ๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการสำลักบ่อย ๆ มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปวยที่มีโรคประจำตัว หรือผู้สูงอายุ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 

ปอดติดเชื้อจากการสำลัก (Aspiration pneumonia)

อาการปอดอักเสบจากอาการสำลักเกิดจากการที่เศษอาหาร หรือน้ำเข้าหลอดลม และไหลไปที่ปอดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและปอดอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้ 

ภาวะทุพโภชนาการและขาดน้ำ

ยิ่งผู้ป่วยมีอาการสำลักบ่อยมากเท่าไร ผู้ป่วยก็จะพยายามหลีกเลี่ยงการกลืนหรือการรับประทานอาหารมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยหลายรายมีภาวะขาดน้ำและขาดโภชนาการ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม

การอุดกั้นทางเดินหายใจ

นอกจากปัญหาปอดติดเชื้อ และภาวะขาดสารอาหารแล้ว อาการสำลัก ๆ ยังส่งผลต่อระบบหายใจ หากมีเศษอาหารไปอุดกั้นทางเดินหายใจ อาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน 

ส่งผลต่อสภาพจิตใจและการเข้าสังคม

เมื่อผู้ป่วยมีอาการสำลักอาหารหรือสำลักน้ำบ่อย ๆ นอกจากจะเพิ่มโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว ยังส่งผลต่อความมั่นใจและคุณภาพชีวิตด้วย ผู้ป่วยจะเริ่มหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกับผู้อื่น เพราะกังวลว่าจะมีอาการสำลักต่อหน้าคนอื่น ซึ่งส่งผลต่อการเข้าสังคมและคุณภาพชีวิตโดยรวม

ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบาก จะพบภาวะสำลักเงียบร่วมด้วยถึง 40-70% และที่สำคัญ ผู้ป่วยที่เคยมีภาวะปอดติดเชื้อ จะมีภาวะสำลักเงียบสูงถึง 71% นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีอัตราการเสียชีวิตจากภาวะปอดติดเชื้อจากการสำลักมากถึง 30% เลยทีเดียว 

6 แนวทางป้องกันผู้ป่วยสำลักอาหาร

แจก 6 แนวทางพื้นฐานในการป้องกันจากอาการสำลักอาหารหรือสำลักน้ำ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ

แจก 6 แนวทางพื้นฐานในการป้องกันผู้ป่วยจากอาการสำลักอาหารหรือสำลักน้ำ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เริ่มต้นได้ง่าย ๆ แค่เริ่มจากการปรับพฤติกรรมระหว่างการรับประทานอาหาร โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 

  • ปรับท่านั่งในการรับประทานอาหาร ในลักษณะ 90 องศา หรือนั่งตัวตรง 
  • พยายามเลือกเมนูอาหารที่เคี้ยวง่าย และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด
  • ตักหรือตัดอาหารให้มีขนาดพอดีคำ ค่อย ๆ ทานทีละอย่าง
  • เคี้ยวอาหารช้า ๆ และเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด เพื่อให้ร่างกายย่อยอาหารได้ง่ายมากยิ่งขึ้น 
  • ไม่ดูทีวี หรือสนทนา ระหว่างการรับประทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการสําลักอาหาร เข้าหลอดลม
  • เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ อย่าเพิ่งให้ผู้สูงอายุนอน เนื่องจาก อาจทำให้เกิดอาหารสำลักและเป็นกรดไหลย้อนได้
  • ไม่รับประทานตอนมีอาการเหนื่อย หรือเพิ่งออกกำลังกายเสร็จ ควรนั่งพักก่อนอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาการสำลัก

ทั้งนี้ หากผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้สูงอายุที่ยังคงมีอาการสำลักอาหารหรือสำลักน้ำบ่อย ๆ ถึงแม้จะพยายามป้องกันด้วยแนวทางพื้นฐานแล้ว ควรพาผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุมาประเมินปัญหาการกลืน โดยนักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยการทดสอบกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) จะครอบคลุมปัญหาการกลืนอาหารทุกรูปแบบ เช่น

  • รอยโรค เช่น
    • สโตรกทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนอ่อนแรงหรือทำงานผิดปกติ 
    • พาร์กินสันทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็งและเคลื่อนไหวช้าลง
    • การบาดเจ็บที่สมองหรือไขสันหลัง ทำให้เส้นประสาทเสียหาย
  • การใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน 
  • ความคิดและความเข้าใจ (Cognitive) ทำให้ผู้ป่วยกลืนทุกอย่างอัตโนมัติ โดยไม่ได้เคี้ยวก่อน
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนอาจอ่อนแรงลง

สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโดยตรงมามากกว่า 300 เคส ควบคู่ไปกับการประเมินร่างกาย (Assessment) อย่างละเอียด เพื่อออกแบบแผนการรักษาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย พร้อมดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความเข้าใจด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นหนึ่งเดียวในไทย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  • ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์)
  • โทร : 080-910-2124
  • Line : PNKG
  • Facebook : PNKG Recovery and Elder Care

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสําลักอาหารบ่อย เกิดจากอะไร

กินอะไรก็สำลักเป็นเพราะอะไร?

การรับประทานอาหารแล้วมีสําลักอาหารบ่อย เกิดจากได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
1. ความผิดปกติของการกลืน เช่น ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) และการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและเส้นประสาท หากการประสานงานไม่ดี อาจทำให้เกิดการสำลักได้
2. พฤติกรรมระหว่างการรับประทานอาหาร เช่น ทานเร็วเกินไป พูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร หัวเราะขณะรับประทาน หรือการนอนทานอาหาร เป็นต้น 
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาหารสำลัก เช่น โรคประจำตัว (โรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน กรดไหลย้อน) อายุที่มากขึ้น เป็นต้น

กลืนอาหารไม่ค่อยลงเกิดจากอะไร

โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่
1. ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ : โรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง การบาดเจ็บที่สมองหรือไขสันหลัง ฯลฯ
2. ความผิดปกติของโครงสร้างทางกายวิภาค : การผ่าตัดหรือการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ มะเร็งในช่องปาก, ลำคอ, หรือหลอดอาหาร การใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน กระเปาะหลอดอาหาร  ฯลฯ
3. สาเหตุอื่น ๆ : อายุที่มากขึ้น โรคอะคาเลเซีย (Achalasia) ปัญหาเกี่ยวกับฟัน เช่น ฟันผุหรือฟันปลอมไม่พอดี ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก เป็นต้น

สำลักแบบไหนอันตราย?

1. มีอาการไอเรื้อรังหลังรับประทานอาหาร
2. มีภาวะหายใจลําบากหลังการกิน
3. สําลักเงียบ (Silent Aspiration)
4. น้ําหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
5. เกิดอาการสําลักรุนแรงบ่อยขึ้นและควบคุมไม่ได้

วิธีป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุ

1. ปรับท่านั่งในการรับประทานอาหารในลักษณะ 90 องศา หรือนั่งตัวตรง 
2. เลือกเมนูอาหารที่เคี้ยวง่าย และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด
3. ตักหรือตัดอาหารให้มีขนาดพอดีคำ ค่อย ๆ ทานทีละอย่าง
4. เคี้ยวอาหารช้า ๆ และเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
ไม่ดูทีวี หรือสนทนา ระหว่างการรับประทานอาหาร 
5. หลังรับประทานอาหารเสร็จ อย่าเพิ่งให้ผู้สูงอายุนอน เนื่องจาก อาจทำให้เกิดอาหารสำลักและเป็นกรดไหลย้อนได้
6. ไม่รับประทานตอนมีอาการเหนื่อย หรือเพิ่งออกกำลังกายเสร็จ ควรนั่งพักก่อนอย่างน้อย 30 นาที 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า