กายภาพบำบัด คือ การตรวจประเมิน วินิจฉัย และบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดจากภาวะของโรคและการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ รวมทั้งป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เมื่อร่างกายแข็งแรง สภาพจิตใจก็ดีขึ้นตามไปด้วย
เป้าหมายของการทำกายภาพบำบัด คือ เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยกลับมามีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายหรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางประเภทอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูนาน ขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และอายุของผู้ป่วย เป็นต้น จุดมุ่งหมายของการทำกายภาพบำบัด แบ่งออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่
1. ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายการหลังจากผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บ
ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่าง ๆ ควรได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บ โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อต่อยึดติด เพราะยิ่งคนไข้นอนอยู่บนเตียงนานเท่าไหร่ ยิ่งสูญเสียแรงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หลังจากที่ผู้ป่วยผ่าตัดเสร็จ แผลปิดสนิท ผู้ป่วยรู้ตัวดี อาจสามารถเริ่มทำกายภาพบำบัดได้เลย เช่น การพาลุกขึ้นนั่งบนเตียง ยกขาสูง ขยับแขน-ขา เพื่อไม่ให้นอนบนเตียงยาว ๆ อย่างไรก็ตาม นักกายภาพบำบัดจะประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมและเคลื่อนไหวร่างกายได้มาก-น้อยแค่ไหน
2. รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรัง
บางโรคสามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม (Dementia) ผู้ป่วยควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อคงความสามารถ คงความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ไม่ให้อาการของโรคแย่ลงไปกว่าเดิม และเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดจะประเมินอาการและโรคประจำตัว เพื่อออกแบบแผนการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล เพราะการกายภาพบำบัดวิธีเดียวกัน ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกันกับผู้ป่วยทุกคน
3. ช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
การที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ ไม่ใช่แค่เพียงผู้ป่วยต้องเดินได้หรือทานอาหารได้เองเท่านั้น แต่ต้องมีการประเมินอย่างละเอียด เพื่อให้ได้รู้ความต้องการของคนไข้และความต้องการของครอบครัว เช่น ผู้ป่วยอยากเข้าห้องน้ำ แต่ไม่สามารถเดินไปเข้าห้องน้ำเองได้ ฝั่งญาติเองช่วยเหลือไม่ไหว นักกายภาพบำบัดและทีมดูแลจึงต้องตั้งเป้าหมายการฟื้นฟูว่าผู้ป่วยจะต้องลุกจากรถเข็นไปเข้าห้องน้ำได้ภายใน 1 เดือน
4 วิธีเลือกศูนย์กายภาพบำบัดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
1. เลือกคลีนิคที่ได้รับการรับรองและการอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
เพราะการทำกายภาพบำบัดเป็นการฟื้นฟูที่ละเอียดอ่อน ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หากเลือกกายภาพบำบัดกับศูนย์ที่ไม่น่าเชื่อถือ อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บและเกิดข้อผิดพลาดได้
2. สถานที่กายภาพบำบัดสะอาด เครื่องมือทันสมัย ได้มาตรฐาน
การทำกายภาพบำบัดส่วนใหญ่จะต้องใช้เครื่องมือในการรักษา โดยเครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการแขนขาอ่อนแรง การใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยด้านการเคลื่อนไหวจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น การเลือกศูนย์ที่มีความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็น
3. มีทีมผู้เชี่ยวชาญดูแล ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด
ข้อนี้เป็นอีกข้อหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย นักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ จะสามารถวินิจฉันและรักษาได้อย่างแม่นยำ ทำให้วางแผนการรักษาได้เหมาะสมกับโรคและอาการปัจจุบันของผู้ป่วย โดยศูนย์กายภาพบำบัด PNKG มีนักกายภาพบำบัดชาวญี่ปุ่นคอยดูแลควบคู่ไปกับทีมผู้เชี่ยวชาญชาวไทย รักษาตามมาตรฐานของญี่ปุ่น อ่านเพิ่มเติม
4. เดินทางง่าย ใกล้บ้าน
การทำกายภาพบำบัดจำเป็นการฟื้นฟูที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล การเลือกศูนย์ที่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวกจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จำเป็น เพราะผู้ป่วยและญาติจะไม่รู้สึกเหนื่อยล้าจนเกินไป หากต้องเดินทางมาทำกายภาพบำบัดทุกวัน แต่ถ้าหากทางครอบครัวมีข้อจำกัดด้านการเดินทาง แนะนำให้เลือกโปรแกรมการรักษาแบบแอดมิทโรงพยาบาลจะดีที่สุด
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือคลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม