อาการ Long Covid หรือ Post-Covid คืออาการที่หลงเหลือหลังจากที่เชื้อโควิดหมดไปจากร่างกายแล้ว อาการต่างๆ มีความหลากหลาย ซึ่งการดูแลก็จะแตกต่างกันออกไปวันนี้ศูนย์ PNKG จะพาไปตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะ Long Covid โดย นพ.สรัล ตั้งสำเริงวงศ์ (อายุรแพทย์โรคปอด) โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิโดยทาง Princ Recovery Center ได้รวบรวมคำถามจากในงานสัมมนาเรื่อง “การฟื้นฟูร่างกายหลังป่วยโควิด” เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมาทาง Princ Recovery Center
ตอบ 10 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Long – Covid
1. ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อย อาการแบบนี้จะหายเมื่อไหร่?
ทั้ง 3 อาการมักจะหายไปในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ในบางครั้งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน ดังนั้นแนะนำให้มาพบอายุรแพทย์โรคหัวใจ
2. ตอนนี้ผมร่วงหนักมาก เป็นอาการของ Long Covid หรือไม่?
อาการผมร่วงสามารถพบได้ในกลุ่มอาการนี้ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งอาจเกิดจากโรคทางอายุรกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน ดังนั้นแนะนำมาพบแพทย์อายุรกรรม
3. ถ้าฉีด Sinopharm หรือ Sinovac 2 เข็ม แล้วสามารถฉีด Booster ด้วย Moderna เข็ม 3 และอีก 1 – 3 เดือน Moderna เป็นเข็ม 4 ได้ไหม?
4. ช่วงเวลาไหนที่เราควรตรวจเช็กร่างกาย หลังหายจากโควิด-19 และควรตรวจเฉพาะส่วนไหนเป็นพิเศษหรือไม่?
หลังหายจากโควิด แนะนำให้มาพบแพทย์ตามใบนัด ทางแพทย์จะประเมินถึงความจำเป็นในการตรวจเช็กสุขภาพหลังติดเชื้อโควิดอีกครั้งหนึ่ง หรือถ้ามีอาการผิดปกติใด ๆ ก็สามารถมาปรึกษาอายุรแพทย์ได้ตลอด โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนหลังเป็นโควิด เพราะเป็นช่วงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม การตรวจเฉพาะส่วนขึ้นอยู่กับอาการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าใจสั่น เจ็บหน้าอก แนะนำพบอายุรแพทย์โรคหัวใจ ถ้าไอมาก เหนื่อยง่าย แนะนำพบอายุรแพทย์โรคปอด
5. ปอดเป็นฝ้าจะหายเป็นปกติได้ไหม?
ปอดเป็นฝ้ามีทั้งหายเป็นปกติ หรือทิ้งร่องรอยของฝ้านั้นไว้ยาวนานและส่งผลต่อการลดลงของการทำงานของปอดในระยะยาว ดังนั้นจึงควรมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจวินิจฉัยอาการ
6. การอักเสบตามข้อ เป็นอาการของ Long Covid หรือไม่?
7. อาการผมร่วง สามารถหายได้เอง หรือควรปรึกษาแพทย์?
อาการผมร่วงสามารถพบได้ในกลุ่มอาการนี้ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งอาจเกิดจากโรคทางอายุรกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน ดังนั้นแนะนำมาพบแพทย์อายุรกรรม
8. หลังการรักษาโควิดลงปอด มีอาการใจสั่น ควรทำอย่างไร?
อาการใจสั่นมักจะหายไปในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ในบางครั้งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน ดังนั้นแนะนำให้เข้าพบอายุรแพทย์โรคหัวใจ
9. อาการไม่รู้รส ไม่ได้กลิ่น จะหายไปช่วงไหน?
อาการไม่รู้รส ไม่ได้กลิ่น มักจะอาการดีขึ้นเองเมื่อหายจากโรคเกิน 3 เดือน อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการดังกล่าวส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน แนะนำให้เข้าพบอายุรแพทย์
10. ผู้ป่วยที่เชื้อลงปอด ปอดจะแข็งแรงเหมือนเดิมไหม?
ผู้ป่วยโควิดที่เชื้อลงปอดมาแล้ว มีโอกาสที่ปอดจะหายเป็นปกติ แต่จะมีการลดลงของประสิทธิภาพการทำงานของปอด โดยมีปัจจัยเกี่ยวข้องคือ
- ความรุนแรงของโรคในช่วงที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
- การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยหลังเข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เลิกสิ่งที่กระตุ้นให้การทำงานของปอดแย่ลง เช่น บุหรี่ รวมถึงการพบแพทย์ หรือทีมกายภาพบำบัดตามนัด
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดวันอาทิตย์)
- โทร : 080-910-2124
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care
- Line : PNKG