เส้นเลือดในสมองแตก หรือหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) ภัยเงียบพรากชีวิตอันดับต้น ๆ ในไทย เช็ก 6 สัญญาณอาการเส้นเลือดสมองแตกด้วย Be Fast Stroke รู้ก่อนลดความรุนแรงของความพิการได้ PNKG ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สรุปเรื่องควรรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากอะไร? เส้นเลือดในสมองแตกอาการเริ่มแรกเป็นยังไง? รวม 5 กลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นเส้นเลือดสมองแตกเฉียบพลัน พร้อมตอบคำถามยอดนิยม เส้นเลือดสมองแตก รักษาหายไหม? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง สรุปครบทุกประเด็น เคลียร์ชัดใน 5 นาที
โรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดได้อย่างไร?
โดยทั่วไปกลไกการเกิดเส้นเลือดสมองแตกจะเกิดขึ้นเมื่อผนังหลอดเลือดอ่อนแอ หรือเปราะบาง ซึ่งอาจเกิดจากความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือปัจจัยอื่น ๆ เมื่อผนังหลอดเลือดที่เปราะบางได้รับแรงดันเลือดสูงเกินไปก็จะเกิดการฉีกขาด เลือดที่ไหลก็จะไปกดทับเนื้อเยื่อสมอง ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นขาดออกซิเจนและเสียหายในที่สุด
เส้นเลือดในสมองแตกเกิดจากอะไร? เส้นเลือดในสมองแตก มีสาเหตุจากอะไรบ้าง?

เส้นเลือดสมองแตก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองแตก เลือดที่ออกจะไปกดทับเนื้อเยื่อสมอง ทำให้เซลล์สมองตาย นำไปสู่ความผิดปกติทางร่างกาย เช่น อัมพาต พูดลำบาก มีปัญหาในการรับรู้ หรือเสียชีวิตได้ในที่สุด โดยสาเหตุของการเกิดเส้นเลือดสมองแตก สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น
เส้นเลือดผิดปกติ
ผู้ที่มีอาการเส้นเลือดผิดปกติ เช่น เส้นเลือดโป่งพองตั้งแต่กำเนิด (Aneurysm) ภาวะหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำผิดปกติในสมอง (AVM) ทำให้หลอดเลือดเจริญผิดปกติ เปราะบางและแตกง่าย เป็นหนึ่งสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เมื่อมีความดันเลือดไหลผ่าน ผนังหลอดเลือดจะโป่งพองคล้ายถุงลม และมีโอกาสแตกได้ตลอดเวลา ถ้าหลอดเลือดบริเวณนี้แตกจะทำให้เลือดออกบริเวณชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคนี้มีโอกาสเสียชีวิตสูง
อะไมลอยด์ (Amyloid)
อะไมลอยด์ (Amyloid) เป็นโปรตีนไม่ดีที่จะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น จนไปสะสมตามหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดออกในสมองได้
เนื้องอกในสมองหรือมะเร็งสมอง
การมีเนื้องอกในสมองจะไปกดทับหลอดเลือดที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอลงและมีความเสี่ยงที่จะแตกได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือเติบโตเร็ว
ความดันโลหิตสูง
การที่ผู้ป่วยมีความดันสูง ก็เหมือนกับมีแรงไปกระแทกผนังหลอดเลือดตลอดเวลา ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพและเปราะบางเร็วขึ้น ประกอบกับความดันเลือดกระแทกซ้ำต่อเนื่อง ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่หลอดเลือดแตกได้ง่ายยิ่งขึ้น
ใช้ยาต้านการแข็งตัวและยาละลายลิ่มเลือดแบบไม่เหมาะสม
ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) จะช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด และป้องกันลิ่มเลือดได้อย่างตรงจุด แต่ถ้าผู้ป่วยใช้ยาไม่เหมาะสม ไม่รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งหรือไม่ตรวจสุขภาพตามนัด อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าเกินไป จนเกิดภาวะเลือดออกง่าย และที่สำคัญ ถ้าผู้ป่วยมีหลอดเลือดเปราะบางอยู่แล้ว เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงเลือดออกในสมองได้
เช็ก 5 อาการเส้นเลือดในสมองแตกอาการเริ่มแรก

เปิดเช็กลิสต์ 5 ข้อบ่งชี้อาการเส้นเลือดสมองแตกด้วย Be Fast Stroke คือ สัญญาณเตือนเส้นเลือดสมองแตกที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์สามารถสังเกตได้ ทั้งนี้ อาการอาจแตกต่างกันไปตามตำแหน่งและขนาดลิ่มเลือดที่แตกในหลอดเลือดสมอง โดยอาการที่พบบ่อย ๆ มีดังต่อไปนี้
- Balance –Trouble เสียการทรงตัว เดินเซ มีอาการปวดศีรษะรุนแรง ชักเกร็ง หมดสติ
- Eyes – Blurred มองไม่เห็น อาจเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดทั้งสองข้างทันที มองเห็นภาพซ้อน ปิดตา 1 ข้างหาย
- Face – Drooping มีอาการชาที่หน้า ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยวเฉียบพลัน มุมปากตก
- Arm – Weakness แขนและขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก
- Speech – Difficulty สับสน พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง พูดไม่ออก พูดติดขัด
ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วยหรือคนสนิทมีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือภายใน 4 ชั่วโมง 30 นาที เนื่องจาก อาการหลอดเลือดสมองแตกควรได้รับการรักษาทันที เพื่อลดความเสียหายของสมองและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจจะขึ้นได้
4 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับความรุนแรงของอาการเส้นเลือดในสมองแตก
- ตำแหน่งของเส้นเลือดที่แตก : ยกตัวอย่าง ถ้าเส้นเลือดแตกในบริเวณก้านสมอง จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น
- ปริมาณเลือด : หากเลือดออกปริมาณมาก จะส่งผลต่อความเสียหายของเนื้อเยื่อสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น
- ความรวดเร็วในการรักษา : ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งได้รับการรักษาเร็ว ยิ่งมีโอกาสรอดสูง ลดความเสียหายของสมอง พร้อมป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
- โรคประจำตัว อายุ : ยิ่งอายุที่มากขึ้นและมีโรคประจำตัวเยอะก็ยิ่งส่งผลต่อความรุนแรงของโรคก็จะสูงขึ้น
เช็กลิสต์ 8 กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตก ?

รวม 8 กลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นเส้นเลือดสมองแตกเฉียบพลัน มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจาก ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ที่เสื่อมถอย *ภาวะเส้นเลือดสมอดงแตกเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่อายุที่มากขึ้นมีความเสี่ยงมากกว่า*
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- มีความปกติเส้นเลือดสมองตั้งแต่กำเนิด
- โรคไตเรื้อรัง
- ผู้ที่ใช้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือดที่ไม่เหมาะสม
- ภาวะอ้วน
- สูบบุหรี่
- แอลกอฮอล์
- ความเครียดสูง
เส้นเลือดในสมองแตก วิธีรักษามีอะไรบ้าง?
วิธีรักษาเส้นเลือดสมองแตกในปัจจุบัน มีอยู่ 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด การรักษาด้วยการผ่าตัด และการทำกายภาพบำบัด โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด
การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกด้วยการไม่ผ่าตัด เป็นวิธีที่ใช้กรณีก้อนเลือดขนาดเล็ก หรือก้อนเลือดไม่ได้ทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นมากจนเกิดอันตราย เส้นเลือดที่แตกไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่อันตราย เหมาะสำหรับผู้ป่วยอาการไม่วิกฤต เช่น ควบคุมสัญญาณชีพ การคุมความดันเลือดให้เหมาะสม และสังเกตอาการที่หอผู้ป่วยวิกฤต เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เป็นต้น
การรักษาด้วยการผ่าตัด
ส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการรักษาที่ใช้ในกรณีผู้ป่วยที่หลอดเลือดสมองแตกมีก้อนเลือดขนาดใหญ่มาก ทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น หรือเลือดออกจากความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดโป่งพองตั้งแต่กำเนิดแล้วแตก และ AVM ที่แตก เป็นต้น
การทำกายภาพบำบัด
นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว สำหรับผู้ป่วยที่ผ่านระยะเฉียบพลัน อาการคงที่ แพทย์จะทำการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการทำกายภาพบำบัดแบบเข้มข้น และการทำกิจกรรมบำบัดซึ่งเป็นช่วงที่เรียกว่า Golden Period (ระยะเวลา 0-6 เดือนหลังจากมีอาการ) เพื่อให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วที่สุด เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดจะช่วยในการฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย และสภาวะจิตใจได้อย่างตรงจุด ผ่านการรักษาด้วยความเข้าใจและการออกแบบโปรแกรมการรักษาแบบรายบุคคลที่เหมาะสมตามข้อจำกัดทางร่างกายของผู้ป่วย
เส้นเลือดในสมองแตก ป้องกันได้อย่างไร?

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองแตก คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพราะยิ่งตรวจเร็วก็จะรู้ความเสี่ยงและแก้ไขได้ทัน โดยทุกคนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 30 นาที/วัน
- ผ่อนคลายจากความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น
- จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงยง
- กินยาต้านเกล็ดเลือดและยาละลาย ตามที่คุณหมอแนะนำ
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการเรื่องการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยศาสตร์การฟื้นฟูร่างกายแบบไคโก-โดะ ไว้ใจเรา PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดและดูแลผู้สูงอายุ บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์)
- Line : PNKG
- โทร : 080-910-2124
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมองแตก
เส้นเลือดสมองแตก มีโอกาสรอดไหม?
ผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดสมองแตก มีโอกาสรอดเสียชีวิตประมาณ 20-30% หากผู้ป่วยได้รับการรักษารวดเร็วพอ จะช่วยลดความเสียหายของเซลล์สมอง ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต และลดความรุนแรงของควาพิการได้ และที่สำคัญ ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงกับปกติได้อีกด้วย
เส้นเลือดสมองแตก รักษาหายไหม?
โรคหลอดเลือดสมองแตก หรืออาการเส้นเลือดสมองแตกสามารถรักษาให้หายได้ เพียงแต่รอยโรคสมองจะยังคงอยู่ แต่ถ้าได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกวิธี ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสใช้ชีวิตได้ตามปกติ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเส้นเลือดสมองแตก
เส้นเลือดสมองแตก อยู่ได้นานไหม?
โอกาสการรอดชีวิตหลังมีอาการเส้นเลือดสมองแตกขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น
- ตำแหน่งและขนาดของเส้นเลือดที่แตก : หากเส้นเลือดแตกในบริเวณที่สำคัญของสมอง หรือมีขนาดใหญ่ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอย่างรุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้เร็วขึ้น
- ปริมาณเลือดที่ออก : หากมีเลือดออกในสมองมาก จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการบวมของสมองและเพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้
- โรคประจำตัว
- ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาเเลือดออกฉับพลัน
บทความนี้ได้รับการตรวจทานโดย: นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ (อายุรแพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ)