PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

วิธีดูแล ฟื้นฟูผู้ป่วยสโตรก เส้นเลือดสมองแตก ตีบ ตัน

  • Home
  • บทความ
  • วิธีดูแล ฟื้นฟูผู้ป่วยสโตรก เส้นเลือดสมองแตก ตีบ ตัน

โรคหลอดเลือดสมอง แตก ตีบ ตัน หรือสโตรก (Stroke)
คือภาวะที่การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองหรือภายในสมองถูกขัดขวาง ไม่ว่าจะเกิดจากการที่เส้นเลือด แตก ตีบ หรือตัน ที่ส่งผลให้สมองบางส่วนขาดออกซิเจน และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยสโตรกประสบปัญหาในการเคลื่อนไหว การมองเห็น การสื่อสาร และการใช้ชีวิตประจำวัน การทำกายภาพบำบัดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วยให้กลับมา มาดูวิธีการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยสโตรก

ทำไมสโตรก ยิ่งเริ่มกายภาพเร็วยิ่งดี?

การทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยสโตรกนั้นสามารถเริ่มทำได้เมื่ออาการเริ่มทรงตัวและพ้นขีดอันตรายแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ (Early Mobilisation) ดังจะเห็นได้จากการทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองในประเทศญี่ปุ่นและในศูนย์ของเรา แม้ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้สติ แต่ร่างกายอยู่ในภาวะที่พร้อมก็สามารถเริ่มทำกายภาพได้แล้ว การทำเช่นนี้ล้วนก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกายของผู้ป่วย ดังนี้:

  • การสร้างเส้นทางใหม่ของสมอง เพื่อให้ทำงานแทนสมองส่วนที่ตายไปแล้ว (Neuroplasticity) การเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็วจะช่วยให้การสร้างเส้นทางใหม่ของสมองเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ป้องกันการแข็งตัวของข้อต่อ เพราะการไม่เคลื่อนไหวร่างกายในส่วนที่อ่อนแรงเป็นเวลานานจะทำให้ข้อต่อแข็งตัว ขยับยาก และเมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้กล้ามเนื้อฝ่อตัว และเกิดภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse Syndrome) จนอาจนำไปสู่การติดเตียง
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ การที่ผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนท่าทางและลดแรงกดทับที่ผิวหนัง
  • ปรับปรุงคุณภาพชีวิต การทำกายภาพบำบัดไม่เพียงช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับส่วนที่อ่อนแรง แต่ยังช่วยฟื้นฟูทักษะในการสื่อสาร คิด วิเคราะห์ ทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้มากขึ้นและใกล้เคียงกับภาวะปกติ
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะซึมเศร้า เมื่อผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งลดความเครียดและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า

ไคโก-โดะ: ฟื้นฟูด้วยปรัชญาที่ดูแลทั้งกายและใจไปพร้อมกัน

ศาสตร์การฟื้นฟูจากญี่ปุ่นแบบองค์รวม ไคโก-โดะ มุ่งเน้นที่การพึ่งพาตนเอง สนับสนุนให้ผู้ป่วยใช้ความสามารถที่เหลือให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นฟื้นฟูทักษะที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีปรัชญา อิคิไก อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการฟื้นฟู

ขั้นตอนการฟื้นฟูแบบไคโก-โดะ (Kaigo-Do)

  1. ตรวจประเมินทางกายภาพ เพื่อให้ทราบถึงสภาวะร่างกายของผู้ป่วย ทั้งสิ่งที่ทำได้ดีและสิ่งที่มีปัญหา
  2. พูดคุยกับญาติและผู้ป่วย เพื่อเข้าใจลักษณะการใช้ชีวิต จุดมุ่งหมาย ความต้องการ และข้อจำกัดต่าง ๆ
  3. วางแผนการฟื้นฟู (Personalised Care Plan) โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด พยาบาล นักโภชนาการจากไทยและญี่ปุ่น ประชุมวางแผนการฝึกให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
  4. เริ่มฝึก เมื่อแผนการฝึกได้รับการเห็นชอบแล้ว จะเริ่มฝึกตามตารางและปรับตามขีดความสามารถของผู้ป่วย
  5. ทดสอบ สมรรถภาพของผู้ป่วยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากผลการฝึกไม่เป็นไปตามเกณฑ์ จะมีการปรับตารางการฝึกใหม่

จากเนื้อหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การทำกายภาพบำบัดด้วย ศาสตร์ ไคโก-โดะ เน้นที่การทำความเข้าใจผู้ป่วยและสิ่งรอบข้างเป็นหลัก ปรับและพูดคุยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจ เพราะการฟื้นฟูที่ได้ผลลัพธ์ยั่งยืนคือการที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุดและพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด

หากท่านสงสัย สนใจ หรือกำลังมองหาศูนย์กายภาพที่เน้นการใช้ปรัชญาร่วมกับองค์ความรู้จากประเทศญี่ปุ่น สามารถติดต่อทีมงานของเราเพื่อรับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ต้องการคำแนะนำด้านการฟื้นฟูทางกายภาพ

Related Article

Search

Sorry, we couldn't find any posts. Please try a different search.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save