PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

ทำไม Purpose of Life สำคัญกว่าขั้นตอนการรักษา?

  • Home
  • บทความ
  • ทำไม Purpose of Life สำคัญกว่าขั้นตอนการรักษา?

การตั้งเป้าหมายของชีวิต (Purpose of Life) ควบคู่ไปกับกระบวนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมช่วยให้เป้าหมายการรักษาชัดเจน

โดยผู้เข้ารับการรักษาจะต้องทำการตั้งเป้าหมายว่า “อยากทำอะไรได้หลังจากเข้ารับการรักษาแล้ว”

ทำไม Purpose of Life ถึงสำคัญกว่าขั้นตอนการรักษา?

โดยปกติแล้ว หลังจากเกิด Stroke มักพบว่าผู้ป่วยจะมีภาวะอ่อนแรงร่วมกับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันที่ลดลง ซึ่งระยะการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือช่วง 6 เดือนแรก หรือที่เรียกว่า ช่วง Golden Period

ทั้งนี้ การฟื้นฟูส่วนใหญ่จะเน้นพัฒนาองค์ประกอบการเคลื่อนไหวมากกว่าการพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรม รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ นักบำบัด หมอ และครอบครัวมักมองข้ามความต้องการที่แท้จริงของคนไข้ แต่กลับให้ความสำคัญกับองค์ประกอบการเคลื่อนไหวมากกว่า เช่น:

  • มุ่งเน้นฟื้นฟูให้ผู้ป่วยเดินได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ แต่ขาดการปรับใช้กับกิจกรรมระหว่างวัน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้
  • การเดินไปเข้าห้องน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการขับถ่ายในผ้าอ้อม หรือมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถขยับข้อต่อได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว ทั้งที่จริงแล้วผู้ป่วยอาจเพียงแค่ต้องการขยับแขนได้เพียงพอต่อการใส่เสื้อผ้าด้วยตนเองเท่านั้น

ดังนั้น Purpose of Life จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟู เพราะเป็นการมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้เอง โดยเน้นพัฒนาทักษะที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย มากกว่าการมุ่งเน้นเพียงแค่การเคลื่อนไหวอย่างสมบูรณ์แบบ

Stroke Rehabilitation

ขั้นตอนการฟื้นฟูที่ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care

ก่อนเริ่มการรักษา ทางศูนย์ PNKG จะมีการประเมินอย่างละเอียด ซักประวัติ โดยไม่ได้ประเมินแค่ผู้ป่วยเท่านั้น แต่รวมทั้งผู้ดูแลหรือครอบครัวด้วย เพื่อให้ได้ความต้องการของคนไข้ (Patient’s need) และความต้องการของครอบครัว (Family’s need) อย่างแท้จริง และเพื่อดูว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับและสอดคล้องกับแพทย์ พยาบาล หรือนักบำบัดหรือไม่

เช่น ผู้ป่วยอยากเข้าห้องน้ำ แต่ไม่สามารถเดินไปเข้าห้องน้ำเอง ญาติหรือผู้ดูแลก็ช่วยเหลือไม่ไหว นักบำบัดและทีมผู้ดูแลจึงตั้งเป้าหมายการฟื้นฟูว่าผู้ป่วยจะต้องลุกจากรถเข็นไปนั่งชักโครกเองได้ภายใน 1 เดือน เป็นต้น ซึ่งกระบวนการรักษาฟื้นฟูของผู้เข้ารับการบริการจะแตกต่างกันออกไปตามบุคคล

ในช่วงต้น ผู้เข้ารับการฟื้นฟูจะได้รับการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีการพูดคุยและรับคำปรึกษาเพื่อปรับกระบวนการรักษาให้มีประสิทธิผลต่อทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้เข้ารับการฟื้นฟูให้ได้มากที่สุด

จากนั้นจึงเริ่มทำการฟื้นฟูอย่างถูกต้องและเหมาะสมภายใต้การดูแลทุกรายละเอียด ภายใต้กระบวนการรักษาแบบ Kaigo-Do (ไคโกโดะ) ซึ่งเป็นวิธีการฟื้นฟูทางร่างกายแบบฉบับญี่ปุ่น ที่เน้นส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก และได้รับการดูแลเฉพาะในสิ่งที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองเท่านั้น

การตั้งเป้าหมายการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ

ทางศูนย์ PNKG มี Care Plan (แผนการฟื้นฟู) ที่ช่วยยืนยันความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงเป้าหมายการรักษา หลังจากที่ผู้ป่วยและครอบครัวยอมรับแผนการรักษา จึงจะเริ่มการรักษา โดยวิธีนี้ ทั้งผู้ป่วยและครอบครัวเองจะรู้ว่าการรักษาจะไปในทิศทางไหน และความต้องการของชีวิตผู้ป่วยคืออะไร

แรงบันดาลใจจากความต้องการกลับไปใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองอยากเป็น ถือเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้กระบวนการฟื้นฟูร่างกายมีประสิทธิผลมากขึ้น

หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพ อย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือ คลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ

บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน กระตุ้นความทรงจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง

✔️ ใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

✔️ รักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ

✔️ มาตรฐานการรักษาจากญี่ปุ่น

#PNKG #ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ #บริการกายภาพบำบัด #สโตรก #ฟื้นฟูหลังผ่าตัด #กระตุ้นการกลืน #อัลไซเมอร์ #กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ต้องการคำแนะนำด้านการฟื้นฟูทางกายภาพ

Related Article

Search

Sorry, we couldn't find any posts. Please try a different search.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save