ทำความรู้จักเลือดออกในสมอง คืออะไร? เกิดจากอะไร? ทำไมภาวะนี้ถึงอันตรายต่อชีวิต เช็ก 9 อาการเด่น รู้ทันนาทีวิกฤต เพิ่มโอกาสรอดชีวิต ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเซลล์สมอง นอกจากอุบัติเหตุแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดภาวะนี้อีกไหม? PNKG Recovery and Elderly Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมไขข้อสงสัยทั้งหมดได้ที่นี่
เลือดออกในสมอง คืออะไร?
ภาวะเลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) คือ ภาวะที่เส้นเลือดในสมองรั่ว หรือซึม โดยเลือดที่ไหลจะไปกดเซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจนและเสียหาย จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจนำไปสู่อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ โดยภาวะนี้สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทตามตำแหน่งที่เลือดออก ได้แก่
- ภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง
- เลือดออกภายในเนื้อเยื่อสมองหุ้มกะโหลกศีรษะ โดยสามารถแบ่งได้ 3 ชั้น
- Epidural : เลือดออกระหว่างกระดูกกะโหลกศีรษะและชั้นเยื่อหุ้มด้านนอกสุด
- Subdural : เลือดออกภายในเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Dura) กับเนื้อสมอง
- Subarachnoid : เลือดออกระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Arachnoid)
เลือดออกในสมอง สาเหตุเกิดจากอะไร?
นอกจากเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุแล้ว ภาวะนี้ยังสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต และสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ได้แก่
- อาการหลอดเลือดผิดปกติ เช่น เส้นเลือดโป่งพอง (Aneurysm) ภาวะหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำผิดปกติในสมอง (AVM) เป็นต้น ทำให้ผนังหลอดเลือดเปราะบางกว่าปกติ เมื่อได้รับแรงดันเลือดที่ไหลผ่าน จะส่งผลผนังหลอดเลือดโป่งพอง และมีโอกาสปริแตกได้ตลอดเวลา
- สมองมีการสะสมโปรตีนในหลอดเลือดผิดปกติ : โปรตีนชนิดนี้ เรียกว่า อะไมลอยด์ (Amyloid) เป็นโปรตีนที่จะเพิ่มขึ้นตามอายุ และอาจทำให้หลอดเลือดในสมองปริแตกได้
- ภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding Disorders) : เช่น ฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือโรคเลือดออกง่ายหยุดยาก และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) การใช้งานต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
- มะเร็งหรือเนื้องอกในสมอง
- ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
- เบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- อายุที่มากขึ้น
- ลิ่มเลือดอุดตัน
- สมาชิกภายในครอบครัวเคยมีประวัติเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด
เลือดออกในสมองกับ 9 อาการเด่น สัญญาณเตือนจากสมอง
ภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ แต่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาที่ทันเวลาและเหมาะสม โดยสามารถสังเกตได้จาก 9 อาการเด่น สัญญาณเตือนจากสมองได้ ดังนี้
- ปวดหัวอย่างรุนแรง และฉับพลันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- สูญเสียการทรงตัว
- สับสน ซึม หรือหมดสติ
- อ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปากเบี้ยว
- พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง หรือมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- มีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)
- ตาพร่ามัว การมองเห็นผิดปกติ
- อาจมีอาการชัก
วิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในสมอง
แพทย์ผู้ทำการรักษาจะพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ปริมาณเลือด ตำแหน่ง สาเหตุ และช่วงเวลาที่ได้รับการรักษา ยิ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วเท่าไร ก็ยิ่งลดความเสียหายของเซลล์สมองได้มากเท่านั้น และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการฟื้นฟูร่างกายได้มากยิ่งขึ้น โดยแนวทางการรักษาสามารถแบ่ง 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่
การรักษาด้วยยา
แพทย์จะทำการ CT Scan สมอง เพื่อดูว่า เลือดออกบริเวณไหน และสมองได้รับความเสียหายระดับไหน โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษากรณีที่เลือดออกไม่มาก เป็นจุดเล็ก ๆ และไม่มีอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ยาความดันโลหิต ยากันโรคลมชัก (Anti-epileptic medicine) ยาบรรเทาอาการปวด ยาคลายความวิตกกังวล เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจด้วย แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านการแข็งตัวเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มเติมด้วย
การรักษาด้วยการผ่าตัด
ส่วนการรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีที่ใช้ในกรณีที่ปริมาณเลือดออกมาก จนทำให้สมองบวม โดยการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด สามารถแบ่งได้ 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่
- การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) : เพื่อนำลิ่มเลือดหรือก้อนเลือดออก ซึ่งจะช่วยลดความดันในสมองและป้องกันความเสียหายของเซลล์สมองได้เป็นอย่างดี
- ใส่สายน้ำในโพรงสมอง : เพื่อลดแรงดันในกะโหลกศีรษะ
- คลิปหนีบที่บริเวณเส้นเลือดโป่งพอง (Clipping) : กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหลอดเลือดโป่งพอง และยังไม่ปริแตก
วิธีการฟื้นฟูผู้ป่วย
ส่วนวิธีการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยหลังทำการรักษา โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโรค ความรุนแรงของอาการ และช่วงเวลาที่ทำการรักษา โดยนักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) และนักกิจกรรมบำบัด (Occupation Therapist) จะออกแบบแผนการรักษาที่เหมาะสมกับประสิทธิภาพร่างกายที่เหลืออยู่ของผู้ป่วย เช่น
- การฝึกการเคลื่อนไหว
- การฝึกกลืน
- การฝึกความรู้และความเข้าใจ (Cognitive Training)
- การฝึกพูด (Speech Therapy)
เพื่อฟื้นฟูการทำงานของสมองให้กลับมามีประสิทธิภาพ และใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด และที่สำคัญ ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซ้ำได้อีกด้วย
วิธีป้องกันภาวะเลือดออกในสมอง
โดยทั่วไปสามารถป้องกันได้ โดยเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- งดดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ หากทำไม่ได้จริง ๆ ควรลดปริมาณให้น้อยลง
- ผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิต หรือโรคเบาหวาน ควรควบคุมระดับความดัน และน้ำตาล
- หากรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาศูนย์ฟื้นฟูหรือศูนย์กายภาพบำบัดหลังผ่าตัดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตรก และโรคอื่น ๆ ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยศาสตร์การฟื้นฟูร่างกายแบบไคโก-โดะ (Kaigo-Do) นึกถึง PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดและดูแลผู้สูงอายุ บริการกายภาพบำบัดครบวงจรบนพื้นฐานการวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น.
- โทร : 080-910-2124
- Line : PNKG
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care
คำถามที่พบบ่อย
เลือดออกในสมอง หายเองได้ไหม
ไม่สามารถหายเองได้ และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากไม่เข้ารับการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ความพิการ หรือเสียชีวิตได้
เลือดออก ในสมอง มีอาการอย่างไร
– ปวดหัวอย่างรุนแรง และฉับพลันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
– มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
– สูญเสียการทรงตัว
– สับสน ซึม หรือหมดสติ
– อ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปากเบี้ยว
– พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง หรือมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
– มีภาวะกลืนลำบาก
– ตาพร่ามัว การมองเห็นผิดปกติ
– อาจมีอาการชัก
เลือดออก ในสมอง รักษายังไง
1. การรักษาด้วยยา : เช่น ยาความดันโลหิต ยากันโรคลมชัก (Anti-epileptic medicine) ยาบรรเทาอาการปวด ยาคลายความวิตกกังวล เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจด้วย แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านการแข็งตัวเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มเติมด้วย
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ (Craniectomy) ใส่สายน้ำในโพรงสมอง และคลิปหนีบที่บริเวณเส้นเลือดโป่งพอง (Clipping)
เลือดออก ในสมอง มีโอกาสรอดแค่ไหน?
โอกาสรอดชีวิตของผู้ที่มีภาวะนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่
– ตำแหน่งที่เลือดออก : หากเลือดออกในส่วนที่สำคัญ เช่น ส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับการหายใจ อาจทำให้โอกาสรอดชีวิตน้อยกว่าตำแหน่งอื่น ๆ
– ปริมาณเลือดที่ออก
– ความรวดเร็วในการรักษา : ยิ่งผู้ป่วยรับการรักษาเร็วเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความเสียหายของเซลล์สมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่จะนำไปสู่ความพิการในอนาคตได้
– สาเหตุที่ทำให้เกิด : เช่น หลอดเลือดสมองแตกจากความดันโลหิตสูง หรือจากอุบัติเหตุ ก็มีผลต่อการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกัน
– สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย : ผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงโดยทั่วไปมักมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าผู้ที่มีโรคประจำตัว
– อายุ