ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Nursing Home) หรือศูนย์ผู้สูงอายุ แตกต่างอย่างไรกับศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย เมื่อร่างกายของผู้ป่วยและผู้สูงอายุไม่เหมือนเดิม การเลือกสถานดูแลผู้สูงอายุหรือศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยให้เหมาะสม ถือเป็นการตัดสินใจที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุและครอบครัว การทำความเข้าใจความแตกต่างและความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย จะช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วย ได้รวม 4 เทคนิค เลือกศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงยังไงให้เหมาะสมและตอบโจทย์ผู้ใหญ่ในบ้านมากที่สุด
ความแตกต่างระหว่างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกับศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย
การเลือกเนอร์สซิ่งโฮมหรือศูนย์พักฟื้นฟูผู้ป่วยให้เหมาะสม ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความต้องการและสภาพร่างกายของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งทั่วไปจะมีความแตกต่างกันด้านวัตถุประสงค์การให้บริการ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ศูนย์ผู้สูงอายุ

สถานดูแลผู้สูงอายุ หรือศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะเน้นการดูแลผู้สูงอายุในภาพรวม ตั้งแต่ด้านสุขภาพกาย จิตใจ การช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน และการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม
สถานดูแลผู้สูงอายุเหมาะกับใคร
- ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในกิจวัตรประจำวัน เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร หรือการเคลื่อนไหว
- ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว ขาดการเข้าสังคม เมื่ออยู่ที่เนอร์สซิ่งโฮมจะได้ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนวัยเดียวกัน
- ผู้สูงอายุที่ครอบครัวไม่สามารถดูแลได้ เนื่องจากการทำงาน หรือข้อจำกัดด้านอื่น ๆ
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มหรือต้องการการดูแลด้านความปลอดภัย
- ผู้ที่ต้องการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย
ส่วนศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยจะเหมาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย หลังการเจ็บป่วยหรือการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยศูนย์พักฟื้นผู้สูงอายุจะให้บริการโดยทีมแพทย์ นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) และนักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist)
ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยเหมาะกับใคร

- ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัด เพื่อฟื้นฟูร่างกายและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะการผ่าตัดกระดูกและข้อ
- ผู้ที่ต้องทำกายภาพบำบัด (Physical Therapy) หลังผ่าตัด เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาปกติหรือใกล้เคียงกับปกติ เช่น
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท เช่น โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น
- ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการทรงตัว เพื่อฝึกการทรงตัว และลดความเสี่ยงในการล้ม
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเบื้องต้น
ความรุนแรงของอาการที่ผู้ป่วยเผชิญ
- ระยะเฉียบพลัน (Acute phase) : ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีภาวะบาดเจ็บหรือได้รับการรักษาในช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องพยาธิสภาพที่คงที่ หรือภาวะที่รอยโรคหรือความเสียหายในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
- ระยะฟื้นฟู (Recovery phase) : ระยะนี้ ร่างกายจะมีความสามารถน้อยกว่าปกติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการทำกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด เพื่อฟื้นฟูทักษะและความสามารถของผู้ป่วยให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด ทั้งความแข็งแรงทางร่างกาย รวมถึงการรับรู้และความเข้าใจให้มีความสามารถเพียงพอต่อการทำกิจกรรมพื้นฐานและสามารถลดระดับความช่วยเหลือจากรอบข้าง
- ระยะคงความสามารถ (Maintenance phase) : เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะมีพัฒนาช้าลง โดยระยะนี้จะเน้นการปรับใช้ความสามารถที่เหลืออยู่กับการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ซึ่งระยะของผู้ป่วยแต่ละรายและความรุนแรงของปัญหามีผลต่อการเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจาก จุดประสงค์ของการดูแลจะแตกต่างกับศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย
แรงจูงใจของผู้ป่วย
นอกจากระยะความรุนแรงของอาการผู้ป่วยจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุแล้ว แรงจูงใจที่จะฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วยก็เป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเช่นกัน เนื่องจากแรงจูงใจส่งผลต่อความร่วมมือในการทำกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัดในแต่ละระยะ
4 กลุ่มการพิจารณาเลือก Nursing Home หรือศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยอย่างไรให้เหมาะสม

เมื่อทราบหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ส่วนที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ทางครอบครัวหรือผู้ดูแลสามารถนำมาพิจารณา เพื่อเลือกศูนย์ผู้สูงอายุหรือศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยที่เหมาะสมมากที่สุด โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 : ผู้ป่วยมีความสามารถสูง ช่วยเหลือตนเองได้มาก และมีแรงจูงใจสูง
หากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุกลุ่มนี้ได้รับการฟื้นฟูในศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย หรือ Recovery Center จะช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถให้ผู้ป่วยก้าวข้ามอุปสรรคในการดำเนินชีวิตได้อย่างรวดเร็วและตรงจุดมากยิ่งขึ้น
กลุ่มที่ 2 : ผู้ป่วยมีความสามารถสูง ช่วยเหลือตนเองได้มาก แต่มีแรงจูงใจน้อย
ส่วนผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเหมาะกับเนอร์สซิ่งโฮม (Nursing home) เนื่องจาก สถานดูแลผู้สูงอายุจะมีการกระตุ้นแรงจูงใจด้วยการทำกิจกรรมกลุ่ม หรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยรายอื่น ๆ กระตุ้นการมีส่วนร่วม และเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้ป่วย ซึ่งจะพัฒนาไปสู่การฝึกที่ศูนย์ฟื้นฟูถัดไป
กลุ่มที่ 3 : ผู้ป่วยมีความสามารถน้อย ต้องพึ่งพาการช่วยเหลือมาก แต่มีแรงจูงใจสูง
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อจำกัดไม่มากไป และมีแรงจูงใจสูง การฟื้นฟูที่ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยจะช่วยพัฒนาความสามารถได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีข้อจำกัดสูงมาก เนอร์สซิ่งโฮม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมที่จะจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้ความสามารถตามข้อจำกัดของตนที่ไม่เป็นการจำกัดการพัฒนา (over care) และการทำกิจกรรมพื้นฐาน เพื่อป้องกันภาวะถดถอยทางร่างกาย (Disuse Syndrome) จากการไม่ใช้งาน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะติดเตียง (Bedridden) ได้
กลุ่มที่ 4 : ผู้ป่วยมีความสามารถน้อย ต้องพึ่งพาการช่วยเหลือมาก และขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม
และกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มผู้ป่วยที่แทบจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเน้นการฟื้นฟูแบบประคับประคองและคงความสามารถ ไปพร้อม ๆ กับการดูแล เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
- การติดเชื้อ
- แผลกดทับ
- ข้อต่อยึดติด เป็นต้น
นอกจากการพิจารณาสถานดูแลผู้สูงอายุจากรายละเอียดดังข้างต้นแล้ว การคำนึงถึงคุณภาพของศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยก็สำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- การให้บริการที่มีกระบวนการดูแลสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมระหว่างวัน เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตบนเตียงน้อยที่สุด
- การกำหนดเป้าหมายการดูแลและติดตามผลที่เป็นรูปแบบมาตรฐาน
- การดูแลด้วยบุคลากรที่มีความน่าเชื่อถือ ผ่านการอบรมทางวิชาชีพ ทั้งนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด พยาบาลและเจ้าหน้าที่ด้านการฟื้นฟู
หากภาพรวมในการดูแลผู้ป่วยสมบูรณ์และเหมาะสมตามปัญหาของผู้ป่วยแล้ว การฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วยก็เป็นสิ่งที่ไม่เกินความสามารถในการดูแลของครอบครัวอีกต่อไป
สำหรับผู้ที่สนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์)
- โทร : 080-910-2124
- Line : PNKG
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care