ผู้สูงอายุ คืออะไร? ทำความรู้จักวัยชรา ช่วงเวลาถดถอยทางร่างกายที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยง ไขข้อสงสัย การดูแลแบบไหนถึงจะเรียกว่าผิดวิธี ถ้าดูแลผิดแล้วส่งผลเสียอย่างไรบ้าง? พร้อมแชร์เทคนิคการดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้ถูกวิธี PNKG Recovery and Elder Care มีคำตอบ
เมื่อเข้าสู่วัยชรา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยชราอย่างสมบูรณ์ จะต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ระบบประสาทและสมอง รวมถึงการเข้าสังคม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
นอกจากภาพลักษณ์ภายนอก สิ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนคือ การเคลื่อนไหวที่ช้าลงและการทรงตัวที่เปลี่ยนไป ระบบภายในร่างกาย เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อก็เสื่อมประสิทธิภาพลงเช่นกัน และมีโอกาสเจ็บป่วยมากกว่าวัยอื่น ๆ
การเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทและสมอง
เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของระบบภายในร่างกายก็เริ่มเสื่อมลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวเริ่มมีปัญหา รวมถึงการทำงานของสมอง ไม่ว่าจะเป็นอาการหลงลืม การเรียนรู้ช้าลง นำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน และ โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ
เรื่องของอารมณ์และจิตใจก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยวัยนี้มักจะมีอารมณ์ที่ไม่มั่นคง อ่อนไหวง่าย ฉุนเฉียว หงุดหงิดกว่าที่เคย หากคนรอบตัวไม่เข้าใจ อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เมื่อบทบาทและหน้าที่ในการทำงานน้อยลงจากการเกษียณงาน ทำให้วัยนี้เริ่มอยู่ติดบ้าน เก็บตัว ยิ่งอยู่คนเดียว ไม่ได้รับการเอาใจใส่ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าง่ายมากยิ่งขึ้น
การดูแลผู้สูงอายุผิดวิธี ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?
ด้วยธรรมเนียมแบบไทยที่ให้ความสำคัญกับความกตัญญู ลูกหลานบางบ้านอาจให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุจนเกินไป ซึ่งนอกจากจะจำกัดความสามารถในการพัฒนาส่วนที่บกพร่องแล้ว ยังส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว เช่น
- ลดทอนการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย
- ลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- ลดทักษะการเคลื่อนไหวและการประสานงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เสี่ยงต่อภาวะติดเตียง
ดูแลผู้สูงอายุแบบไหนเข้าข่ายดูแลมากเกินความจำเป็น?
- ช่วยสวมเสื้อผ้า โดยไม่ให้พยายามด้วยตนเองก่อน
- ช่วยทำความสะอาดร่างกาย โดยไม่สนับสนุนให้ลุกไปอาบน้ำ
- สวมผ้าอ้อมตลอดเวลา ลดโอกาสการขับถ่ายในห้องน้ำ
- ทำกิจวัตรประจำวันบนเตียง
- ป้อนอาหารให้คนที่สามารถจัดการเรื่องอาหารเองได้
แชร์ 3 เทคนิคดูแลผู้สูงอายุในบ้านอย่างไรให้แข็งแรงทั้งกายและใจ
แชร์ 3 เทคนิคสำหรับการดู แลผู้สูงอายุที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ โดยเน้นการดูแลด้านร่างกาย จิตใจ และการป้องกันอุบัติเหตุเป็นหลัก
1. การดูแลสุขภาพทางร่างกาย
- เลือกเมนูที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีนจากเนื้อสัตว์
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เน้นต้มและนึ่ง เลิกพฤติกรรมเสี่ยง เช่น เหล้าและบุหรี่
- ออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
2. การดูแลสุขภาพจิตใจ
สมาชิกในครอบครัวควรรับฟังและเอาใจใส่ หาเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เล่นเกม ดูหนัง เพื่อช่วยลดความเครียด
3. การป้องกันอุบัติเหตุและอันตราย
การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เช่น พื้นห้องควรเป็นระนาบ มีราวจับ และแสงสว่างเพียงพอ
ผู้สูงอายุติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรดูแลอย่างไรให้ถูกวิธี
การดู แลผู้สูงอายุติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ควรเน้นที่การป้องกันแผลกดทับ โดยหมั่นพลิกตัวหรือเปลี่ยนท่านอนทุก ๆ 2 ชั่วโมง เลือกอาหารที่ย่อยง่าย มีสารอาหารครบถ้วน
- ระมัดระวังเรื่องแผลกดทับ ควรหมั่นพลิกตัวหรือเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง
- เลือกอาหารที่ย่อยง่าย และมีสารอาหารครบถ้วน เพื่อลดภาวะท้องอืดและท้องผูก
- ผู้ป่วยติดเตียงมักมีอารมณ์แปรปรวนง่าย
การทำกายภาพบำบัดก็สำคัญในการป้องกันไม่ให้ข้อต่อต่าง ๆ ติดขัด และช่วยฟื้นฟูร่างกายได้อย่างตรงจุด เพิ่มโอกาสในการกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ
สำหรับครอบครัวที่กำลังมองหาศูนย์ฟื้นฟูร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน หรือผู้ป่วยติดเตียง ไว้ใจศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care เราเป็นศูนย์ฟื้นฟูเฉพาะทางที่ให้บริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่กับการดูแลจิตใจด้วย ศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบญี่ปุ่น
- ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดวันอาทิตย์)
- โทร: 080-910-2124
- Facebook: PNKG Recovery and Elder Care
- Line: https://lin.ee/S5lRhZH