กายอุปกรณ์ (Orthosis and Prosthesis: PO) หมายถึง อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการเคลื่อนไหว รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้กับร่างกายสำหรับทดแทนอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพ เช่น ข้อเข่าเทียม ข้อสะโพกเทียม แขนขาเทียม เป็นต้น
ในบางครั้งกายอุปกรณ์จะกินความหมายครอบคลุมถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น รถเข็น (Wheelchair) ไม้เท้า เป็นต้น โดยทั่วไป
กายอุปกรณ์ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามจุดประสงค์การใช้งาน คือ
- กายอุปกรณ์เทียม (prosthesis) คือ กายอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ทดแทนอวัยวะหรือชิ้นส่วนของอวัยวะที่ขาดหาย หรือสูญเสียไปจากสาเหตุต่างๆ เช่น ขาเทียม แขนเทียม ข้อต่อเทียม นิ้วมือเทียม หรืออวัยวะเทียมอื่นๆ
- กายอุปกรณ์เสริม (orthosis) อาจเรียกชื่อสามัญอื่นๆว่า อุปกรณ์เสริม, อุปกรณ์ดาม, อุปกรณ์ประคอง (Splint หรือ Brace) คือ กายอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เพื่อเสริมความสามารถในการทำหน้าที่เดิมของอวัยวะที่มีปัญหาในการทำงานจากภาวะอ่อนแรง เจ็บปวด หรือเสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น ซึ่งกายอุปกรณ์เสริมเป็นอุปกรณ์ที่นำมาดัดแปลงเพื่อสนับสนุนลักษณะโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของการเคลื่อนไหวผ่านการช่วยเหลือระบบประสาทยนต์ ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบโครงสร้างและแกนกลางของร่างกาย
การบำบัดด้วยอุปกรณ์ดีต่อการฟื้นฟูระบบประสาทอย่างไร?
โดยส่วนใหญ่ เมื่อกล่าวถึงกายอุปกรณ์ต่องานเวชศาตร์ฟื้นฟู คนมักจะมีภาพจำว่ากายอุปกรณ์จะใช้ในการฟื้นฟูผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สูญเสียอวัยวะจากภาวะโรคหรืออุบัติเหตุเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งผู้ป่วยในกลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ หรือผู้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวที่ถูกจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง การประยุกต์ใช้กายอุปกรณ์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยสนับสนุน ให้ผู้ป่วยในกลุ่มนั้นเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการทำกิจกรรมต่างด้วยตนเอง และก้าวข้ามข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆเหล่านั้นไปได้ ซึ่งเราทุกคนก็ทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วว่าการฝึกการฟื้นฟูโดยเฉพาะปัญหาจากระบบประสาทไม่สามารถฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น บางรายอาจกินระยะเวลาหลายเดือน หลายปี หรือในบางรายอาจไม่สามารถพัฒนาความสามารถขององค์ประกอบการเคลื่อนไหวส่วนนั้นๆต่อไปได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บและพยาธิสภาพของระบบประสาทที่เกิดขึ้น ซึ่งหากเราจะรอระยะเวลาจนความสามารถของผู้ป่วยกลับมาจนเพียงพอต่อการใช้งานในกิจกรรมต่าง ๆ ดังที่ผู้ป่วยตั้งใจ อาจจะเป็นการเสียโอกาสและจำกัดสิทธิในการเข้าถึงการทำกิจกรรม และจำกัดการมีส่วนร่วมในสังคมตามความต้องการของผู้ป่วย
ดังนั้นการใช้กายอุปกรณ์ในการลดข้อจำกัดของการเคลื่อนไหวในบางองค์ประกอบก็เป็นการทะลายกำแพงที่ปิดกั้นความสามารถของผู้ป่วย เพื่อสนับสนุนให้เขาได้เริ่มทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อการฟื้นฟูและมีกำลังใจในการฝึกออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าในการดำรงชีวิต ให้เขากลับมาใช้กิจกรรมเหล่านั้นได้ และสร้างคุณค่าในการดำรงชีวิต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดแบ่งเป็นกี่แบบ?
อยากบำบัดด้วยอุปกรณ์ ต้องไปที่ไหน?
ด้วยเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมา ในประเทศญี่ปุ่น จึงมีการใช้กายอุปกรณ์อย่างหลากหลายทั้งในการฝึกการฟื้นฟู และการทำกิจกรรมระหว่างวันของผู้ป่วย รวมทั้งสามารถพบเห็นการใช้กายอุปกรณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ของผู้ป่วยระบบประสาทและผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นในพื้นที่สาธารณะ เนื่องจากบริบทการใช้ชีวิตที่ผลักดันให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระแม้ผู้ป่วยรายนั้น ๆ จะมีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย ประกอบกับระบบสาธารณูปโภคต่างๆในพื้นที่สาธารณะเอื้อต่อการใช้งานของผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ทางศูนย์กายภาพบำบัด PNKG จึงได้นำแนวคิดของการใช้ชีวิตอย่างอิสระของผู้ป่วยที่มีข้อจำกัด มาประยุกต์ใช้ในการกำหนดแผนการดูแลผู้ป่วย ให้สอดคล้องต่อความต้องการของและเป้าหมายในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยแต่ละราย พร้อมติดตามผลการฝึกตามรอบของเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งหนึ่งในการสนับสนุนให้ผู้ป่วยไปถึงเป้าหมายเหล่านั้นได้ก็คือการประยุกต์ใช้กายอุปกรณ์ร่วมกับการฝึกความสามารถของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยนักบำบัดของทีม PNKG
เช่น การฝึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการผ่าตัดสมองในระยะที่มีความคงที่ของพยาธิสภาพ ด้วยการเดิน ซึ่งในระยะนี้ ผู้ป่วยจะยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้มาก และในบางรายอาจมีการรับรู้ที่ไม่สมบูรณ์ การใช้กายอุปกรณ์ ประเภท Knee Ankle Foot Orthosis:KAFO ซึ่งอุปกรณ์ดามรยางค์ขาผู้ป่วยตั้งแต่ระดับต้นขาถึงข้อเท้า จะถูกนำมาใช้ในการฝึกผู้ป่วยระยะนี้ โดยจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจดจ่อกับการควบคุมการหดตัวและใช้งานของกล้ามเนื้อสะโพก ตามการฟื้นตัวของระบบประสาทที่จะสามารถควบคุมรยางค์จากส่วนต้นสู่้ส่วนปลาย อีกทั้งยังเพิ่มการตื่นของระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย (consciousness level) ผ่านการกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหวได้อีกด้วย (Dynamic stimulation) ได้อีกด้วย
ตัวอย่างกายอุปกรณ์
KAFO
ผลิตมาจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทานและคงสภาพได้ดีสามารถปรับมุมองศาของข้อเท้าและข้อเข่าได้ขณะทำการเคลื่อนไหว แต่ใช้เวลาค่อนข้างมากในการประกอบ ไม่เหมาะสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากน้ำหนักที่มากและรูปลักษณ์ของอุปกรณ์ที่ไม่เอื้อต่อการทำกิจกรรม
Metal AFO
ผลิตมาจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทานและคงสภาพได้ดีสามารถปรับมุมองศาของข้อเท้าได้ขณะทำการเคลื่อนไหว แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากน้ำหนักที่มากและรูปลักษณ์ของอุปกรณ์
Articulated AFO (plastic
ผลิตมาจากพลาสติก ทำให้มีน้ำหนักเบา และสามารถสวมใส่หรือถอดออกได้ง่าย รูปลักษณ์ของอุปกรณ์ดี กะทัดรัด แต่ขณะเคลื่อนไหวหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมข้อเข่าได้ จะส่งผลให้มีเข่าทรุดและเสี่ยงต่อการล้มมากขึ้น
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือคลิกที่นี่เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ
บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน กระตุ้นความทรงจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
✔️ ใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
✔️ รักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ
✔️ มาตรฐานการรักษาจากญี่ปุ่น
#PNKG #ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ #บริการกายภาพบำบัด #สโตรก #ฟื้นฟูหลังผ่าตัด #กระตุ้นการกลืน #อัลไซเมอร์ #กล้ามเนื้ออ่อนแรง