PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

PNKG-กิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยศาสตร์ญี่ปุ่น

  • Home
  • ข่าวสาร
  • PNKG-กิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยศาสตร์ญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา ทางคณะอาจารย์สาขาวิชากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้เกียรติเดินทางมาแลกเปลี่ยนและอัพเดตแนวคิดในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยสูงอายุ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการกับศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง PNKG Recovery and Elder care ณ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ 

โดยระหว่างการแลกเปลี่ยนความคิด ทาง PNKG Recovery and Elder care ได้อธิบายคอนเซ็ปต์การรักษาในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยแนวคิดไคโกะ-โดะ (Kaigo-Do) ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูทางกายภาพจากญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นการฝึกให้ผู้ป่วยพึ่งพาตนเองและใช้ความสามารถทางร่างกายที่เหลืออยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจมีประสิทธิภาพมากที่สุด และจุดเด่นอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • มาตรฐานการฟื้นฟูระดับสากล : แนวทางในการทำกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดจะอยู่บนพื้นฐายความรู้ ความเข้าใจ และความใส่ใจมาตรฐานเดียวกับประเทศญี่ปุ่นจากความร่วมมือ Nihon Keiei Group ที่มีมีประสบการณ์ด้านการดูแลผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี
  • ออกแบบแผนการรักษาแบบรายบุคคลด้วยทีมนักกายภาพบำบัดทั้งในไทยและญี่ปุ่น พร้อมกายอุปกรณ์ที่ทันสมัยและครบครัน
  • ยกระดับคุณภาพการฟื้นฟูให้เหนือระดับไปอีกขั้น ด้วยการเสริมทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ให้ความสำคัญกับสภาวะจิตใจ สื่อสารด้วยความเข้าใจ เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า
  • พร้อมให้บริการอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งทีมแพทย์สาขาเฉพาะทาง และทีมพยาบาลวิชาชีพ ผ่านการรับรองวิชาชีพเฉพาะด้าน

นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของกิจกรรมบำบัด (OT) ภายในองค์กร โดยนักกิจกรรมบำบัดทุกคนจะต้องเรียนรู้จาก Assessment ที่ได้องค์ความรู้มาจากญี่ปุ่น รวมถึงเทคนิคในการทำกิจกรรมบำบัด เพื่อพัฒนาและอัพเดตความรู้ให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด และสอนวิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่าน Case Study 

ซึ่งทางคณะอาจารย์สาขาวิชากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลได้ชื่นชมถึงแนวทางการรักษาในการดูแลผู้ป่วยและโฟกัสกิจกรรมประจำวัน (ADL) ของ PNKG รวมถึงความละเอียดในการดูแลผู้ป่วย พร้อมแนวทางในการส่งนักศึกษาฝึกงานมายัง PNKG ทั้งนี้ ยังได้พูดคุยหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ เช่น หลักสูตรการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Tranfers) การดูแลผู้ป่วยในระบบ ICF ที่จะใช้ในการสอนนักศึกษากิจกรรมบำบัดมหิดลด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า