โรคพาร์กินสันเทียม (Parkinsonism) คืออะไร
คือ กลุ่มอาการผิดปกติของระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว โดยอาการของโรคนี้จะคล้าย ๆ โรคพาร์กินสัน (Parkinson) แต่ไม่ใช่โรคพาร์กินสัน โดยทางการแพทย์จะเรียกว่า โรคพาร์กินโซนิซึม (Parkinsonism-plus syndromes)
โรคพาร์กินโซนิซึม VS. พาร์กินสันแท้ แตกต่างกันอย่างไร
กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึม (Parkinsonism) คือ ภาวะที่ผู้ปวยมีการเคลื่อนไหวน้อยและช้า มีอาการสั่น กล้ามเนื้อแข็งเกร็งร่วมกับการเสียสมดุลขณะยืนและเดิน ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการเหมือนกับผู้ป่วยพาร์กินสันทุกประการ แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือ พาร์กินสันแท้จะเกิดจากความผิดปกติของสมองและสื่อประสาทที่มีชื่อว่าโดพามีน แต่อาการพาร์กินโซนิซึมเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยได้รับยาบางชนิดหรือความเจ็บป่วยอื่น ๆ ดังนั้น ความหมายของโรคพาร์กินสันกับกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมจึงไม่เหมือนกัน
4 อาการ Parkinsonism ที่สังเกตได้
- เคลื่อนไหวน้อยและช้า (Bradykinesia)
- อาการสั่นในขณะพัก (Resting tremor) มักเกิดที่แขนมากกว่าขา
- อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) ส่งผลให้ขยับแขนขาได้ลําบาก
- เสียการทรงตัว (Postural instability) ส่งผลให้เกิดปัญหาในการเดิน เสี่ยงต่อการล้มได้ง่าย
3 วิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการพาร์กินโซนิซึม (Parkinsonism)
- การออกกําลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและองศาการเคลื่อนไหว เนื่องจากผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ช้าและลดลงส่งผลให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกายลดลงตามไปด้วยการออกกําลังกายจะเปนพื้นฐานทีสําคัญในการฝึกการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยต่อไป
- การฝึกเดินและการทรงตัว เนื่องจากผู้ปวยมักมีการก้าวขาที่สั้นและช้าศีรษะและหลังก้มลําตัวและเข่าย่อลงส่งผลให้เกิดความเสียงในการล้มมากขึนโดยการฝกจะเปนการให้ผู้ป่วยฝึกเดินก้าวขายาวฝกเดินเข้าจังหวะรวมไปถึงการจัดตําแหน่งของร่างกายตังแต่ศีรษะไปจนถึงปลายเท้าให้ถูกต้อง
- การฝึกกิจวัตรประจําวัน เช่น การรับประทานอาหารการเข้าห้องนํ้าและการทําความสะอาดร่างกาย เป็นต้น โดยเน้นการฝึกให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์)
- Line : PNKG
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care