PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

ไขข้อสงสัย: พาร์กินสันแท้ Vs. พาร์กินสันเทียม

  • Home
  • บทความ
  • ไขข้อสงสัย: พาร์กินสันแท้ Vs. พาร์กินสันเทียม
กลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึม (Parkinsonism) คือ ภาวะที่ผู้ปวยมีการเคลื่อนไหวน้อยและช้า มีอาการสั่น กล้ามเนื้อแข็งเกร็งร่วมกับการเสียสมดุลขณะยืนและเดิน ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการเหมือนกับผู้ป่วยพาร์กินสันทุกประการ  แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือ พาร์กินสันแท้จะเกิดจากความผิดปกติของสมองและสื่อประสาทที่มีชื่อว่าโดพามีน แต่อาการพาร์กินโซนิซึมเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยได้รับยาบางชนิดหรือความเจ็บป่วยอื่น ๆ ดังนั้นความหมายของโรคพาร์กินสันกับกลุ่มอาการพาร์กินโซนิซึมจึงไม่เหมือนกัน

พาร์กินโซนิซึม (Parkinsonism) จะมีอาการและการแสดงออกที่พบได้โดยทั่วไป ได้แก่

  1. เคลื่อนไหวน้อยและช้า (Bradykinesia)
  2. อาการสั่นในขณะพัก (Resting tremor) มักเกิดทีแขนมากกว่าขา
  3. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) ส่งผลให้ขยับแขนขาได้ลําบาก
  4. เสียการทรงตัว (Postural instability) ส่งผลให้เกิดปัญหาในการเดิน เสี่ยงต่อการล้มได้ง่าย

3 วิธีการรักษาผู้ปวยทีมีอาการพาร์กินโซนิซึม (Parkinsonism)

  1. การออกกําลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและองศาการเคลื่อนไหว:เนื่องจากผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ช้าและลดลงส่งผลให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกายลดลงตามไปด้วยการออกกําลังกายจะเปนพื้นฐานทีสําคัญในการฝึกการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยต่อไป
  2. การฝึกเดินและการทรงตัว:เนื่องจากผู้ปวยมักมีการก้าวขาที่สั้นและช้าศีรษะและหลังก้มลําตัวและเข่าย่อลงส่งผลให้เกิดความเสียงในการล้มมากขึนโดยการฝกจะเปนการให้ผู้ปวยฝกเดินก้าวขายาวฝกเดินเข้าจังหวะรวมไปถึงการจัดตําแหน่งของร่างกายตังแต่ศีรษะไปจนถึงปลายเท้าให้ถูกต้อง
  3. การฝึกกิจวัตรประจําวัน:เช่นการรับประทานอาหารการเข้าห้องนํ้าและการทําความสะอาดร่างกายเป็นต้นโดยเน้นการฝึกให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองให้ได้มากทีสุด
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือคลิกที่นี่

Sorry, we couldn't find any posts. Please try a different search.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save