PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

สโตรก (Stroke) ฟื้นฟูอย่างไรให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด

  • Home
  • บทความ
  • สโตรก (Stroke) ฟื้นฟูอย่างไรให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด

รู้หรือไม่? โรคหลอดเลือดสมองหรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “Stroke” ภัยเงียบที่แสนอันตรายและนับเป็น  1 ใน 5 ของโรคที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประเทศไทย!!

“ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีจำนวนมากขึ้น เป็นได้ทุกเพศทุกวัย ความน่ากลัวของโรค คือเป็นภัยเงียบที่ไม่ส่งสัญญาณล่วงหน้า ในทุก 6 วินาที จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1 คน มีผู้ป่วยใหม่ 13.7 ล้านคน เสียชีวิตร้อยละ 5 พิการร้อยละ 70 ในบริบทประเทศ Stroke ยังคงเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศไทย รวมถึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของจำนวนผู้สูงอายุที่สูงขึ้นในทุกปี”

– นายแพทย์ วุธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ –

โรคหลอดเลือดสมองฟื้นฟูได้ ถ้ารักษาถูกวิธีและตรงจุด

1. การพาผู้ป่วยเคลื่อนไหวหลังผ่านช่วงวิกฤต (Acute Phase) ภายใน 24-48 ชั่วโมง

การนำผู้ป่วยขยับออกจากเตียงนับเป็นช่วงสำคัญที่สุดในการเริ่มต้นรักษาผู้ป่วยสโตรก จากงานวิจัยพบว่า การฟื้นฟูแบบเร่งด่วนช่วยเพิ่มอัตราการฟื้นฟูของผู้ป่วยได้ การลุกขึ้นนั่งหรือขยับออกจากเตียงภายใน 24-28 ชั่วโมงจะช่วยให้ผู้ป่วยพร้อมสำหรับการฝึกได้เร็วขึ้น

2. การเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์ (Motor Learning)

การเคลื่อนไหวของมนุษย์ถูกควบคุมโดยระบบประสาทส่วนกลางในสมองและตัวรับรู้ความรู้สึก การฝึกเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์หรือ Motor Learning ด้วยการฝึกซ้ำ ๆ ช่วยให้สมองจดจำกระบวนการเหล่านี้ได้ เหมือนเด็กฝึกเล่นเปียโนหรือปั่นจักรยาน ผู้ป่วยสโตรกจำเป็นต้องใช้การฝึกนี้ร่วมกับการฝึกความแข็งแรงทั่วไป เพื่อเรียกความสามารถในการเคลื่อนไหวกลับมา

3. กายฝึกด้านกายภาพ

การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ องศาการเคลื่อนไหว และการประสานสัมพันธ์ของร่างกายช่วยพัฒนาความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น การออกกำลังกายท่าคุกเข่า

การทำกายภาพอย่างเข้มข้นก็สามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างตรงจุดเข่นกัน

4. การฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)

การฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การฝึกรับประทานอาหาร และ การฝึกเข้าห้องน้ำ จะช่วยพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง และการเตรียมสภาพแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) เช่น การฝึกรับประทานอาหาร และการฝึกเข้าห้องน้ำ จะช่วยพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง และการเตรียมสภาพแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. การฝึกความคิดความเข้าใจ (Cognitive Function Training)

การฟื้นฟูการรับรู้ความเข้าใจเป็นการรักษาที่วางเป้าหมายในการพัฒนาสมองในส่วนของความคิดและความเข้าใจ โดยปรับเปลี่ยนการฝึกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

การฟื้นฟูการรับรู้ความเข้าใจ (Cognitive Function Training) เป็นการรักษาที่วางเป้าหมายในการพัฒนาสมองในส่วนของความคิดและความเข้าใจ โดยปรับเปลี่ยนการฝึกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

6. การฝึกโดยเจาะจงข้างที่อ่อนแรง (Constraint-Induced Therapy)

การฝึกเจาะจงข้างที่อ่อนแรงช่วยฟื้นฟูการทำงานของมือในผู้ป่วยสโตรก โดยจำกัดการใช้งานมือข้างที่แข็งแรง

การฝึกเจาะจงข้างที่อ่อนแรงช่วยฟื้นฟูการทำงานของมือในผู้ป่วยสโตรก โดยจำกัดการใช้งานมือข้างที่แข็งแรง

7. การฝึกโดยใช้กายอุปกรณ์

การใช้กายอุปกรณ์ช่วยป้องกันการผิดรูปของข้อต่อและการเกิดอาการปวด ช่วยในการปรับรูปแบบการเดินให้ใกล้เคียงกับการเดินปกติ

การใช้กายอุปกรณ์ช่วยป้องกันการผิดรูปของข้อต่อและการเกิดอาการปวด ช่วยในการปรับรูปแบบการเดินให้ใกล้เคียงกับการเดินปกติ

วิธีการและบทความที่กล่าวมาทั้งหมด คือหลักการฟื้นฟูผู้ป่วย Stroke ในระดับสากลที่ศูนย์ PNKG Recovery Center นำมาใช้

มาตรฐานการฟื้นฟู (กายภาพ) “ไทย” สู่ “สากล”

จากการศึกษาของคุณ ยูกิ ฟุรุยะ ผู้อำนวยการศูนย์ PNKG Recovery Center ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา และการศึกษาวิจัยศูนย์ฟื้นฟูมากกว่า 1,000 แห่งในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เห็นว่า ประเทศไทยมีระบบสาธารณสุขที่ดีอันดับ 6 ของโลกจาก 89 ประเทศ อีกทั้งยังมีความพร้อมด้านจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูคุณภาพสูง แต่อาจขาดผู้ให้บริการฟื้นฟูตามมาตรฐานสากล หากได้รับการพัฒนาคุณภาพ ก็สามารถเป็นศูนย์ฟื้นฟูที่ดีที่สุดใน Southeast Asia ได้

หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่กับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  • ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์)
  • โทร : 080-910-2124
  • Line : PNKG
  • Facebook : PNKG Recovery and Elder Care

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า