ทำความรู้จักแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อพบคนใกล้ตัวมี 5 อาการสัญญาณเตือนจากสมองที่ควรได้รับการดูแลด้วยแนวทางการดูแลผู้ป่วย Stroke Fast Track รู้ก่อนเปลี่ยนชีวิต เพราะทุกวินาทีมีค่าสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (สโตรก)
Stroke Fast Track คืออะไร?
Stroke Fast Track หมายถึง แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบเร่งด่วน ครอบคลุมตั้งแต่การรับผู้ป่วย การประเมินอาการ และกระบวนการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยด้รับการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือกลับมาใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดได้
ทำไมถึงสำคัญกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง?
เนื่องจาก สมองต้องการออกซิเจนและสารอาหารอย่างต่อเนื่อง หากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก จะทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจนและเสียหายได้ภายในไม่กี่นาที การที่ผู้ป่วยได้รับรักษาที่รวดเร็วภายใน 4.5 ชั่วโมง หรือประมาณ 270 นาทีจะช่วยลดความเสียหายของเซลล์สมอง พร้อมเพิ่มโอกาสฟื้นตัวให้กับผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น
5 อาการสัญญาณเตือนสโตรก
BE FAST เปิดเช็กลิสต์ 5 สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) หากคนรอบตัวหรือคนในครอบครัวมีลักษณะอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า 1 ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลให้ไวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยอาการเด่นที่สามารถสังเกตเห็นได้ มีดังต่อไปนี้
- Balance – เดินเซ หรือไม่สามารถทรงตัวได้ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงทันทีทันใด ปวดมากแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เวียนหัว หรือบ้านหมุน
- Eyes – การมองเห็นผิดปกติ เช่น มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่ชัด
- Face – ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยวเฉียบพลัน มุมปากตก
- Arm – แขนขาชา หรืออ่อนแรงครึ่งซีก (ซีกใดซีกหนึ่ง)
- Speech – พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง สับสน หรือพูดไม่ออก
หากพบคนรอบตัวหรือคนสนิทมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่ง ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยแนวทางการดูแลผู้ป่วยด้วย Stroke Fast Track ควรทำภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง เพื่อลดความเสียหายของสมองและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจจะขึ้นได้
ใครบ้างที่ควรรู้เรื่อง Stroke Fast Track
จริง ๆ ทุกคนควรรู้เรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ เพราะโรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคไต เป็นต้น
แนวทางการดูแลผู้ป่วยด้วย Stroke Fast Track
เพราะทุกวินาที คือ ชีวิตสำหรับผู้ป่วยสโตรก แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สอดคล้องกับเวลาที่มีจำกัดของผู้ป่วย โดยแนวทางการดูแลผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล มีรายละเอียด ดังนี้
ประเมินอาการโดยใช้ BE FAST Stroke Assessment
- F : ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยวเฉียบพลัน มุมปากตก
- A : แขนขาชา หรืออ่อนแรงครึ่งซีก (ซีกใดซีกหนึ่ง)
- S : ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด พูดลำบาก หรือพูดไม่ออก
- T : ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ
หากพบอาการดังข้างต้น ทางโรงพยาบาลจะประสานงานกับแพทย์ฉุกเฉิน และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เตรียม CT Scan หรือ MRI เตรียมห้องผ่าตัด ห้อง ICU และเตรียมยา เป็นต้น
ประเมินและตรวจประวัติเบื้องต้น
ทีมพยาบาลและทีมแพทย์ฉุกเฉินจะซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด พร้อมตรวจร่างกาย เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค จากนั้นจะทำการส่งตรวจ CT Scan สมอง เพื่อวินิจฉัยแยกภาวะสมองขาดเลือดกับภาวะเลือดออกในสมอง หรือหาสาเหตุของโรค
วินิจฉัยและแจ้งทางเลือกในการรักษา
เมื่อแพทย์ผู้ทำการรักษาอ่านผล CT Scan แล้วจะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษา ตั้งแต่ข้อบ่งชี้ ประโยชน์ ผลเสีย และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นให้ผู้ป่วยและญาติทราบ เพื่อยืนยันและเลือกแนวทางการรักษา พร้อมเซ็นใบยินยอมการรักษา
การรักษา Stroke Fast Track
ส่วนวิธีการรักษาผู้ป่วยด้วยแนวทางนี้ จะเป็นวิธีการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย ภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ เพราะหากเลยเวลานี้ไป จะทำให้เนื้อสมองของผู้ป่วยจะตาย ซึ่งจะไม่ตอบสนองต่อการรักษา
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอาการไม่ทันภายใน 4.5 ชั่วโมง แต่อยู่ภายใน 6 ชั่วโมง แพทย์จะใส่สายสวน เพื่อเอาลิ่มเลือดออก เมื่อมีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้าม และในกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดออกในสมอง แพทย์อาจจะพิจารณาวิธีการผ่าตัด เพื่อลดความดันในสมองด้วย
หลังทำการรักษา มีวิธีการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยอย่างไรบ้าง?
หลังทำการรักษาแล้ว การฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติมากที่สุด ซึ่งการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยอาจใช้เวลาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ โรคประจำตัว เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการคงที่แล้วควรได้รับการฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- กายภาพบำบัด (Physical Therapy) : เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหว การทรงตัว แก้ไขอาการข้อติด กล้ามเนื้อแฟบ ปอดแฟบ ฯลฯ หรือที่เรียกว่า ภาวะถดถอยทางร่างกาย (Disuse Syndrome) ซึ่งเป็นหนึ่งสาเหตุสำคัญที่จะนำไปสู่การติดเตียง (Bedridden) ได้อย่างตรงจุดด้วย
- กิจกรรมบำบัด (Occupation Therapy) : เพื่อฟื้นฟูทักษะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะกลืนลำบาก หรือมีปัญหาในการสื่อสาร เช่น เช่น การฝึกกระตุ้นกลืนอาหาร การฝึกการรับรู้และความเข้าใจ ทักษะการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ และการฝึกแก้ไขการพูด
นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังควรได้รับการฝึกทักษะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การแปรงฟัน การอาบน้ำ การใส่เสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งการฝึกทั้งหมดนี้ นอกจากจะช่วยลดอาการอ่อนแรงของร่างกายแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติ สามารถกลับไปทำงาน สังคม และทำกิจกรรมที่ตนเองชอบได้ และลดการพึ่งพาคนในครอบครัวได้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังมองหาศูนย์ฟื้นฟูหรือศูนย์กายภาพบำบัดหลังผ่าตัดสมอง โรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตรก และโรคอื่น ๆ ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยศาสตร์การฟื้นฟูร่างกายแบบไคโก-โดะ (Kaigo-Do) นึกถึง PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดและดูแลผู้สูงอายุ บริการกายภาพบำบัดครบวงจรบนพื้นฐานการวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น.
- จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์)
- โทร : 080-910-2124
- Line : PNKG
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care
คำถามที่พบบ่อย
Stroke Fast Track กี่นาที
ใช้เวลาประมาณ 4.5 ชั่วโมง หรือ 270 นาที นับตั้งแต่นาทีแรกที่ผู้ป่วยมีอาการ โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย ซึ่งช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่สมองสามารถทนต่อการขาดเลือด และตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดมากที่สุด
Stroke fast track กับ Stroke ต่างกันอย่างไร
Stroke Fast Track คือ ระบบการดูแลสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายใน 4.5 ชั่วโมง หรือ 270 นาที เพื่อลดความเสียหายของสมองและเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวของผู้ป่วย ในขณะที่ Stroke คือ โรคหลอดเลือดสมองที่ควรได้รับการดูแลรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้