PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

5 สัญญาณเตือน เส้นเลือดสมองแตก รู้ทันสโตรกก่อนสาย

  • Home
  • บทความ
  • 5 สัญญาณเตือน เส้นเลือดสมองแตก รู้ทันสโตรกก่อนสาย


สโตรก (Stroke) หรือโรคเส้นเลือดสมอง

ตีบ แตก ตัน เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตในคนไทย และหนึ่งในสาเหตุของการเกิดภาวะทุพพลภาพในผู้ป่วย บางรายอาจหายเป็นปกติ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะสโตรกสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้ดี มาดู 5 สัญญาณเตือน เส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดสมองแตก ก่อนสาย

โรคเส้นเลือดสมองตีบ ตัน VS โรคเส้นเลือดสมองแตก: ความเหมือนในความต่าง

สิ่งที่ต่างกันระหว่างเส้นเลือดสมองตีบ กับ เส้นเลือดสมองแตก

สาเหตุ

  • โรคเส้นเลือดสมองตีบ ตัน
    เกิดจากไขมันหรือคราบหินปูนสะสมในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง หรือมีลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  • โรคเส้นเลือดสมองแตก
    เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก เลือดรั่วไหลออกมาในเนื้อสมอง

ปัจจัยเสี่ยง

  • โรคเส้นเลือดสมองตีบ ตัน: อายุ (ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุ), โรคความดันสูง, การสูบบุหรี่, การดื่มสุรา, ไขมันในเลือดสูง, โรคทางพันธุกรรม, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, ภาวะอ้วน, การขยับร่างกายน้อย
  • โรคเส้นเลือดสมองแตก: อายุ, ความดันสูง, การสูบบุหรี่, การดื่มสุรา, การติดเชื้อ, โรคทางพันธุกรรม, ภาวะอ้วน, การใช้ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด

สิ่งที่เหมือนกันระหว่างเส้นเลือดสมองตีบ กับ เส้นเลือดสมองแตก

อาการแสดง

มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันทันที สังเกตและจดจำกลุ่มอาการ “BE FAST” ไว้ หากพบเจอให้รีบนำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด:

  • B – BALANCE: สูญเสียการทรงตัว
  • E – EYE: มองเห็นภาพซ้อน ภาพเบลอ หรือสูญเสียการมองเห็น
  • F – FACE: ใบหน้าอ่อนแรง มีอาการชา หรือปากเบี้ยว
  • A – ARM: แขนขาอ่อนแรง หรือมีอาการชาครึ่งซีก
  • S – SPEECH: พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือพูดไม่เข้าใจ
  • T – TIME: หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

Stroke Symptoms

การป้องกัน

  • ควบคุมความดันโลหิต ค่าน้ำตาล และไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • เลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดการปรุงรสจัด
  • หากมีโรคประจำตัว ควรทานยาและพบแพทย์ตามคำแนะนำ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและทราบสถานะสุขภาพ

บทความนี้ได้รับการตรวจทานโดย: นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ (อายุรแพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ)

Sorry, we couldn't find any posts. Please try a different search.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save