PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

วิธีการดูแลผู้ป่วยสโตรกแบบองค์รวมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

  • Home
  • บทความ
  • วิธีการดูแลผู้ป่วยสโตรกแบบองค์รวมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

รู้หรือไม่? ผู้ป่วยใน 1 เคสของ PNKG จะมีสหวิชาชีพต่างๆร่วมกันประเมินดูแลอย่างน้อย 5 สหวิชาชีพขึ้นไป บางเคสอาจมากถึง 7-10 สหวิชาชีพ ยกตัวอย่างเช่น หมอ,พยายาบาล,ผู้ช่วย,นักกายภาพ,นักกิจกรรมบำบัด,นักโภชนาการ,นักจิตวิทยา ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์การกีฬา–เคลื่อนไหว รวมถึงสหวิชาชีพอื่นๆตามเงื่อนไขของผู้ป่วยในแต่ละเคส

📍 จากสิ่งที่เรากล่าวไป เราไม่ได้กำลังจะบอกว่า เรามีกำลังคนเยอะไปกว่าที่ไหน เก่งไปกว่าใคร หรือมีวัตถุประสงค์อย่างอื่นแอบแฝง แต่เหตุผลที่ผู้ป่วย 1 เคสจะต้องมีคนดูแลมากถึงขนาดนี้เพราะที่ศูนย์ของเราต้องการที่จะดูแลผู้ป่วยในทุกๆมิติของข้อจำกัดและ “ฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับมามีชีวิตใกล้เคียงเดิมให้ได้มากที่สุด ตามข้อจำกัดของร่างกาย” ซึ่งเราจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในแนวคิดนี้ได้เลยหากเราโฟกัสหรือใส่ใจคือปัญหาด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว

PNKG มีแนวทางในการยึดหลัก ICF(International Classification of Functioning, Disability and Health ที่จะดูภาพคนไข้ในภาพรวมโดยพยายามฟื้นฟูปัจจัย

  • ด้านร่างกาย (Body Functions)
  • กิจกรรม (Activities)
  • การมีส่วนร่วมในสังคม (Participation)
  • สิ่งแวดล้อมรอบตัว (Environmental Factor)
  • ปัญหาส่วนตัว (Personal Factors)

ขออธิบายให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นพร้อมยกตัวอย่าง เช่น

📍 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคนหนึ่ง ประกอบอาชีพทำอาหาร กิจวัตร คือชอบทำอาหารให้เพื่อนฝูงและครอบครัวกินเป็นประจำ ความสุขสูงสุดคือการที่ได้เห็นคนที่รักได้ทานอาหารฝีมือตัวเอง วันนึงล้มป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองทำให้ร่างกายมีภาวะอัมพาตครึ่งซีกเป็นผู้ป่วยติดเตียงทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมได้เหมือนเดิมและต้องการทำการฟื้นฟู

📍 เมื่อผู้ป่วยมาถึงที่ศูนย์ของเรา เราจะตรวจประเมินร่างกายโดยละเอียด และหลังจากเรารู้ข้อจำกัดรวมถึงความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวแล้ว เราจะออกแบบแผนการรักษาเฉพาะบุคคล โดยจะออกแบบ “วิธีการฝึก” ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย เช่น การฝึกมือจะไม่ใช่การฝึกแบบปกติ แต่จะเป็นฝึกที่จำลองการหั่นผัก การใช้มีด หรือ การทำอาหารเป็นต้น การฝึกเดินหรือยืนทรงตัว จะจำลองการฝึกท่ายืนทำอาหาร หรือ นั่งทำอาหาร เป็นต้น.

📍นอกจากนั้นแล้ว การดูแลแบบองค์รวมจะไม่ได้จบเพียงแค่นั้น แต่เรายังดูไปถึงปัจจัยภายนอก (Environmental Factor) เช่น สภาพแวดล้อมที่บ้าน ห้องพักเป็นแบบไหน บ้านมีบรรไดหรืออุปสรรคอะไรบ้างต่อการเดินไปทำอาหาร ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นข้อมูลที่เราจะนำมา พยายามปรับแต่ง และจำลองสภาพล้อมให้เหมือนสถานที่ที่ผู้ป่วยใช้ชีวิตจริงให้ได้มากที่สุดก่อนจะ Discharge ออกจากศูนย์เราไป เพราะสุดท้ายแล้ว “ผู้ป่วยจะต้องกลับบ้านไปใช้ชีวิต ไม่ใช่อยู่ที่ศูนย์เราตลอดไป”

📍 สุดท้ายคือปัจจัยภายในของผู้ป่วย (Personal Factors) เราจำเป็นจะต้องรู้รายละเอียดส่วนตัวของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่าง เช่น ระดับการศึกษาของผู้ป่วย จำนวนสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ข้อมูลตรงนี้จะส่งผลกระทบต่อการฝึกแน่นอน โดยจะขอยกตัวอย่างเช่น ระดับการศึกษาจะสอดคล้องไปตามความยากของแบบฝึกหัดที่นักกิจกรรมจะนำมาใช้ฝึก ความสัมพันธ์ของครอบครัว เราจำเป็นจะต้องรู้ว่าผู้ป่วยอยู่กับสมาชิกท่านไหนในครอบครัวแล้วมี Motivation หรือแรงผลักดันในการฝึกมากที่สุด รวมไปถึงไปการรู้นิสัยใจคอของผู้ป่วยซึ่งเราจะสามารถจัดบุคลลากรหรือเลือกวิธีการเข้าหาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

ทั้งหมดนี้ คือ ส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ป่วย 1 เคสของเราตามวิธีในคิด “ไคโกโดะ” ในการมุ่งเป้าไปที่การฟื้นฟู้ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามข้อจำกัดสูงสุดนั่นเอง
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือ คลิกที่นี่เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

Sorry, we couldn't find any posts. Please try a different search.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save