PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

ภาวะกลืนลำบาก: ผลเสียต่อผู้สูงอายุและวิธีดูแล

  • Home
  • บทความ
  • ภาวะกลืนลำบาก: ผลเสียต่อผู้สูงอายุและวิธีดูแล

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การกลืน” เป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานของร่างกายที่สำคัญมาก หากเรามีปัญหากับการกลืน อย่าง “ภาวะกลืนลำบาก” อาจส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ยากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้

ภาวะกลืนลำบาก คืออะไร?

ภาวะกลืนลำบาก คือ ภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติในการกลืน ทำให้อาจกลืนสิ่งต่าง ๆ ได้ยากลำบากหรือมีอาการเจ็บเวลากลืน เช่น ขณะกลืนอาหาร หรือของเหลวบางชนิด กลืนน้ำลาย เป็นต้น ภาวะกลืนลำบากสามารถพบได้ใน กลุ่มผู้ป่วยด้านระบบประสาทและสมอง (โรคหลอดเลือดสมอง บาดเจ็บที่สมอง หรือสมองเสื่อม) มะเร็ง และโรคกรดไหลย้อน (GERD)

สาเหตุของภาวะกลืนลำบาก

  • ผู้สูงอายุบางรายอาจมีประสิทธิภาพการเคี้ยวและการกลืนลดลง ทำให้รู้สึกเจ็บ เมื่อกลืนน้ำหรืออาหาร
  • ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น โรคอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเรื้อรัง เนื้องอกที่สมอง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเส้นเลือดในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตัน
  • ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเอากล่องเสียงออก ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน

อาการของภาวะกลืนลำบาก

นอกจากนี้ ภาวะกลืนลำบากยังมักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่าง เนื้องอก พาร์กินสัน ซึ่งกระทบกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เช่น

  • หายใจติดขัด หายใจไม่ออก
  • สำลักหลังรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ (อาหารหรือของเหลวเข้าสู่หลอดลม)
  • ไอระหว่างหรือหลังกลืนอาหารหรือน้ำ
  • สำลักน้ำลาย
  • เสียงแหบ เครือ หรือเบา หลังจากกลืน
  • เจ็บหรือแสบร้อนกลางหน้าอก
  • น้ำลายไหลมากกว่าปกติ
  • เคี้ยวลำบาก
  • กลืนลำบากอาจนำไปสู่ปอดติดเชื้อจากการสำลักได้

วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะกลืนลำบาก

  • ออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณปาก คอหอย และกล่องเสียง
  • เปลี่ยนรูปแบบของอาหารและน้ำดื่มให้เหมาะสมกับผู้ป่วย (ต้องได้รับการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด หรือแพทย์)
  • เปลี่ยนรูปแบบการให้อาหาร เช่น การใส่สายให้อาหารทางจมูก หรือกระเพาะอาหาร

กลืนลำบากในผู้สูงอายุ ส่งผลเสียอย่างไร

ทางร่างกาย: ผู้ป่วยมักหลีกเลี่ยงการทานอาหารหรือดื่มน้ำ เพราะกลัวจะสำลักหรืออาจรู้สึกกลืนลำบาก ทำให้ขาดอาหาร เกิดภาวะขาดน้ำ ไปจนถึงผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

ทางสังคมและจิตใจ: ผู้ป่วยอาจมีความกังวลเมื่อต้องทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ทำให้ไม่มั่นใจที่จะเข้าสังคม จนในที่สุด ผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานอาหารคนเดียว นำไปสู่โรคซึมเศร้า หดหู่ ไม่อยากอาหาร ทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง คุณภาพชีวิตแย่ลง

หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือคลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ต้องการคำแนะนำด้านการฟื้นฟูทางกายภาพ

Related Article

Search

Sorry, we couldn't find any posts. Please try a different search.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save