รู้หรือไม่ ภาวะเปราะบาง หรือ Frailty ที่หลาย ๆ คนคิดว่าเป็นหนึ่งในโรค แต่จริง ๆ แล้ว ภาวะเปราะบาง เป็นเพียงภาวะที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นได้ทั้งทางกายภาพและสภาพจิตใจ หากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาว ภาวะเปราะบาง มักพบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีสภาวะเปลี่ยนผ่านจากสภาพแข็งแรงสู่ภาวะอ่อนแอ ทั้งทางกาย จิต และสังคม ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ เช่น การหกล้ม ภาวะทุพพลภาพ ความพิการถาวร คุณภาพชีวิตลดลง และความต้องการการดูแลที่ซับซ้อน นอกจากนี้ ภาวะเปราะบาง ยังต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจากญาติ ครอบครัว และคนใกล้ตัวอีกด้วย
ภาวะเปราะบางมีลักษณะดังต่อไปนี้
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- กิจกรรมทางกายต่ำ เหนื่อยมากขึ้น หายใจแรงขึ้นในกิจกรรมที่เคยทำ
- เดินช้าลง
- มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และความคิด รู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง
- น้ำหนักลดลงโดยไม่เจตนาร่วมกับภาวะอ่อนแอ โดยลดลงมากกว่า 4.5 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ภาวะเปราะบางตามความรุนแรงได้ดังนี้
- กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเปราะบาง: ต้องปรับพฤติกรรมเพื่อคงสุขภาวะที่ดีในการส่งเสริมสุขภาพ
- กลุ่มที่เริ่มมีภาวะเปราะบางหรือกลุ่มเสี่ยงสูงต่อภาวะเปราะบาง: ต้องปรับพฤติกรรมและเสริมกำลังใจเพื่อชะลอและฟื้นคืนภาวะเปราะบาง
- กลุ่มผู้เปราะบางที่มีความซับซ้อนของโรค: ต้องการการส่งเสริมป้องกันจากทีมสหสาขาวิชาชีพและองค์กรในชุมชนเพื่อลดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์
การป้องกันผู้ป่วยในภาวะเปราะบาง
- เพิ่มการออกกำลังกาย ทั้งชนิดต้านทานและแอโรบิก เช่น ไทชิ
- ปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหกล้ม
- เสริมโปรตีนช่วยในการรักษามวลกล้ามเนื้อ
- บำรุงรักษาสุขภาพช่องปาก ร่วมกับจำกัดปริมาณน้ำตาล
- ให้ความรู้ครอบครัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงในภาวะเปราะบาง
ดังนั้น หากที่บ้านของท่านมีสมาชิกสูงอายุอาศัยอยู่ร่วมด้วย สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือการคอยเอาใจใส่ และหมั่นสังเกตลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งทางกายและจิตใจ แต่หากให้ความช่วยเหลือมากเกินความจำเป็น (Overcare) อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่ได้ใช้สมรรถภาพที่ตนเองมีอยู่ได้เต็มที่ และนำมาสู่การเกิดภาวะถดถอยของร่างกาย (Disuse Syndrome) หรือ ขอเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำในการดูแล ฟื้นฟูทางกายภาพและสุขภาพจิต
เอกสารอ้างอิง: ธัญยรัชต์ องค์มีเกียรติ วทบ.. ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา, THAI JOURNAL OF NURSING COUNCIL VOL. 33 NO.3 JULY-SEPTEMBER 2018
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพ อย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือ คลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ
บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน กระตุ้นความทรงจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
✔️ ใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
✔️ รักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ
✔️ มาตรฐานการรักษาจากญี่ปุ่น
#PNKG #ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ #บริการกายภาพบำบัด #สโตรก #ฟื้นฟูหลังผ่าตัด #กระตุ้นการกลืน #อัลไซเมอร์ #กล้ามเนื้ออ่อนแรง