เส้นเลือดในสมองตีบ (Ischemic Stroke) คืออะไร? ทำความรู้จักโรคใกล้ตัวที่หลายคนไม่เคยรู้ เช็ก 6 สัญญาณอันตรายเส้นเลือดในสมองตีบ อาการเริ่มแรก พร้อมเปิด 5 สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองตีบ เจาะลึก สรุปชัดเข้าใจง่ายฉบับ PNKG ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดและผู้สูงอายุ รู้ก่อนใคร ทำไมเส้นเลือดสมองตีบถึงอันตรายถึงชีวิต พร้อมแจกเช็กลิสต์ ถ้าเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ กินอะไรได้บ้าง?
เส้นเลือดในสมองตีบ (Ischemic Stroke) คืออะไร?
โรคหลอดเลือดในสมองตีบ (Ischemic Stroke) คือ ภาวะที่เกิดจากการที่เส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง เมื่อสมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ก็จะทำให้สมองส่วนนั้นเสียหายจนไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายจนนำไปสู่อัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาจมีอาการผิดปกติ เช่น ชาครึ่งซีก ตาพร่ามัว หรือมองไม่เห็น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เป็นต้น
โรคเส้นเลือดในสมองตีบ เกิดจากอะไร?
สาเหตุเส้นเลือดในสมองตีบ หรือเส้นเลือดอุดตันในสมองเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และหลอดเลือดสมองอุดตัน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดแดงชั้นในหนาตัวจากการที่มีสารอื่น ๆ และการสะสมไขมัน จนหลอดเลือดอักเสบ เมื่อไม่ได้ทำการรักษา สารเหล่านี้จะกลายเป็นแผ่นแข็ง (Plaque) ทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพและขาดความยืดหยุ่น จนทำให้หลอดเลือดสมองตีบ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการ เช่น อายุ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน ฯลฯ
หลอดเลือดในสมองอุดตัน (Embolic)
เป็นเส้นเลือดสมองตีบที่เกิดจากลิ่มเลือดก่อตัวในเส้นเลือดสมอง หรือลิ่มเลือดจากที่อื่นลอยตามกระแสเลือดมาอุดตันที่หลอดเลือดสมอง เช่น ลิ่มเลือดจากหัวใจ โดยปัจจัยเสี่ยงของภาวะนี้ คือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ผนังหลอดเลือดด้านในฉีกขาด และเลือดแข็งตัวเร็วผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด หรือมีปริมาณเม็ดเลือดแดง หรือเกล็ดเลือดมากเกินไปด้วย
9 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองตีบ
เปิด 9 ปัจจัย เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค ซึ่งอาจนำไปสู่อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- อายุ : โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมสภาพ
- ความดันโลหิต : สูงกว่า 160/90 mmHg มานาน ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวเร็วผิดปกติ อาจทำให้หลอดเลือดสมองตีบตีบหรือแตกได้
- เบาหวาน : เนื่องจากน้ำตาลในหลอดเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น แข็งตัว และตีบแคบลง
- โรคหัวใจ : ไม่ว่าจะเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจโต โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ฯลฯ มีโอกาสเสี่ยงที่ลิ่มเลือดจะไหลตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
- ไขมัน : การสะสมไขมันในหลอดเลือด ทำให้เกิดคราบแผ่นแข็ง (Plaque) ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก
- สูบบุหรี่ : นิโคตินและสารพิษในบุหรี่ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง ทำให้ผนังหลอดเลือดเสียหาย เพิ่มความเสี่ยง
- ดื่มแอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ทำให้หลอดเลือดขยายและหดตัวผิดปกติ และเพิ่มการอักเสบของผนังหลอดเลือด
- โรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย
- รับประทานอาหารที่มีไขมันและเกลือสูง หลอดเลือดในสมองตีบ กินอะไรได้บ้าง? : โรคหลอดเลือดในสมองตีบห้ามกินอะไร 7 อาหารควรงดลดเสี่ยงทรุด อาหารอะไรบ้างที่ผู้ป่วยกินได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
เช็กลิสต์ 6 สัญญาณอันตรายหลอดเลือดในสมองตีบ
โดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ อาการจะมีแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปัจจัยอื่น ๆ ของผู้ป่วยแต่ละคน แต่หลัก ๆ แล้ว มักจะมี 6 อาการเตือน ดังต่อไปนี้
- เสียการทรงตัว เดินเซ มีอาการปวดศีรษะกะทันหันและรุนแรง โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
- มองไม่เห็น อาจเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดทั้งสองข้างทันที มองเห็นภาพซ้อน ปิดตา 1 ข้างหาย
- มีอาการชาที่หน้า ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยวเฉียบพลัน มุมปากตก
- แขนและขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก
- สับสน พูดไม่ชัด หรือฟังไม่เข้าใจ ลิ้นแข็ง พูดไม่ออก พูดติดขัด
- มีภาวะกลืนลำบาก
หากพบคนในครอบครัว หรือคนรู้จักมีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้รีบโทรสายด่วน 1669 และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดภายใน 3-4 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสพิการ และเสียชีวิต
หลอดเลือดในสมองตีบ วิธีรักษามีอะไรบ้าง?
วิธีการรักษาเส้นเลือดในสมองตีบขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรงของโรค ตำแหน่งที่เกิด อายุ โรคประจำตัว สุขภาพร่างโดยรวม และการวินิจฉัยของแพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งหลอดเลือดสมองตีบมีวิธีรักษา 2 รูปแบบ ได้แก่ การรักษาโดยการใช้ยา และการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
หากแพทย์วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยมีภาวะภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) แพทย์จะทำการรักษาด้วยยา ในกรณีผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ และไม่พบภาวะเลือดออกในสมอง แพทย์อาจจะพิจารณาการให้ เช่น
- ยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) ทางเส้นเลือดดำ
- ยาต้านเกล็ดเลือด เพื่อป้องกันการก่อตัวของเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน
- ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อป้องกันการเกิดการกลับเป็นซ้ำในระยะยาวเพิ่มเติม
หลอดเลือดในสมองอุดตัน (Embolic)
ในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองอุดตัน แพทย์จะพิจารณาการรักษาอาการ 3 รูปแบบ ได้แก่ การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการลากลิ่มเลือด และการรักษาด้วยการถ่างขยายเส้นเลือด โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
การรักษาด้วยยา
เป็นวิธีการรักษาแบบเดียวกับภาวะหลอดเลือดแข็ง โดยแพทย์จะฉีดยายาละลายลิ่มเลือด (rtPA) ทางเส้นเลือดดำ ในกรณีผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลภายในเวลา 4.5 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ และไม่มีภาวะเลือดออกในสมอง
การรักษาด้วยการลากลิ่มเลือด
แพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยวิธีนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลมาหลัง 4.5 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเส้นเลือดในสมองขนาดใหญ่อุดตัน โดยแพทย์จะใส่สายสวนลากลิ่มเลือดทางเส้นเลือดแดงใหญ่ เพื่อดึงลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากเส้นเลือดในสมอง เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงที่สมองได้
การรักษาด้วยการถ่างขยายเส้นเลือด (Cerebral Angioplasty with Stenting)
ส่วนการรักษาเส้นเลือดอุดตันด้วยวิธีนี้ แพทย์จะพิจารณาจากข้อบ่งชี้ เช่น หลอดเลือดแดงคาโรติด (Carotid Artery) ซึ่งเป็นหลอดเลือดใหญ่ที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมองตีบมากกว่า 50% มีอาการอัมพาตชั่วคราว หรืออัมพาตถาวร (แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ฯลฯ) เพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น
เคล็ดลับป้องกันอาการเส้นเลือดในสมองตีบ
เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ แค่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- ควบคุมระดับไขมัน และน้ำตาลในเลือด
- ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที / วัน
- พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามควบคุมความเครียด
- ตรวจสุขภาพประจำปี
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการเรื่องการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยศาสตร์การฟื้นฟูร่างกายแบบไคโก-โดะ (Kaigo-Do) พร้อมออกแบบแผนการฟื้นฟูแบบรายบุคคลด้วยความเข้าใจ ไว้ใจเรา PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดและดูแลผู้สูงอายุ บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์)
- Line : PNKG
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมองตีบ
โรคเส้นเลือดในสมองตีบเกิดจากอะไร?
เกิดจากการที่หลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ทำให้เซลล์สมองเสียหาย ซึ่งอาจนำไปสู่อาการทางร่างกายและความพิการต่าง ๆ ได้ เช่น อัมพาต พูดลำบาก หรือเสียชีวิตได้
เส้นเลือดในสมองตีบ อันตรายไหม?
โรคหลอดเลือดสมองตีบเป็นโรคที่อันตรายมาก เมื่อเส้นเลือดสมองเริ่มตีบหรืออุดตัน จะทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก และทำให้สมองส่วนนั้นเสียหาย อาจทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วพอ ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสในการฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น
หลอดเลือดสมองตีบตันกับแตก ต่างกันอย่างไร?
หลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke) เกิดจากการอุดตันของลิ่มเลือดหรือการสะสมของไขมันผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพและขาดความยืดหยุ่น และค่อย ๆ ตีบแคบลง ทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ในขณะที่โรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากเส้นเลือดสมองฉีกขาด เลือดที่ออกจะไปกดทับเนื้อเยื่อสมอง ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นขาดออกซิเจนและเสียหายในที่สุด
ถ้าป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบ รักษาหายไหม?
โรคหลอดเลือดสมองแตก หรืออาการเส้นเลือดสมองแตกสามารถรักษาให้หายได้ ขึ้นอยู่กับอายุ และความรวดเร็วในการรักษา แต่การรักษาของโรคหลอดเลือดในสมองตีบไม่ได้หายอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
โรคหลอดเลือดสมองตีบ อาการเป็นอย่างไรบ้าง?
1. เสียการทรงตัว เดินเซ มีอาการปวดศีรษะกะทันหันและรุนแรง โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
2. มองไม่เห็น อาจเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดทั้งสองข้างทันที มองเห็นภาพซ้อน ปิดตา 1 ข้างหาย
3. มีอาการชาที่หน้า ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยวเฉียบพลัน มุมปากตก
4. แขนและขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก
5. สับสน พูดไม่ชัด หรือฟังไม่เข้าใจ ลิ้นแข็ง พูดไม่ออก พูดติดขัด
6. มีภาวะกลืนลำบาก
หลอดเลือดในสมองตีบ รักษาที่ไหนดี?
แนะนำให้รักษากับโรงพยาบาลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านหลอดเลือดสมองตีบโดยเฉพาะจะดีที่สุด เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูดีมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ PNKG Recovery and Elder Care ก็เป็นหนึ่งในศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีชื่อเสียง และมีความทีมแพทย์ ทีมสหวิชาชีพมากประสบการณ์ พร้อมออกแบบการรักษาที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับคนไข้ด้วย