PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

โรคพาร์กินสัน คือ? อาการเป็นยังไง รักษายังไง เข้าใจจบใน 5 น.

  • Home
  • บทความ
  • โรคพาร์กินสัน คือ? อาการเป็นยังไง รักษายังไง เข้าใจจบใน 5 น.
โรคพาร์กินสัน (Parkinson) หรือสั่นสันนิบาต อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ สู่อาการสั่นแบบไร้สาเหตุโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ PNKG Recovery and Elder Care ชวนทุกคนมาทำความรู้จักพาร์กินสัน โรคเงียบ สะท้อนความเสื่อมของสมองและระบบประสาท เมื่อคนใกล้เริ่มตัวมีอาการสั่น พาร์กินสัน คืออะไร? มีสาเหตุมาจากอะไร อาการสั่นแบบไหนเข้าข่ายเป็นโรค Parkinson ผู้ป่วยพาร์กินสัน ไม่ควรกินอะไร ถ้าเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม? สรุปกระชับเข้าใจจบใน 5 นาที

รู้จักโรคพาร์กินสัน คืออะไร? โรคเงียบ เมื่อสมองเริ่มเสื่อมสภาพ

โรคพาร์กินสัน คือ โรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของสมองและระบบประสาทเริ่มเสื่อมสภาพ เมื่อเบซัลแกงเกลีย ((Basal Ganglia) ในสมองส่วนหน้า (Forebrain) ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหว ผลิตสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โดพามีน (Dopamine) สารเคมีที่สมองใช้ในการสื่อสารระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง ทำให้มีอาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยผิดปกติ เช่น การสั่นแบบควบคุมไม่ได้ เคลื่อนไหวช้าลง และมีปัญหาเรื่องการทรงตัว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยอาการของโรคจะค่อย ๆ ทรุดลงเรื่อย ๆ จนกระทบกับคุณภาพชีวิตในที่สุด 

โรคพาร์กินสัน เกิดจากอะไร?

ปัจจุบัน Parkinson ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด ซึ่งรวมถึงปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรคด้วย แต่มีการสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสาเหตุหลักที่พบบ่อย ๆ ในผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้ 

  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาแก้อาเจียน ยาแก้วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น
  • ความผิดปกติทางสมอง เช่น ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ สมองขาดออกซิเจนหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke) หรือโรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เป็นต้น
  • ประวัติคนในครอบครัว โดยพบว่า Parkinson สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ถึงร้อยละ 10-15

8 สัญญาณ สั่นแบบไหนเข้าข่ายเป็นพาร์กินสัน 

8 สัญญาณอาการโรคพาร์กินสัน สั่นแบบไหนเข้าข่ายเป็นพาร์กินสัน 

  • มีอาการสั่น หรือกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
  • เคลื่อนไหวช้าลง 
  • ทรงตัวได้ไม่ดี
  • พูดช้า เสียงเบา
  • ล้มง่าย
  • สีหน้าไร้อารมณ์
  • หลังค่อม ตัวงุ้มลง
  • เขียนหนังสือตัวเล็กลง จากการเคลื่อนไหวผิดปกติ

นอกจากนี้ พาร์กินสันยังมีอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เช่น มีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนหลับไม่สนิท ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ความสามารถในการรับกลิ่นลดลง เป็นต้น

โรคพาร์กินสัน มีกี่ระยะ?

พาร์กินสันสามารถแบ่งระยะของโรคได้ 5 ระยะ จากเบาไปจนถึงหนัก (แบ่งตามเกณฑ์ Modified Hoehn – Yahr)

  • ระยะที่ 1 : ในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการไม่รุนแรงมาก เริ่มมีสั่นถึงแม้จะอยู่เฉย ๆ ก็ตาม เริ่มเคลื่อนไหวช้าลง กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง แต่ยังสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้
  • ระยะที่ 2 : อาการเริ่มชัดเจนกว่าระยะแรก อาการสั่นเริ่มลุกลามไปที่อวัยวะอีกข้าง เริ่มหลังงอ เดินช้าลง
  • ระยะที่ 3 : มีปัญหาเรื่องการทรงตัว ลุก ยืนลำบาก มีโอกาสหกล้มได้ง่าย
  • ระยะที่ 4 : ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงกว่าเดิม ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ระยะที่ 5 : โรคพาร์กินสัน ระยะสุดท้ายเป็นระยะที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย เช่น ไม่สามารถทานอาหารได้เอง มือหงิกงอ หากปล่อยไว้ จะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง (Bedridden) ไปในที่สุด

ทั้งนี้ Parkinson ควรได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วเท่าไรก็ยิ่งช่วยชะลอการพัฒนาระยะความรุนแรงของโรค และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย  

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นพาร์กินสัน?

  • ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 
  • ผู้ที่ใช้ยาทางจิตเวชบางประเภท
  • พันธุกรรม : มีประวัติครอบครัวเป็นพาร์กินสัน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคประมาณ 10-15% 
  • ผู้ที่อาศัยในนิคมอุตสาหกรรม สัมผัสหรือสูดดมสารเคมีบางชนิด เช่น แมงกานีส ทองแดง เป็นต้น
  • ผู้ที่ได้รับอาการบาดเจ็บทางศีรษะอย่างรุนแรง หรือมีประวัติอุบัติเหตุทางศีรษะ
  • ประกอบอาชีพที่เสี่ยงต่อการกระทบกระเทือนศีรษะ เช่น นักมวย นักฟุตบอล

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นพาร์กินสัน มีอะไรบ้าง?

  • อายุ: อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด ผู้สูงอายุที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
  • เพศ: ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็นพาร์กินสันมากกว่าผู้หญิง
  • พันธุกรรม: มีประวัติครอบครัวเป็นพาร์กินสัน
  • ผู้ที่อาศัยในนิคมอุตสาหกรรม สัมผัสหรือสูดดมสารเคมีบางชนิด เช่น แมงกานีส ทองแดง เป็นต้น
  • ผู้ที่ได้รับอาการบาดเจ็บทางศีรษะอย่างรุนแรง

ผู้ป่วยพาร์กินสัน ไม่ควรกินอะไร?

  • อาหารไขมันสูง ไม่ว่าจะเป็น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เป็นต้น 
  • อาหารแปรรูป อาหารหมักดอง 
  • อาหารที่มีรสจัด (เปรี้ยว เผ็ด เค็ม และหวาน)
  • อาการที่มีโปรตีนสูง ในกรณีที่ต้องทานยา เพราะโปรตีนจะเข้าไปรบกวนการดูดซึมของยา ส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้
  • กรณีที่มีการใช้ยารักษากลุ่ม Levodopa ควรหลีกเลี่ยงธาตุเหล็ก เนื่องจากธาตุเหล็กจะลดการดูดซึมยา

โดยผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาการที่มีเส้นใยสูงอย่างผัก และผลไม้ และแบ่งการรับประทานเป็นมื้อเล็ก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากความดันโลหิตต่ำ อย่างอาการเวียนหัวเป็นต้น

โรคพาร์กินสัน วิธีรักษา มีอะไรบ้าง? 

ปัจจุบัน พาร์กินสันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ปัจจุบัน พาร์กินสันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้

การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

โดยทั่วไป อาการของ Parkinson จะค่อย ๆ ทรุดลงเรื่อย ๆ จนกระทบกับคุณภาพชีวิตในที่สุด และที่สำคัญโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คนในครอบครัวหรือผู้ดูแลจึงควรทำความเข้าใจและคอยช่วยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

  • ช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย เพื่อป้องกันการเกิดข้อยึดติด ฝึกการทรงตัว เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุ การล้ม ปัญหาการกลืน การพูด
  • ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ เนื่องจากผู้ป่วยพาร์กินสันจะสามารถทำ กิจกรรมต่าง ๆ ได้ช้า จึงทำให้มักมีอาการท้องผูก
  • ทำความเข้าใจผู้ป่วยและคอยดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย เช่น ปัญหานอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านจิตใจ และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

โรคพาร์กินสัน วิธีป้องกัน มีอะไรบ้าง?

โรคพาร์กินสัน คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร อาการโรคพาร์กินสัน มีอะไรบ้าง โรคพาร์กินสัน สามารถรักษาให้หายได้ไหม

ถึงแม้ว่าทางการแพทย์จะยังไม่ทราบสาเหตุของโรค แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อชะลอการเสื่อมของเซลล์สมองและระบบประสาท เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป ทั้งนี้ หากสังเกตเห็นตนเองหรือคนในครอบครัวเริ่มมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วเท่าไรก็ยิ่งช่วยชะลอการพัฒนาระยะความรุนแรงของโรค และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย  

สำหรับผู้ที่สนใจรับบริการทำกายภาพบำบัดอย่างเข้มข้น เพื่อชะลอการความรุนแรงของโรค ควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  • ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์)
  • โทร : 080-910-2124
  • Line : PNKG
  • Facebook : PNKG Recovery and Elder Care

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับพาร์กินสัน

ผู้ป่วยพาร์กินสัน อยู่ได้กี่ปี?

โดยทั่วไป อาการของพาร์กินสันจะค่อย ๆ ทรุดลงเรื่อย ๆ โดยโรค Parkinson ระยะสุดท้ายเป็นระยะที่รุนแรงจนผู้ป่วยต้องอยู่ในสภาวะติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง แต่ยังไม่มีการวิจัยที่แน่ชัดว่าผู้ป่วยจะมีอายุต่อเฉลี่ยได้อีกกี่ปี ซึ่งระยะเวลาที่เหลืออยู่จะขึ้นอยู่กับการดูแล การทานอาหาร การทำกายภาพประกอบด้วยเช่นกัน

พาร์กินสัน อันตรายไหม? 

ขึ้นอยู่กับว่าคนไข้อยู่ในระยะไหนแล้ว ถ้าหากอยู่ในระยะแรก ๆ และเริ่มรักษา ฟื้นฟูร่างกายไว ก็จะชะลออาการให้เกิดช้าลง ร่างกายแข็งแรง แต่ยิ่งระยะสูง โอกาสที่อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นหรือความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุก็จะยิ่งมากตาม

พาร์กินสัน รักษาหายไหม?

พาร์กินสันเป็นโรคที่รักษาไม่หาย อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ (Progressive Disease) ซึ่งสิ่งที่จะคอยช่วยคงอาการผู้ป่วย คือ การทำกายภาพบำบัด โดยการทำกายภาพบำบัดจะชะลอการดำเนินโรคให้เป็นไปอย่างช้าที่สุด หากผู้ป่วยไม่ได้กายภาพบำบัด ฟื้นฟู หรือกินยาเลย ผู้ป่วยจะทรุดเร็ว ทำให้เข้าสู่ภาวะผู้ป่วยติดเตียงได้ไวขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า