โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก หรือ Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือดอันเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย และเป็นเหตุให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก
โรคหลอดเลือดสมอง (โรคสโตรก Stroke) คืออะไร?
โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือดอันเกิดจากการที่หลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย และเป็นเหตุให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ จากสถิติในประเทศไทยในรายงานปี 2562 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกว่า 34,728 คน (อ้างอิง: กรมควบคุมโรค, 28 ตุลาคม 64)
ลักษณะของโรคสโตรก
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke)
ถือเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ (80%) ของการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีผลให้ประสิทธิภาพการลำเลียงเลือดลดลง เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้:
- ลิ่มเลือดจากบริเวณอื่นไหลมาอุดตันที่หลอดเลือดสมอง
- ลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมองจนอุดตัน
- หลอดเลือดตีบจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด
เส้นเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke)
ภาวะนี้อันตรายและส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้:
- หลอดเลือดเปราะบางร่วมกับการมีภาวะความดันโลหิตสูง
- หลอดเลือดสมองสูญเสียความยืดหยุ่นอันเนื่องจากการสะสมของไขมัน ทำให้หลอดเลือดแตกได้
สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยของโรคหลอดเลือดสมองอาจแตกต่างกันไปตามรายบุคคล โดยอาจเกิดจากปัจจัยที่เลี่ยงไม่ได้ เช่น การเสื่อมของหลอดเลือดจากอายุที่มากขึ้น การแข็งตัวของเลือดที่เร็วกว่าปกติ หรือแม้กระทั่งเพศชายที่มีความเสี่ยงต่อโรคมากกว่าเพศหญิง
นอกจากนี้ ปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคและภาวะต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือภาวะไขมันในเลือดสูง ตลอดจนวิถีการใช้ชีวิต อย่างเช่น การสูบบุหรี่หรือการขาดการออกกำลังกาย
สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง
เมื่อสมองเกิดภาวะขาดเลือด จะส่งผลให้สมองไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ โดยอาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ ได้แก่:
- สูญเสียการทรงตัว
- มองเห็นภาพซ้อน ภาพเบลอ
- ใบหน้าอ่อนแรง มีอาการชา หรือปากเบี้ยว
- แขนขาอ่อนแรง หรือมีอาการชาครึ่งซีก
- พูดไม่ชัด พูดลำบาก
อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรือเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที
วิธีการรักษาและฟื้นฟูจากโรคหลอดเลือดสมอง
การรักษาอาจแตกต่างกันในแต่ละราย ขึ้นกับสาเหตุว่าเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก โดยเป้าหมายคือ:
- ทำให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ (กรณีหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน)
- ควบคุมปริมาณเลือดที่ออก (กรณีหลอดเลือดสมองแตก)
ในกรณีที่หลอดเลือดสมองแตก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง และการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก การฝึกเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์ (Motor Learning) ร่วมกับการฝึกความแข็งแรงทั่วไปจะช่วยนำความสามารถในการเคลื่อนไหวกลับมา
วิธีการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
- ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงและวางแผนดูแลสุขภาพแต่เนิ่น ๆ
- ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และระดับน้ำตาลในเลือด
- ควบคุมการรับประทานอาหาร เลี่ยงอาหารเค็ม หวาน หรือมันจัด
- งดหรือลดการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย:
นายแพทย์วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ (อายุรแพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ)
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่กับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพ อย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือ คลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ
บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน กระตุ้นความทรงจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
✔️ ใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
✔️ รักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ
✔️ มาตรฐานการรักษาจากญี่ปุ่น
#PNKG #ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ #บริการกายภาพบำบัด #สโตรก #ฟื้นฟูหลังผ่าตัด #กระตุ้นการกลืน #อัลไซเมอร์ #กล้ามเนื้ออ่อนแรง