PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) คือใคร? มีหน้าที่อะไร?

  • Home
  • บทความ
  • นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) คือใคร? มีหน้าที่อะไร?

นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) หรือที่รู้จักกันว่า “PT” ตามพรบ.วิชาชีพกายภาพบำบัด ปี พ.ศ.2547 กล่าวว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการทางร่างกายรวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยคำแนะนำของคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด

 

นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) คือใคร?

 

นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) หรือที่รู้จักกันว่า “PT” ตามพรบ.วิชาชีพกายภาพบำบัด ปี พ.ศ.2547 กล่าวว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการทางร่างกายรวม ทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยคำแนะนำของคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด

 

 

หรืออธิบายอย่างง่ายว่า คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ด้วยข้อจำกัดของปัญหาทางด้านร่างกายไม่ว่าจะมาจาก ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจและหัวใจ ระบบประสาท ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ และปัญหาด้านพัฒนาการ โดยการตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาด้าการเคลื่อนไหวนั้นๆ ด้วยการวิเคราะห์ปัญหาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยตามหลักการของชีวกลศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และทฤษฎีต่าง ๆ ผสมผสานให้เกิดตำแหน่ง และท่าทางการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมถูกต้อง ตั้งแต่การเคลื่อนย้ายบนเตียง การลุกยืน การเคลื่อนย้าย การทรงตัวในท่านั่งและยืน การเดินทั้งภายในและภายนอกสถานที่ สรุปและกำหนดเป็นแผนการดูแลรักษาร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว อีกทั้งยังติดตามผลการรักษาและประเมินซ้ำอย่างเป็นระบบ

 

 

รวมทั้งการบูรณาการการเคลื่อนไหวสู่การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวแต่ละราย อีกทั้งยังผลักดันให้เกิดการทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในสังคมให้ได้มากที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งในผู้ป่วยบางรายที่มีข้อจำกัด การใช้กายอุปกรณ์เสริมหรือกายอุปกรณ์เทียมก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้การเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น กระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ด้วยตนเองและลดระดับความต้องการการช่วยเหลือ เพิ่มโอกาสในการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ และการกลับไปมีส่วนร่วมในสังคม อันจะส่งผลต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้ป่วย ตลอดจนให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างยั่งยืนในอนาคต

หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

  • ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดวันอาทิตย์)
  • โทร : 080-910-2124
  • Facebook : PNKG Recovery and Elder Care
  • Line : PNKG

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า