PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

วิธีดูแล ฟื้นฟูผู้ป่วยสโตรก เส้นเลือดสมองแตก ตีบ ตัน

  • Home
  • บทความ
  • วิธีดูแล ฟื้นฟูผู้ป่วยสโตรก เส้นเลือดสมองแตก ตีบ ตัน

โรคหลอดเลือดสมอง แตก ตีบ ตัน หรือสโตรก (Stroke) คือ ภาวะที่การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองหรือภายในสมองถูกขัดขวาง ไม่ว่าจะเกิดจากการที่เส้นเลือด แตก ตีบ หรือตัน ที่ส่งผลให้สมองบางส่วนขาดออกซิเจน และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยสโตรกประสบปัญหา การเคลื่อนไหว การมอง การสื่อสาร การใช้ชีวิตประจำวัน การทำกายภาพบำบัดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นความสามารถของผู้ป่วยให้กลับมา มาดูวิธีดูแล ฟื้นฟูผู้ป่วยสโตรก 

ทำไมสโตรก ยิ่งเริ่มกายภาพเร็วยิ่งดี?

การทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยสโตรกนั้น สามารถเริ่มทำได้เมื่ออาการเริ่มทรงตัว และพ้นขีดอันตรายแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ (Early Mobilisation) ดังจะเห็นได้จากการทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองในประเทศญี่ปุ่นและในศูนย์ของเรา ที่ถึงผู้ป่วยที่ยังไม่ได้สติ แต่ร่างกายอยู่ในภาวะที่พร้อมก็เริ่มทำกายภาพได้แล้ว ซึ่งการทำเช่นนี้ ล้วนก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกายของผู้ป่วยเองทั้งสิ้น เช่น:

  • การสร้างเส้นทางใหม่ของสมอง เพื่อให้ทำงานแทนสมองส่วนที่ตายไปแล้ว (Neuroplasticity) การเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็ว จะช่วยให้การสร้างเส้นทางใหม่ของสมองเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ป้องกันการแข็งตัวของข้อต่อ เพราะการไม่เคลื่อนไหวร่างกายในส่วนที่อ่อนแรงเป็นเวลานาน จะทำให้ข้อต่อเกิดการแข็งตัว ขยับยาก และเมื่อปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการฝ่อตัวของกล้ามเนื้อ เกิดภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse Syndrome) และก่อให้เกิดภาวะติดเตียงตามมา
  • ลดความเสี่งของการเกิดแผลกดทับ การที่ผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าเดียยวเป็นเวลานาน อาจเกิดความเสี่ยงสูงที่จะทำให้มีแผลกดทับ การทำกายภาพบำบัดช่วยให้เกิดการเปลี่ยนท่าทาง จึงทำให้ลดแรงกดทับของผิวหนังได้
  • ปรับปรุงคุณภาพชีวิต การทำกายภาพบำบัดนอกจากจะช่วยเสริมความแข็งแรงให้ส่วนที่อ่อนแรงแล้ว ยังช่วยในทักษะการสื่อสาร คิด วิเคราะห์ ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถดูแลตัวเองได้มากขึ้น ใกล้เคียงปกติ
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า เมื่อผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น ลดความเครียดที่อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าลงได้

ฟื้นฟูผู้ป่วยสโตรก 3 สัปดาห์ แล้วกลับมาเดินได้

ไคโก-โดะ ฟื้นฟูด้วยปรัชญา ที่ดูแลทั้งกายและใจไปพร้อมกัน

ศาสตร์การฟื้นฟูจากญี่ปุ่นแบบองค์รวม ที่ว่าด้วยการพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก สนับสนุนให้ผู้ป่วยใช้ความสามารถที่ยังมีเหลือให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เน้นการฟื้นฟูทักษะที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีปรัชญาอิคิไก อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการฟื้นฟู

ขั้นตอนการฟื้นฟูแบบไคโก-โดะ (Kaigo-Do)

    1. ตรวจประเมินทางกายภาพ เพื่อให้ทราบถึงสภาวะร่างกายปัจจุบันของของผู้ป่วย ทั้งสิ่งที่ทำได้ดี และสิ่งที่มีปัญหา
    2. พูดคุยกับญาติ และผู้ป่วย เพื่อให้เข้าใจลักษณะการใช้ชีวิต จุดมุ่งหมาย ความต้องการ สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย และข้อจำกัดต่าง ๆ
    3. วางแผนการฟื้นฟู (Personalised Care Plan) ผู้เชี่ยวชาญจากสหวิชาชีพ เช่น นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด พยาบาล นักโภชนาการ เป็นต้น ทั้งทีมไทย และญี่ปุ่น ประชุมพูดคุยกันเพื่อวางแผนการฝึก จากนั้นนำมาพูดคุยกับญาติและผู้ป่วยอีกครั้ง เพื่อปรับให้เหมาะสม และตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ป่วยและญาติมากที่สุด
    4. เริ่มฝึก เมื่อแผนการฝึกได้รับการเห็นชอบกับทุกฝ่ายแล้ว ก็จะเริ่มต้นการฝึกตามตาราง ซึ่งในระหว่างนี้ หากผู้ป่วยรู้สึกตารางการฝึกเบา หรือหนักเกินไป สามารถปรับได้ตามขีดจำกัดความสามารถของผู้ป่วย
    5. ทดสอบ ในตารางการฝึก ทีมจะตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ เอาไว้ เมื่อฝึกจนถึงวันที่กำหนด จะมีการทดสอบสมรรถภาพของผู้ป่วย ว่าเป็นไปตามที่ทีมคาดการณ์ไว้หรือไม่ ทั้งทำได้ตามเกณฑ์ ดีกว่าเกณฑ์ หรือต่ำกว่าเกณฑ์ เพื่อปรับตารางการฝึกให้เหมาะสมในรอบถัดไป

จากเนื้อหาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การทำกายภาพบำบัดด้วยศาสตร์ ไคโก-โดะ นั้น เน้นไปที่การทำความเข้าใจ ผู้ป่วย และสิ่งรอบข้างเป็นหลัก ปรับ และพูดคุยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจ เพราะการฟื้นฟูที่ได้ผลลัพธ์อย่างยั่งยืน คือการที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ด้วยการพึ่งพาผู้อื่นให้น้อย และพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

หากท่านสงสัย สนใจ หรือกำลังมองหาศูนย์กายภาพที่เน้นการใช้ปรัชญาร่วมกับองค์ความรู้จากประเทศญี่ปุ่น สามารถติดต่อทีมงานของเราเพื่อให้คำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save