PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) หรือที่รู้จักกันว่า “PT” ตามพรบ.วิชาชีพกายภาพบำบัด ปี พ.ศ.2547 กล่าวว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการทางร่างกายรวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยคำแนะนำของคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) หรือที่รู้จักกันว่า “PT” ตามพรบ.วิชาชีพกายภาพบำบัด ปี พ.ศ.2547 กล่าวว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการทางร่างกายรวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยคำแนะนำของคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด หรืออธิบายอย่างง่ายว่า นักกายภาพบำบัด คือบุคคลที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ด้วยข้อจำกัดของปัญหาทางด้านร่างกายไม่ว่าจะมาจาก ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจและหัวใจ ระบบประสาท ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ และปัญหาด้านพัฒนาการ โดยการตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาด้าการเคลื่อนไหวนั้นๆ ด้วยการวิเคราะห์ปัญหาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยตามหลักการของชีวกลศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และทฤษฎีต่าง ๆ ผสมผสานให้เกิดตำแหน่ง และท่าทางการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมถูกต้อง  ตั้งแต่การเคลื่อนย้ายบนเตียง การลุกยืน การเคลื่อนย้าย การทรงตัวในท่านั่งและยืน การเดินทั้งภายในและภายนอกสถานที่ สรุปและกำหนดเป็นแผนการดูแลรักษาร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว …

นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) คือใคร? มีหน้าที่อะไร? Read More »

รู้หรือไม่? โรคหลอดเลือดสมองหรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ”สโตรก”    คือภัยเงียบที่แสนอันตรายและนับเป็น 1 ใน 5 ของโรคที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประเทศไทย!! “ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีจำนวนมากเพิ่มขึ้นเป็นได้ทุกเพศทุกวัย ความน่ากลัวของโรคคือเป็นภัยเงียบที่ไม่ส่งสัญญาณล่วงหน้า ในทุก 6 วินาที นั้นจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไปแล้ว 1 คน มีผู้ป่วยใหม่ 13.7 ล้านคน เสียชีวิตร้อยละ 5 พิการร้อยละ 70 ในบริบทประเทศ โรคหลอดเลือดสมองยังคงเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศไทย รวมถึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของจำนวนผู้สูงอายุที่สูงขึ้นในทุกปี” – นายแพทย์ วุธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ – มาตรฐานการฟื้นฟู(กายภาพ) “ไทย” สู่ “สากล”   จากการศึกษาของคุณ ยูกิ ฟุรุยะ ผู้อำนวยการศูนย์ PNKG Recovery center ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาและการศึกษาวิจัยศูนย์ฟื้นฟูมากกว่า 1,000 แห่งในบริเวณพื้นที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีอันดับ 6 ของโลกจาก …

โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)ฟื้นฟูและกายภาพอย่างไรให้กลับมาใกล้เคียงเดิมให้ได้มากที่สุด? Read More »

รู้หรือไม่? ผู้ป่วยสโตรกเดินไม่ได้อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากการอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว แต่อาจะเป็นเพราะ “ผู้ป่วยหลงลืมวิธีการเดินแบบปกติไปแล้ว!!” เพราะรอยบาดแผลของกลุ่มผู้ป่วยคือ “สมอง”   ต้องเกริ่นก่อนว่า บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บของผู้ป่วยสโตรกคือบริเวณสมอง และมีโอกาสที่อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะไปกระทบในส่วนของความจำและการควบคุมการสั่งการของร่างกายในการเคลื่อนไหว นั่นจึงเป็นสาเหตุที่การฝึกพละกำลังของกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการดูแลฟื้นฟู ดังนั้น ผู้ป่วยสโตรกควรมีการฝึก เรียนรู้ผ่านระบบประสาทยนต์ (Motor Learning) หรือ ฝึกเพื่อให้สมองได้เรียนรู้วิธีการสั่งงานการเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมชาตินั่นเอง   Motor learning ความหมายของการเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์   โดยปกติแล้ว การเคลื่อนไหวของมนุษย์มีการถูกควบคุมทั้งแบบที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจโดยจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยรอบอยู่แล้ว ซึ่งระบบประสาทส่วนกลางที่อยู่ในสมองและตัวรับรู้ความรู้สึกจะทำงานร่วมกันเป็นผลให้เกิดการเคลื่อนไหวนั่นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากในการเรียกกระบวนการการควบคุมเหล่านี้กลับมาโดยการฝึกซ้ำไปซ้ำมา เรียนรู้แล้วเรียนรู้อีกจนสมองสามารถจดจำกระบวนการเหล่านี้ได้ ผู้ป่วยสโตรกเหมือน “เด็กแรกหัดเดิน”   ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆเช่น ในตอนเป็นเด็กนั้น เราคงไม่สามารถที่จะเล่นเปียโนได้ หรือปั่นจักรยานได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มฝึก เราจำเป็นต้องมีการฝึกซ้ำไปซ้ำมา ลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นความชำนาญในที่สุด เหตุผลเป็นเช่นนั้นเพราะว่า สมองจะได้มีการจดจำวิธีการที่จะเคลื่อนไหวอย่างไรให้ราบรื่นและชำนาญ ซึ่งกระบวนการทางสมองนี้แหละที่เรียกว่า การเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์ หรือ Motor learning โดยผู้ป่วยสโตรกส่วนใหญ่จะสูญเสียความทรงจำตรงนี้ไป จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการใช้ทฤษฏีการฝึกเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์หรือ Motor Learning ร่วมด้วยกับการฝึกความแข็งแรงทั่วไป ในการนำความสามารถในการเคลื่อนไหวกลับมานั่นเอง หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and …

ฝึกผู้ป่วยสโตรก(Stroke) ด้วย Motor Learning – เคล็ดลับสำคัญที่เราใส่ใจ Read More »

การพับกระดาษ (โอริกามิ) กิจกรรมสร้างสรรค์ ที่ช่วยฟื้นฟูในผู้สูงอายุ โอริกามิ ศิลปะการพับกระดาษเป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยคำว่าโอริ (折り) แปลว่าพับ ส่วนกามิ (紙) แปลว่ากระดาษ หนึ่งในกิจกรรมยามว่างที่มีประโยชน์ต่อทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะนอกเหนือจากการเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย และได้ใช้จินตนาการแล้ว การทำโอริกามิยังมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อมือ และสายตา มีงานวิจัยพบว่า การทำโอริกามิช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อมือ หลังได้รับบาดเจ็บหรือเข้ารับการผ่าตัด ช่วยให้สามารถควบคุมการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อมือได้ ยิ่งไปกว่านั้น การทำ โอริกามิ ยังมีส่วนช่วยประคองความคิดให้จดจ่อกับสิ่ง ๆ หนึ่ง ตลอดจนช่วยพัฒนาทักษะทางด้านจิตใจอีกด้วย รู้หรือไม่ ? ตามความเชื่อญี่ปุ่นโบราณ การทำโอริกามิเป็นรูปนกกระเรียน 1,000 ตัว จะได้รับการอวยพรจากนกกระเรียน (สัตว์นำโชค เช่นเดียวกับมังกร และตะพาบ) ให้มีชีวิตยืนยาว 1,000 ปี หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และสมหวังดังปรารถนา ถือเป็นอีกหนึ่งในของขวัญยอดนิยมที่ชาวญี่ปุ่นจะมอบให้กัน PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน กระตุ้นความทรงจำ …

การพับกระดาษ (โอริกามิ) กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ช่วยฟื้นฟูผู้สูงอายุ Read More »

  รู้หรือไม่? ที่ PNKG เราให้ความสำคัญกับการตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้นเป็นอย่างมาก เพราะกระบวนการนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการวางแผนการฟื้นฟูอย่างถูกวิธี    เพราะฉะนั้นการตรวจประเมินร่างกายที่ PNKG จึงต้อง “ละเอียด” โดยทีมนักบำบัดจะใส่ใจในวิธีการตรวจประเมิน รวมไปถึงรายละเอียดต่างๆในทุกขั้นตอน เพราะข้อมูลทั้งหมดจากกระบวนการนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การวางแผนการรักษาในลำดับต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน   การตรวจประเมินร่างกายที่ PNKG ดีออย่างไร?   1). การประเมินใน “ทุกมิติ”  PNKG ใช้มาตรฐานสากลในการมองผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยอธิบายมิติของผู้ป่วยตามการทำงานของร่างกาย โครงสร้างของร่างกาย กิจกรรม การมีส่วนร่วมทางสังคม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงปัจจัยเฉพาะบุคคล หรือ ICF model (International Classification of Functioning, Disability and Health) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สร้างขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) นำไปสู่วิธีการวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยอย่างครอบคลุม 2). การค้นหา “ปัญหาที่แท้จริง”  วิเคราะห์ปัญหาและออกแบบแผนการรักษาอย่างละเอียดตามแบบฉบับของ PNKG โดยทีมนักบำบัดที่มีประสบการณ์จากทั้งทีมไทยและญี่ปุ่น ที่เราไม่ได้ใส่ใจในการฟื้นฟูให้ “ดีขึ้น” เพียงอย่างเดียว แต่เราต้องการให้ผู้ป่วย …

การตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้นสู่การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนที่ PNKG Read More »

  รู้หรือไม่?? การตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้นนั้นสำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่การฟื้นฟูอย่างก้าวกระโดด.   การตรวจประเมินร่างกายก่อนเข้ารับการฟื้นฟูถือเป็นขั้นตอนแรกสำหรับผู้ป่วยทุกคนที่ต้องการเข้ารับการรักษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ความสามารถและวางแผนการฟื้นฟูเฉพาะบุคคล การตรวจประเมินร่างกายจึงนับว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญและเป็นขั้นตอนที่สามารถกำหนดอนาคตของผู้ป่วยได้เลยว่าผู้ป่วยจะมีพัฒนาการมากน้อยเพียงใดตลอดขั้นตอนของการฟื้นฟู   การทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพและนักบำบัด ณ ปัจจุบัน          โดยส่วนมากแล้วในด้านการทำงาน นักบำบัดจะนำคำวินิจฉัยโรคและขอบเขตการบำบัดจากแพทย์ และนำมาประกอบการออกแบบแผนการฟื้นฟูตามความรู้และความสามารถเฉพาะทางของนักบำบัด        ซึ่งปัญหาในหลายๆเคสนั้น นักบำบัดไม่มีโอกาสได้ทำการออกแบบและวางแผนการฟื้นฟูได้โดยละเอียด หรือไม่สามารถทำการฟื้นฟูได้ตามแผนที่วางไว้เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ปริมาณของผู้ป่วยในความรับผิดชอบ และนักบำบัดบางส่วนยังขาดสิทธิในการตัดสินใจในการรักษาด้วยตนเอง ทำให้ประสิทธิภาพในการฟื้นฟูและความสามารถของผู้ป่วยไม่สามารถพัฒนาไปจนถึงจุดสูงสุดได้ ถึงแม้ว่านักบำบัดจะมีการทำงานร่วมกันกับสหวิชาชีพ แต่หากนักบำบัดไม่สามารถเก็บรายละเอียดของผู้ป่วยหรือไม่เข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาของผู้ป่วยออย่างลึกซึ้ง ก็จะส่งผลให้แผนการรักษาไม่มีประสิทธิภาพได้เท่าที่ควร       ดังนั้นแล้วการตรวจประเมินร่างกายอย่างละเอียดจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูที่มีความสำคัญอย่างมากและ”ไม่ควรมองข้าม” อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดว่าการเข้ารับการบำบัดในขั้นตอนต่อไปจะมีประสิทธิภาพมากน้อยขนาดไหนนั่นเอง.   หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – …

รู้หรือไม่?? การตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้นนั้นสำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่การฟื้นฟูอย่างก้าวกระโดด
 Read More »

“ศูนย์ฟื้นฟู VS ศูนย์บริบาลหรือบ้านพักคนชรา เลือกสถานบริบาลอย่างไรให้เหมาะสมกับคนที่คุณรัก” ในปัจจุบันเราแทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสังคมประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2561 จากการอ้างอิงของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หมายถึงประเทศไทยจะมีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ10 ของประชากรทั้งหมด โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลง อีกทั้งยังมีปัญหาสุขภาวะจากโรคประจำตัว ร่วมกับภาวะเปราะบางหรือทุพพลภาพในผู้สูงอายุบางรายร่วมด้วย ส่งผลให้บางครอบครัวมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการให้การดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มดังกล่าวประกอบกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชากรที่เป็นครอบครัวเดี่ยว ฉะนั้นการหาสถานที่ในการให้การช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แต่การจะเลือกสถานบริบาลแต่ละที่นั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคนเสมอไป ดังนั้นวันนี้เราจึงจะมาคุยถึงแนวทางการเลือกสถานบริบาลที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและปัญหาของพวกท่าน สถานบริบาลในอุดมคตินั้นควรจะเป็นสถานที่สนับสนุนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในขณะที่ไม่เป็นการจำกัดความสามารถของผู้สูงอายุ อีกทั้งยังต้องสนับสนุนและช่วยเหลือในส่วนที่พวกท่านนั้นบกพร่อง แต่ในปัจจุบัน (มีนาคม 2566) สถาบริบาลที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับกระทรวงสาธารณสุขมีมากกว่า 786 แห่ง และกระจุกตัวอย่างมากในสังคมเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพและปริมณฑล ดังนั้นการเลือกสถานบริบาลที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละรายจึงเป็นอีกสิ่งที่ควรพิจารณาก่อนจะพาผู้สูงอายุที่ท่านรักไปรับการดูแลตามสถานบริบาลนั้นๆ เกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาคือความความรุนแรงของปัญหาที่ผู้ป่วยเป็น อันแสดงออกถึงความสามารถของผู้สูงอายุ ซึ่งปกติหลังจากภาวะผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีภาวะบาดเจ็บหรือได้รับการรักษาในระยะเฉียบพลัน(Acute phase) จะมีปัญหาทางพยาธิสภาพที่คงที่ และสามารถกลับมาพักฟื้นที่บ้านด้วยการดูแลของครอบครัวได้ ในระยะนี้จะถือว่าเป็นระยะฟื้นฟู (Recovery phase) ในระยะนี้ ร่างกายจะมีความสามารถที่ด้อยกว่าภาวะปกติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยคืนความสามารถให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดตามเเต่ข้อจำกัดของผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งความแข็งแรงทางร่างกาย ตลอดจนการรับรู้ความเข้าใจ ให้มีความสามาถเพียงพอต่อการทำกิจกรรมพื้นฐานและสามารถลดระดับความช่วยเหลือจากรอบข้าง ซึ่งหากพ้นจากระยะฟื้นฟูแล้วผู้ป่วยจะมีอัตราการพัฒนาที่ช้าลงและเข้าสู่ระยะคงความสามารถ (Maintenance phase) ซึ่งจะเป็นการปรับใช้ความสามารถที่มีกับการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งระยะของผู้ป่วยแต่ละรายและความรุนแรงนี้ก็มีผลต่อการเลือกสถานบริบาลเนื่องจากจุดประสงค์ของการดูแลที่แตกต่างกัน อีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกสถานบริบาลคือแรงจูงใจของผู้ป่วยต่อการช่วยเหลือตนเองรวมถึงทัศนติต่อการกลับมาช่วยเหลือตนเอง เนื่องจากเป็นประเด็นหลักที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการฟื้นฟูตามแต่ละระยะ หากเราทราบปัจจัยทั้งสองส่วนนี้และจะสามารถนำมาเป็นกรอบในการพิจารณาชนิดของสถานบริบาลตามแผนภาพได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 …

“ศูนย์ฟื้นฟู VS ศูนย์บริบาลหรือบ้านพักคนชรา เลือกสถานบริบาลอย่างไรให้เหมาะสมกับคนที่คุณรัก” Read More »

ทำความรู้จัก ‘สังคมผู้สูงอายุ’ พร้อมเรียนรู้วิธีการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี   หลายคนอาจเคยได้ยินได้ฟังกันมาว่า ประเทศไทยของเรากำลังเข้าสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุ’ ทว่า อาจยังไม่เข้าใจว่า สังคมผู้สูงอายุนั้นคืออะไร โดยวันนี้ ทางศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุ ผ่านบทสัมภาษณ์ กภ.เสกศิษฎ์ เกตุโต หัวหน้านักกายภาพบำบัด ประจำศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ของเรา ให้ทุกคนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน !   สังคมผู้สูงอายุ คืออะไร ? ‘สังคมผู้สูงอายุ’ (Aging Society) คือสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด …

ทำความรู้จัก ‘สังคมผู้สูงอายุ’ พร้อมเรียนรู้วิธีการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี Read More »

https://pnkg-recoverycenter.com/wp-content/uploads/2023/02/testimonial-case13-2.mp4 ผลการฟื้นฟูของคุณ Saw May Aung คุณ Saw ผู้ป่วยชาวต่างชาติ ประสบอุบัติเหตุทำให้ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่งผลให้มีความยากลำบากในการเดิน การทรงตัว และการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยต้องอาศัยการช่วยเหลือจากผู้ดูแลในระดับสูงตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเริ่มแรกผู้รับบริการเดินได้ในระยะทางสั้นๆ ภายในบ้านโดยใช้ walker แต่หลังจากเข้ารับการประเมินและฟื้นฟูกับทางศูนย์ PNKG ภายในระยะเวลา 2 เดือน ตามแผนการฟื้นฟูที่สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้รับบริการและครอบครัว ร่วมกับการใช้กายอุปกรณ์เสริม ผู้รับบริการสามารถเดินได้อย่างอิสระมากขึ้นด้วยการลดความช่วยเหลือจากอุปกรณ์เดิมเป็นไม้ค้ำยันระดับแขน (loft stand crutches) สามารถช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันของตนเองในบริเวณในบ้านได้อย่างอิสระมากขึ้น และลดระดับความช่วยเหลือจากผู้ดูแลจากระดับสูง เป็นระดับเล็กน้อยเท่านั้น (Maximal assistance to minimal assistance) ทั้งนี้ผู้รับบริการกล่าวว่า “รู้สึกดีใจมาก ที่ได้กลับมาใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองมากขึ้น หลังจากที่ใช้ชีวิตบนเตียงและมีคนดูแลคอยช่วยเหลือมาเป็นเวลานาน” โดยหลังจากกลับประเทศไปผู้รับบริการสามารถออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนๆและครอบครัวของตนเองนอกสถานที่ได้ ภายใต้การช่วยเหลือเล็กน้อย พร้อมทั้งการติดตามดูแลผ่านระบบออนไลน์ของทางศูนย์ฯเป็นระยะ https://pnkg-recoverycenter.com/wp-content/uploads/2023/02/training-case13.mp4 หลังจากกลับไปอยู่ที่บ้านเป็นระยะเวลา 4 เดือนผู้รับบริการสามารถนำแผนการดูแลและแผนการออกกำลังกายที่ทางศูนย์ฯ กำหนดให้เป็นรายบุคคลไปปฏิบัติตามจนคงระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันไว้ได้ อีกทั้งยังเพิ่มความมั่นคงในการเดินเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่ข้อจำกัดด้านความสามารถทางร่างกายประกอบกับระดับความสามารถในการสนับสนุนของครอบครัว เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้รับบริการตัดสินใจกลับมาเข้ารับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องอีก 3 เดือน จนปัจจุบันผู้รับบริการสามารถช่วยเหลือตนเองได้เกือบทั้งหมด ภายใต้การช่วยเหลือในระดับการเฝ้าระวังความปลอดภัยเท่านั้น …

สัมภาษณ์ คุณ Saw (ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บไขสันหลังจากประเทศเมียนมาร์) Read More »

กายภาพบำบัด คือ การตรวจประเมิน วินิจฉัย และบำบัดความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดจากภาวะของโรคและการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ รวมทั้งป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เมื่อร่างกายแข็งแรง สภาพจิตใจก็ดีขึ้นตามไปด้วย เป้าหมายของการทำกายภาพบำบัด คือ เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยกลับมามีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายหรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางประเภทอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูนาน ขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และอายุของผู้ป่วย เป็นต้น จุดมุ่งหมายของการทำกายภาพบำบัด แบ่งออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่ 1. ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายการหลังจากผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่าง ๆ ควรได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บ โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อต่อยึดติด เพราะยิ่งคนไข้นอนอยู่บนเตียงนานเท่าไหร่ ยิ่งสูญเสียแรงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หลังจากที่ผู้ป่วยผ่าตัดเสร็จ แผลปิดสนิท ผู้ป่วยรู้ตัวดี อาจสามารถเริ่มทำกายภาพบำบัดได้เลย เช่น การพาลุกขึ้นนั่งบนเตียง ยกขาสูง ขยับแขน-ขา เพื่อไม่ให้นอนบนเตียงยาว ๆ อย่างไรก็ตาม นักกายภาพบำบัดจะประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมและเคลื่อนไหวร่างกายได้มาก-น้อยแค่ไหน 2. รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรัง …

4 วิธีเลือกศูนย์กายภาพบำบัดให้เหมาะกับผู้ป่วย Read More »