PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)ฟื้นฟูและกายภาพอย่างไรให้กลับมาใกล้เคียงเดิมให้ได้มากที่สุด?

  • Home
  • ข่าวสาร
  • โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)ฟื้นฟูและกายภาพอย่างไรให้กลับมาใกล้เคียงเดิมให้ได้มากที่สุด?

รู้หรือไม่? โรคหลอดเลือดสมองหรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ”สโตรก”    คือภัยเงียบที่แสนอันตรายและนับเป็น 1 ใน 5 ของโรคที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประเทศไทย!!

“ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีจำนวนมากเพิ่มขึ้นเป็นได้ทุกเพศทุกวัย ความน่ากลัวของโรคคือเป็นภัยเงียบที่ไม่ส่งสัญญาณล่วงหน้า ในทุก 6 วินาที นั้นจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ไปแล้ว 1 คน มีผู้ป่วยใหม่ 13.7 ล้านคน เสียชีวิตร้อยละ 5 พิการร้อยละ 70 ในบริบทประเทศ โรคหลอดเลือดสมองยังคงเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศไทย รวมถึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของจำนวนผู้สูงอายุที่สูงขึ้นในทุกปี”

– นายแพทย์ วุธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ –

มาตรฐานการฟื้นฟู(กายภาพ) “ไทย” สู่ “สากล”

 

จากการศึกษาของคุณ ยูกิ ฟุรุยะ ผู้อำนวยการศูนย์ PNKG Recovery center ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาและการศึกษาวิจัยศูนย์ฟื้นฟูมากกว่า 1,000 แห่งในบริเวณพื้นที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีอันดับ 6 ของโลกจาก 89 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังมีความพร้อมในด้านของความต้องการ (Demand) กล่าวคือจำนวนของผู้ป่วยที่ต้องการได้รับการฟื้นฟูที่มีคุณภาพ แต่อาจจะยังขาดผู้ให้บริการในการฟื้นฟูที่ได้มาตรฐานในระดับสากล หากได้รับการพัฒนาคุณภาพและมารตฐานการฟื้นฟูเพิ่มเติม ก็จะสามารถที่ตั้งตัวเป็นหมุดหลักของสถานที่ฟื้นฟูที่ดีที่สุดใน South East Asia ได้ไม่ยาก และด้วยเหตุผลนี้เองคุณยูกิจึงได้นำหลักการฟื้นฟูผู้ป่วยแบบ Holistic หรือการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม รวมถึงแนวความคิด ความรู้ บุคคลากร เทคนิค ในการฟื้นฟูผู้ป่วยมาตั้งเป็นปณิธานในการก่อตั้งศูนย์ฟื้นฟู PNKG Recovery center ที่ประเทศไทย

“สโตรก” สามารถฟื้นฟูให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุดได้ หากได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกวิธีและตรงจุด

 

การฟื้นฟู(กายภาพและกิจกรรมบำบัด)ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามมาตรฐานสากลและศูนย์ PNKG มีดังนั้น

 

1.การพาผู้ป่วยเคลื่อนไหวหลังผ่านช่วงวิกฤต (Acute Phase) ภายใน 24-48 ชั่วโมง

 

การนำผู้ป่วยขยับออกจากเตียงนับเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในการเริ่มต้นรักษาผู้ป่วยสโตรก, จากงานวิจัยบอกไว้ว่า การเริ่มการฟื้นฟูแบบเร่งด่วนและฉับพลันจะเพิ่มอัตราการฟื้นฟูของผู้ป่วยได้.

จากข้อแนะนำดังกล่าว เราจึงควรที่จะนำผู้ป่วย ลุกขึ้นนั่งหรือขยับออกจากเตียงภายใน 24 ถึง 28 ชั่วโมงหลังจากหลังจากเริ่มมีอาการสโตรกเพื่อเรียกสติ หรือ  Consciousness ของผู้ป่วยกลับมาและพร้อมสำหรับการฝึกให้ได้ไวที่สุด

จากหลักฐานงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า การนำผู้ป่วยมานั่งตั้งแต่เนิ่นๆหรือลุกอออกจากเตียงได้รับการพูดถึงและสนับสนุนอยู่มาก 

แหล่งที่มา:Early mobilization in acute stroke phase: a systematic review https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34927568/

Early mobilization post-stroke: a systematic review and meta-analysis of individual participant data https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32673130/

2.การเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์ หรือ Motor learning

 

โดยปกติแล้ว การเคลื่อนไหวของมนุษย์มีการถูกควบคลุมทั้งแบบที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจโดยจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยรอบอยู่แล้ว ซึ่งระบบประสาทส่วนกลางที่อยู่ในสมองและตัวรับรู้ความรู้สึกจะทำงานร่วมกันเป็นผลให้เกิดการเคลื่อนไหว.นั่นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากในการเรียกกระบวนการการควบคลุมเหล่านี้กลับมาโดยการฝึกซ้ำไปซ้ำมา เรียนรู้แล้วเรียนรู้อีกจนสมองได้เรียนรู้กระบวนการเหล่านี้ได้.

ยกตัวออย่างให้เห็นภาพง่ายๆเช่น ในตอนเป็นเด็กนั้นเราคงไม่สามารถที่จะเล่นเปียโนได้ หรือปั่นจักยานได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มฝึก เราจำเป็นต้องมีการฝึกซ้ำไปวนมา ลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นความชำนาญในที่สุด เหตุผลเป็นเพราะว่า สมองได้มีการจดจำวิธีการที่จะเคลื่อนไหวอย่างไรให้ราบรื่นและชำนาญ ซึ่งกระบวนการทางสมองนี้แหละที่เรียกว่า การเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์ หรือ Motor learning โดยผู้ป่วยที่เป็นสโตรกส่วนมากจะสูญเสียความจำและความสามารถตรงนี้ไป นั่นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากในการใช้ทฤษฎีการฝึกการเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์ หรือ Motor leaning ในการเรียกความสามารถในการเคลื่อนไหวกลับมา.


ความหมายของการเรียนรู้ผ่านประสาทยนต์   https://pnkg-recoverycenter.com/motor-learning-theory/

เด็กฝึกเล่นเปียโนโดยเป็นการฝึก Motor learning ไปด้วย

3. กายฝึกด้านกายภาพ

การฝึกความแข็งแรงทางร่างกาย, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, องศาการเคลื่อนไหว และการทำงานประสานสัมพันธ์ของร่างกาย ทั้งหมดนี้นั้นล้วนมีความจำเป็นในการพัฒนาทักษะความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น และเราจะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ ความหนัก และปริมาณของการฝึกดังกล่าวให้สัมพันธ์และเหมาะสมกับความบกพร่องของร่างกายในส่วนนั้นๆของผู้ป่วย

ยกตัวอย่าง : การออกกำลังกายท่าคุกเข่า

 

4. การฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน หรือ Activities of Daily Living (ADL)


นอกเหนือจากการฝึกความแข็งแรงของร่างกายแล้ว การฝึกการทำกิจวัตรประจำวันก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อผู้ป่วยสโตรกอย่างมากเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การฝึกรับประทานอาหาร และ การฝึกเข้าห้องน้ำ เป็นต้น

กิจกรรมต่างๆข้างต้นเหล่านี้เป็นการฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง และกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างใกล้เคียงปกติมากที่สุด นอกจากนี้ การเตรียมสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องหารือกันเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วย สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างลื่นไหลและมีประสิทธิภาพที่บ้านนั่นเอง.


นอกจากนี้ ทางศูนย์ไม่เพียงคำนึงถึงในส่วนของการพัฒนาความสามารถของผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่เราจะมีการสอนและอธิบายถึงวิธีการดูแลผู้ป่วยให้กับครอบครัวหรือผู้ดูแลร่วมด้วย เพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ยกตัวอย่าง:การฝึกเข้าห้องน้ำ 

5. การฝึกความคิดความเข้าใจ หรือ Cognitive Fuction Training

ในการรักษาฟื้นฟูการรับรู้ความเข้าใจนั้นสามารถนิยามได้ว่าเป็น “ระบบการรักษาที่วางเป้าหมายในการพัฒนาสมองในส่วนของความคิดและความเข้าใจ”

วิธีการรักษา: 

1) นำความสามารถ รวมไปถึงรูปแบบและวิธีการในการทำกิจวัตรประจำวันที่ผู้ป่วยเคยทำและเรียนรู้ก่อนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสโตรกกลับมา 

2) สร้างพื้นฐานรูปแบบความสามารถและพฤติกรรมใหม่ เพื่อชดเชยในส่วนของระบบประสาทที่เสียไป โดยให้การช่วยเหลือจากภายนอกและการปรับสภาพแวดล้อมในการฝึกและการสนับสนุน

3) ปรับเปลี่ยนและดัดแปลงวิธีการในการฝึกและการใช้ชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับข้อบกพร่องทางความคิดและความเข้าใจของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ได้มากที่สุด.


กล่าวได้ว่า ข้อบกพร่องของความคิดและความเข้าใจนั้นค่อนข้างกว้างและเกิดจากหลายสาเหตุมากๆ ดังนั้นกระบวนการฟื้นฟูรักษาที่กล่าวไปข้างต้นจะถูกปรับเปลี่ยนและประยุกต์อย่างแตกต่างกัน เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายที่ไม่เหมือนกัน


ยกตัวอย่างเช่น

6.การฝึกโดยการเจาะจงข้างที่อ่อนแรงหรือ Constraint-induced Therapy 

Constraint-induced therapy เป็นการฝึกมือในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก โดยมือข้างที่แข็งแรงของผู้ป่วยจะถูกจำกัดไม่ให้สามารถเคลื่อนไหวหรือออกแรงช่วยได้ และผู้ป่วยจะได้รับการฝึกโดยเน้นไปที่มือข้างอ่อนแรงนั่นเอง

การฝึกมือโดยวิธีการนี้ สามารถช่วยฟื้นฟูการทำงานของมือในการเอื้อม หยิบและจับได้แต่วิธีการนี้ มักเห็นผลได้ชัดเจนในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงในระดับที่ไม่รุนแรงมาก อีกทั้งยังต้องมีความแข็งแรง รวมไปถึงความคิดความเข้าใจที่มากพอสำหรับการเข้ารับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่

 

7.การฝึกโดยใช้กายอุปกรณ์

 

เป้าหมายของการฝึกโดยใช้กายอุปกรณ์


 

กายอุปกรณ์ส่วนแขน: ช่วยป้องกันการผิดรูปของข้อต่อ, ป้องกันการเกิดอาการปวดหรือบาดเจ็บ และป้องกันการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่ไม่ต้องการให้เคลื่อนไหว


กายอุปกรณ์ส่วนขา:ช่วยในการปรับรูปแบบการเดินให้ใกล้เคียงกับการเดินปกติมากขึ้น และช่วยป้องกันการผิดรูปของข้อต่อ
อีกทั้ง การฝึกการออกกำลังกายโดยใช้กายอุปกรณ์ ยังถูกพิจารณาว่าเป็นวิธีการรักษาของการทำงานที่มีความบกพร่อง = การทำงานและโครงสร้างที่มีความผิดปกติ

ซึ่งกายอุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้น นับว่าเป็นเครื่องมือบำบัดที่มีประสิทธิภาพสำหรับรักษาฟื้นฟู (เช่นเดียวกันกับการใช้หุ่นยนต์) แต่จะมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนในส่วนของค่าใช้จ่าย สามารถสั่งทำเฉพาะบุคคลเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

วิธีการและบทความที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น คือหลักการฟื้นฟูกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระดับสากลที่มีมาตรฐานและเป็นหลักการที่ศูนย์ PNKG recovery center ของเราได้นำมาใช้ในการฝึกผู้ป่วยของเราจริงผนวกกับการนำเอาอัตลักษณ์และหลักแนวคิดการฟื้นฟูแบบ “ไคโกะ-โดะ” แนวคิดการรักษาแบบไคโกะ-โดะ มาเป็น Concept หลักในการตั้งเป้าหมายให้กับผู้ป่วยในแต่ละคน ซึ่งหากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการฟื้นฟูที่ถูกต้องและได้มาตรฐานเหล่านี้ เราก็มั่นใจว่าผู้ป่วยจะสามารถมีพัฒนาการที่เห็นได้ชัดและสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ใกล้เคียงเดิมได้มากที่สุดนั่นเอง

หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือ คลิกที่นี่เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ต้องการคำแนะนำด้านการฟื้นฟูทางกายภาพ

Related Article