พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู คืออะไร? มีบทบาทสำคัญอย่างไรกับผู้ป่วย
พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู คืออะไร? เจาะลึกหน้าที่พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีบทบาทสำคัญอย่างไรกับการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วย? ทำความรู้จักพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู หนึ่งในแกนหลักสำคัญของศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พร้อมไขข้อสงสัยทีมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีความรู้และความเชี่ยวชาญเรื่องอะไร? ทำงานร่วมกับใครบ้าง? PNKG Recovery and Elder Care รวมคำตอบมาให้แล้วที่นี่
พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Nurses) คืออะไร?
พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู คือ ฝ่ายที่ทำหน้าที่ดูแลครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ให้คำแนะนำต่าง ๆ กับผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งด้านคุณภาพชีวิต ความมั่นใจ และเตรียมผู้ป่วยให้มีความพร้อมต่อการทำกายภาพบำบัดต่อไป และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการฟื้นฟูด้วย
พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีบทบาทสำคัญอย่างไรกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
นอกจากทีมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวแล้ว พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู ยังเป็นหนึ่งในแกนหลักสำคัญที่จะช่วยให้ผลลัพธ์การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
การสนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์
- สร้างกำลังใจและแรงจูงใจในการทำกายภาพฟื้นฟู
- ซัพพอร์ตด้านจิตใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการทำกายภาพบำบัด
- ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลได้อย่างตรงจุด
ภาพรวมในการดูแลผู้ป่วย
- ดูแลผู้ป่วย และครอบครัวอย่างใกล้ชิด พร้อมประสานงานกับทีมสหวิชาชีพ
- ช่วยให้การดูแลด้านร่างกาย ครอบครัว สภาพแวดล้อม ให้ซัพพอร์ตต่อการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
บริการพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูของทาง PNKG แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร?
ทีมบริการพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือฝ่ายพยาบาลและการดูแล (Care Team) ของทาง PNKG Recovery Center and Elder Care จะประกอบไปด้วยพยาบาล ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา เนื่องจาก ทีมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นผู้ติดตามผลการฟื้นฟูในทางปฏิบัติ ประสานงานร่วมกับทีมนักบำบัด นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด ในการปรับแผนการดูแลให้สอดคล้องกับความสามารถของผู้ป่วยแบบรายบุคคล โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เช็กประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด
- ซักประวัติสุขภาพอย่างละเอียด ทั้งสุขภาพจิต โรคประจำตัว เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหารวมทั้งข้อห้ามข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วย
- สิ่งที่ผู้ป่วยและครอบครัวคาดหวังจากการฟื้นฟู เพื่อค้นหาแรงจูงใจ เป้าหมาย หรือกิจกรรมที่เป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาของปัญหาจากการทำกิจวัตรประจำวัน
ซัพพอร์ตการฟื้นฟู ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- นอกจากนี้ ทีมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูยังสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อวิเคราะห์อุปสรรคที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูของผู้ป่วย ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ
- ประสานงานทั้งต่อทีมนักกายภาพบำบัด แพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแผนการดูแลและฟื้นฟูให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวแบบรายบุคคล ผ่านตารางการฝึกในแต่ละสัปดาห์ เพื่อผลลัพธ์การฟื้นฟูที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
สานต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในระยะยาว
- เมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล ทางทีมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะมีการติดตามการปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน เพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมและการเคลื่อนไหวที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย
- โดยการฝึกทั้งหมดจะกำหนดตามข้อจำกัดทางร่างกายของผู้ป่วย โดยมีครอบครัวคอยช่วยหลือและซัพพอร์ต เพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด
บริการพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู เหมาะกับใครบ้าง?
บริการพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูตอบโจทย์และเหมาะสมกับการดูแลผู้ป่วยหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการทำงาน
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสันโรคระบบประสาท
- ผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่
- ผู้สูงอายุที่สูญเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
บริการพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีข้อดีอย่างไรบ้าง?
บริการพยาบาลเวชศาสตร์ นอกจากจะช่วยให้การฟื้นฟูร่างกายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังมีข้อดีอื่น ๆ อีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
ดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุม
- ประเมินผู้ป่วยอย่างครอบคลุม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
- ประสานงานกับทีมสหวิชาชีพ เช่น แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด เพื่อให้การดูแลอย่างครบถ้วน
เพิ่มศักยภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
- ซัพพอร์ตผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การอาบน้ำ การแปรงฟัน เป็นต้น ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีมากยิ่งขึ้น
- ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อลีบ เป็นต้น
- เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองของผู้ป่วย
- ติดตามและประเมินผลการฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ
การสนับสนุนทางจิตใจ
- ให้คำปรึกษาและช่วยผู้ป่วยจัดการกับความเครียดและภาวะซึมเศร้า
- สร้างแรงจูงใจในการฟื้นฟูสมรรถภาผ่านการตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วย
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในกระบวนการฟื้นฟู
ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
- ฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง
- ให้คำแนะนำในการปรับสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับสมรรถภาพของผู้ป่วย
- ให้คำแนะนำในการฟื้นฟูเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง
สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่น ดูแลคุณด้วยบริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ผู้ป่วยติดเตียง ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน การฟื้นฟูสมรรถภาพผ่านบริการกิจกรรมบำบัด และกายภาพบำบัดแบบเข้มข้น หรือต้องการชมสถานที่ของเรา สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์)
- Line : PNKG
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู
พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู ทำหน้าที่อะไรบ้าง?
- ประเมินความสามารถทางกาย ใจ สังคม และจิตใจของผู้ป่วย เพื่อวางแผนการฟื้นฟูที่เหมาะสม
- วางแผนการดูแลที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
- ดูแลผู้ป่วยตามแผนที่วางไว้ เช่น การดูแลแผล การเปลี่ยนท่า การฝึกการเคลื่อนไหว
- ให้ความรู้และให้การซัพพอร์ตการฟื้นฟูหลังผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เพื่อการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง
- คอยให้กำลังใจและสนับสนุนผู้ป่วยและครอบครัวตลอดระยะเวลาการฟื้นฟู
ทำไมถึงควรเลือกใช้บริการพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู?
- ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง : พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ
- ดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุม : ซัพพอร์ตและดูแลผู้ป่วยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
- ยกระดับคุณภาพชีวิต : ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด