- บริการของเรา
- บริการฟื้นฟู
- ภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งานและภาวะติดเตียง
ภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งานและภาวะติดเตียง
ภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งาน หรือ Disuse syndrome เป็นภาวะที่เกิดจากการนอนหรือไม่ได้ขยับร่างกายเป็นเวลานาน ส่งผลให้ความสามารถหรือการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายลดลง อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น กำลังกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ข้อต่อยึดติด เกิดแผลกดทับ เกิดภาวะเสื่อมถอยของระบบประสานสัมพันธ์กล้ามเนื้อ และลดการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวปกติ หากเกิดภาวะต่าง ๆ เหล่านี้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รับการแก้ไขหรือถูกกำจัดไปอย่างถูกวิธี อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลดลง ต้องได้รับการช่วยเหลือมากขึ้น และเกิดภาวะติดเตียง (Bedridden) ได้ในที่สุด
การฟื้นฟูในผู้รับบริการที่มีภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งานและภาวะติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะอ่อนแรงจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นระยะเวลานาน จะมุ่งเน้นการฟื้นฟูร่างกายส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน ควบคู่กับการลดความแทรกซ้อนของปัญหา ให้กลับมามีความสามารถเพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และพัฒนาไปสู่การมีส่วนร่วมในสังคมตามความต้องการรายบุคคล อีกทั้งยังส่งเสริมความสามารถในส่วนที่มีปัญหาให้กลับมาใช้งานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดอันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โดยการฟื้นฟูจากศูนย์ PNKG สำหรับภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งาน จะเป็นการดูแลในรูปแบบทีมประกอบด้วยทีมแพทย์ที่ให้การดูแลผู้ป่วยในองค์รวม, นักกายภาพบำบัดที่พัฒนาความสามารถทางด้านร่างกาย, นักกิจกรรมบำบัดที่นำความสามารถมาปรับใช้กับกิจวัตรประจำวัน (ADL training) ควบคู่กับการฝึกความคิดความเข้าใจ (Cognitive training), พยาบาลและฝ่ายการดูแลที่สนับสนุนความสามารถสู่การปฏิบัติในชีวิตจริง ซึ่งรวมถึงความร่วมมือของผู้รับบริการและครอบครัวในการวางแผนการรักษาและติดตามการรักษาร่วมกันกับทีม PNKG
ลงชื่อเพื่อรับคำปรึกษา
กับผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่!
ตัวอย่างอาการภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งานและภาวะติดเตียง เช่น
-
ปอดติดเชื้อ
-
ท้องผูก
-
ข้อติด
-
กำลังกล้ามเนื้อลดลง
-
แผลกดทับ
-
ความจำเสื่อม
-
หมดแรงจูงใจ
-
อื่น ๆ
โดยตัวอย่างการฝึกผู้รับบริการที่มีปัญหาด้านโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ มีดังนี้
-
Orthotic therapy
-
Functional gait training
-
Muscle strength training
-
Balance and coordination training
-
Outdoor walking training
-
Upper extremities and hand function training
-
Cognitive training
-
Activities daily living training (ADL)
-
Component exercise
-
Home modification
-
Home program exercise
-
Caregiver training
-
และอื่น ๆ
เงื่อนไขบริการ
-
ผู้ที่จะเข้ารับการฟื้นฟูต้องผ่านการซักประวัติเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญทางโทรศัพท์หรือที่โรงพยาบาล ก่อนเข้ารับการประเมินและทำการฟื้นฟูในขั้นตอนต่อไป
-
แผนการรักษาและแพ็กเกจที่เหมาะสมกับผู้ป่วย อาจมีการปรับเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับดุลยพิจของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ และโรงพยาบาล
รายละเอียดบริการ
1. ตรวจประเมินทางกายภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ
2. บริการออกแบบแผนการฟื้นฟูเฉพาะบุคคล
3. บริการฟื้นฟูโดยนักบำบัด
4. บริการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
5. ให้คำแนะนำในการดูแลและออกกำลังกายที่บ้าน
คุณหนึ่งฤทัย
ญาติผู้เข้ารับบริการ
“ข้อดีของศูนย์ PNKG มีอาหาร 3 มื้อตรงเวลา จูงมือ พยุงเรา ไม่เคยล้มสักครั้ง เขาดูแลเราดี เขาสอนเรา ยิ่งเราทำตามเขา เรายิ่งได้ผลลัพธ์ที่ดี” – สัมภาษณ์สด คุณธงชัย
อ่านเพิ่มเติม
คุณธงชัย ธรรมศีลธร
ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมอง
“3 เดือน ผ่านไปไวเหมือนโกหก แต่สิ่งผมพบกับตัวเอง คือความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มหัศจรรย์ด้วยวิธีการฝึกที่แตกต่างจากหลายที่ในเมืองไทย จากต้นตำรับแดนอาทิตย์อุทัย การฝึกทั้ง PT และ OT มีความเข้มข้น โดยเน้นให้กล้ามเนื้อ ที่สำคัญต่อแขน ขา แข็งแกร่งขึ้น พร้อมทั้งมีทีมงานใส่ใจในความปลอดภัย เมื่อเราอยู่บ้านด้วย
” – อ.อ้วน หนึ่งในผู้รับบริการ
อ่านเพิ่มเติม
อ.อ้วน
หนึ่งในผู้รับบริการ
“แรก ๆ คุณพ่อให้อาหารทางสายยางทุกมื้อ ตั้งแต่ฝึกมา คุณพ่อไม่เคยสำลักเลย ยาเม็ดเป็นแคปซูลสามารถกลืนได้ พอดีขึ้นก็ทานอาหารทางปากได้เลย"
” – คาสัน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
อ่านเพิ่มเติม
คาสัน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ญาติผู้รับบริการ
“ทีมงานเอาใจใส่ดี ตรงเวลาและคอยติดตามผล จากที่ขาลีบเดินไม่ได้ ผ่านไป 1 สัปดาห์ ผมเริ่มประคองตัวเดินได้ เหมือนเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ที่เราไม่คาดคิดว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในเวลาเท่านี้"
” – คุณวัชรศักดิ์ เชาวน์ธนพัฒน์
คุณวัชรศักดิ์ เชาวน์ธนพัฒน์
หนึ่งในผู้รับบริการ