ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การกลืน” เป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานของร่างกายที่สำคัญมาก หากเรามีปัญหากับการกลืน อย่าง “ภาวะกลืนลำบาก” อาจส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ยากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ภาวะกลืนลำบาก คืออะไร? ภาวะกลืนลำบาก คือ ภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติในการกลืน ทำให้อาจกลืนสิ่งต่าง ๆ ได้ยากลำบากหรือมีอาการเจ็บเวลากลืน เช่น ขณะกลืนอาหาร หรือของเหลวบางชนิด กลืนน้ำลาย เป็นต้น ภาวะกลืนลำบากสามารถพบได้ใน กลุ่มผู้ป่วยด้านระบบประสาทและสมอง (โรคหลอดเลือดสมอง บาดเจ็บที่สมอง หรือสมองเสื่อม) มะเร็ง และโรคกรดไหลย้อน (GERD) สาเหตุของภาวะกลืนลำบาก ผู้สูงอายุบางรายอาจมีประสิทธิภาพการเคี้ยวและการกลืนลดลง ทำให้รู้สึกเจ็บ เมื่อกลืนน้ำหรืออาหาร ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น โรคอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเรื้อรัง เนื้องอกที่สมอง ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเส้นเลือดในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตัน ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเอากล่องเสียงออก ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน อาการของภาวะกลืนลำบาก นอกจากนี้ ภาวะกลืนลำบากยังมักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่าง เนื้องอก พาร์กินสัน ซึ่งกระทบกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เช่น หายใจติดขัด หายใจไม่ออก สำลักหลังรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ (อาหารหรือของเหลวเข้าสู่หลอดลม) ไอระหว่างหรือหลังกลืนอาหารหรือน้ำ …
ADL
รู้หรือไม่ ภาวะเปราะบาง หรือ Frailty ที่หลาย ๆ คนคิดว่าเป็นหนึ่งในโรค แต่จริง ๆ แล้ว ภาวะเปราะบางเป็นเพียงภาวะที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นได้ทั้งทางกายภาพ และสภาพจิตใจ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาว ภาวะเปราะบางมักพบในผู้สูงอายุโดยเฉพาะในผู้ที่มีสภาวะเปลี่ยนผ่านจากสภาพแข็งแรงสู่ภาวะอ่อนแอ ทั้งทางกาย จิต และสังคม อันเป็นสาเหตุหลักของผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ ทั้งการหกล้ม ภาวะทุพพลภาพ ความพิการถาวร คุณภาพชีวิตลดลง ความต้องการการดูแลที่ซับซ้อน นอกจากนี้ภาวะเปราะบางยังต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจากญาติ ครอบครัว และคนใกล้ตัวอีกด้วย ภาวะเปราะบางมีลักษณะดังต่อไปนี้ – กล้ามเนื้ออ่อนแรง – กิจกรรมทางกายต่ำ เหนื่อยมากขึ้น หายใจแรงขึ้นในกิจกรรมที่เคยทำ – เดินช้าลง – มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และความคิด รู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง – น้ำหนักลดลงโดยไม่เจตนาร่วมกับภาวะอ่อนแอ โดยลดลงมากกว่า 4.5 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ภาวะเปราะบางตามความรุนแรงได้ดังนี้ กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเปราะบาง: ต้องปรับพฤติกรรมเพื่อคงสุขภาวะที่ดีในการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มที่เริ่มมีภาวะเปราะบางหรือกลุ่มเสี่ยงสูงต่อภาวะเปราะบาง: ต้องปรับพฤติกรรมและเสริมกำลังใจเพื่อชะลอและฟื้นคืนภาวะเปราะบาง กลุ่มผู้เปราะบางที่มีความซับซ้อนของโรค: ต้องการการส่งเสริมป้องกันจากทีมสหสาขาวิชาชีพและองค์กรในชุมชนเพื่อลดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ การป้องกันผู้ป่วยในภาวะเปราะบาง – เพิ่มการออกกำลังกาย ทั้งชนืดต้านทานและแอโรบิก, …
Deconditioning หรือ Disuse Syndrome หรือ ภาวะถดถอยทางร่างกาย เป็นหนึ่งในภาวะอันตรายที่คุณอาจะไม่รู้จัก เป็นภาวะที่เกิดจากการนอนหรือไม่ได้ขยับมาเป็นเวลานาน ส่งผลให้ความสามารถหรือการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายลดลง ซึ่งนำมาสู่การเกิดภาวะถดถอยหรือ โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยอ่อนแอลงจนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงไปในที่สุด ผู้ป่วยที่อาจเกิด Disuse Syndrome หรือ ภาวะถดถอยทางร่างกาย เช่น ผู้ได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเยอะ ผู้ป่วยที่ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่เส้นเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยกระดูกหัก ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงนาน หรือ นอนโรงพยาบาลนาน การที่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ปุวยตระหนักถึงภาวะ Deconditioning หรือ Disuse Syndrome หรือ ภาวะถดถอยทางร่างกายจะทำให้สามารถป้องกันและรักษาได้อย่างเหมาะสม ปัญหาที่อาจเกิดจากภาวะถดถอยจากการไม่ได้ใช้งาน กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ผลกระทบ: – ข้อฝืด – ข้อยึดติด – กระดูกบาง – กล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง หัวใจและหลอดเลือด ระบบการหายใจ – ภาวะเวียนหัวขณะเปลี่ยนท่าทางเนื่องจากการปรับระดับไหลเวียนโลหิต …