PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

recommend

กายอุปกรณ์ (Orthosis and Prosthesis: PO) หมายถึง อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการเคลื่อนไหว รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้กับร่างกายสำหรับทดแทนอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพ เช่น ข้อเข่าเทียม ข้อสะโพกเทียม แขนขาเทียม เป็นต้น ในบางครั้งกายอุปกรณ์จะกินความหมายครอบคลุมถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น รถเข็น (Wheelchair) ไม้เท้า เป็นต้น โดยทั่วไป กายอุปกรณ์ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามจุดประสงค์การใช้งาน คือ กายอุปกรณ์เทียม (prosthesis) คือ กายอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ทดแทนอวัยวะหรือชิ้นส่วนของอวัยวะที่ขาดหาย หรือสูญเสียไปจากสาเหตุต่างๆ เช่น ขาเทียม แขนเทียม ข้อต่อเทียม นิ้วมือเทียม หรืออวัยวะเทียมอื่นๆ กายอุปกรณ์เสริม (orthosis) อาจเรียกชื่อสามัญอื่นๆว่า อุปกรณ์เสริม, อุปกรณ์ดาม, อุปกรณ์ประคอง (Splint หรือ Brace) คือ กายอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เพื่อเสริมความสามารถในการทำหน้าที่เดิมของอวัยวะที่มีปัญหาในการทำงานจากภาวะอ่อนแรง เจ็บปวด หรือเสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น ซึ่งกายอุปกรณ์เสริมเป็นอุปกรณ์ที่นำมาดัดแปลงเพื่อสนับสนุนลักษณะโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของการเคลื่อนไหวผ่านการช่วยเหลือระบบประสาทยนต์ ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบโครงสร้างและแกนกลางของร่างกาย …

ฝึกเดินด้วยกายอุปกรณ์ทำให้กลับมาเดินได้ จริงหรือไม่? Read More »

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การกลืน” เป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานของร่างกายที่สำคัญมาก หากเรามีปัญหากับการกลืน อย่าง “ภาวะกลืนลำบาก” อาจส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ยากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ภาวะกลืนลำบาก คืออะไร? ภาวะกลืนลำบาก คือ ภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติในการกลืน ทำให้อาจกลืนสิ่งต่าง ๆ ได้ยากลำบากหรือมีอาการเจ็บเวลากลืน เช่น ขณะกลืนอาหาร หรือของเหลวบางชนิด กลืนน้ำลาย เป็นต้น ภาวะกลืนลำบากสามารถพบได้ใน กลุ่มผู้ป่วยด้านระบบประสาทและสมอง (โรคหลอดเลือดสมอง บาดเจ็บที่สมอง หรือสมองเสื่อม) มะเร็ง และโรคกรดไหลย้อน (GERD) สาเหตุของภาวะกลืนลำบาก ผู้สูงอายุบางรายอาจมีประสิทธิภาพการเคี้ยวและการกลืนลดลง ทำให้รู้สึกเจ็บ เมื่อกลืนน้ำหรืออาหาร ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของระบบประสาท เช่น โรคอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเรื้อรัง เนื้องอกที่สมอง ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเส้นเลือดในสมอง เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตัน ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเอากล่องเสียงออก ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานาน อาการของภาวะกลืนลำบาก นอกจากนี้ ภาวะกลืนลำบากยังมักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่าง เนื้องอก พาร์กินสัน ซึ่งกระทบกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เช่น หายใจติดขัด หายใจไม่ออก สำลักหลังรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ (อาหารหรือของเหลวเข้าสู่หลอดลม) ไอระหว่างหรือหลังกลืนอาหารหรือน้ำ …

ภาวะกลืนลำบาก: ผลเสียต่อผู้สูงอายุและวิธีดูแล Read More »

เพราะว่าการฟื้นฟูไม่มีสูตรสำเร็จ ผู้ป่วยแต่ละคนจึงต้องมีแผนการฟื้นฟูเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้การฟื้นฟูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care เราให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ การขับถ่าย และการออกกำลังกายของผู้เข้ารับการฟื้นฟู ซึ่งแน่นอนว่าความสามารถของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น บุคลากรของทางศูนย์ จะเริ่มต้นจากการพูดคุยกับผู้เข้ารับการฟื้นฟู เพื่อออกแบบ “แผนการฟื้นฟูเฉพาะบุคคล” ให้เหมาะสมกับตัวผู้เข้ารับการฟื้นฟูแต่ละรายให้ได้มากที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโปรแกรมฟื้นฟู เพื่อให้ได้แผนการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสอดคล้องกับวิถีชีวิตเดิมของผู้เข้ารับการฟื้นฟู บุคลากรของทางศูนย์จะทำการพูดคุยกับผู้เข้ารับการฟื้นฟูถึง ข้อมูลส่วนตัวบางประการที่เปิดเผยได้ ภูมิหลังทั่วไป ตลอดจนความชอบส่วนบุคคล และกิจกรรมที่สนใจ เพื่อนำมาปรับให้เหมาะสมกับโปรแกรมการฝึก และโปรแกรมการดูแลทั้งหมด ทำไมถึงต้องซักถามข้อมูลโดยละเอียด? เพราะคนเดินไม่ได้ 10 คน มีสาเหตุแตกต่างกันทุกคน นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราถึงต้องซักประวัติอย่างละเอียด เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเดินไม่ได้ ”ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมฟื้นฟูข้อดีของแผนฟื้นฟูเฉพาะบุคคล แผนการรักษาจะปรับเปลี่ยนตามพัฒนาการของผู้เข้ารับการฟื้นฟู ทางศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care จะมีแผนการฟื้นฟูระยะสั้น และระยะยาว ทั้งนี้ บุคลากรของทางศูนย์จะทำการประเมินผลจากการประยุกต์ใช้แผนฟื้นฟูเฉพาะบุคคลกับผู้เข้ารับการฟื้นฟูแต่ละราย เพื่อดูว่าผลลัพธ์ตรงตามที่เราตั้งไว้มาก-น้อย เพียงไหน และปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้การฟื้นฟูประสบความสำเร็จ และปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้การฟื้นฟูไม่ประสบความสำเร็จ เพื่อที่ทางศูนย์จะสามารถปรับแผนการฟื้นฟู …

ทำไมก่อนกายภาพบำบัด ต้องมีแผนฟื้นฟูเฉพาะบุคคล Read More »