PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

Stroke

พับกระดาษ Origami คืออะไร? ทำความรู้จักกิจกรรมสุดสร้างสรรค์ ตัวช่วยฟื้นฟูสมองและร่างกายในผู้สูงอายุ โอริกามิหรือโอริงามิมีที่มาจากอะไร? ทำไมถึงได้รับความนิยมทั่วโลก แล้วโอริกามิ มีประโยชน์ยังไง? ช่วยฟื้นฟูสมองในผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้อย่างไร PNKG มีคำตอบ พร้อมแชร์ 4 วิธีพับกระดาษฉบับอีซี่แบบ Step by Step  Origami คืออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร?  Origami คือ ศิลปะการพับกระดาษสไตล์ญี่ปุ่นให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ โดยไม่ใช้กาวหรือกรรไกร ส่วนประวัติความเป็นมาของกิจกรรมนี้ เริ่มจากคำภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ โอริ (折り) แปลว่า พับ คามิ (紙) แปลว่า กระดาษ โดยมีการพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ภาพวาดและเครื่องราง ซึ่งเชื่อกันว่า นิยมใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เนื่องจาก กระดาษมีราคาสูงมาก จึงไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนเข้าสู่ช่วงยุคเอโดะ (ประมาณปี 1603-1868) กระดาษที่ใช้ในการพับเริ่มมีราคาถูกลง และกลายเป็นกิจกรรมยามว่างที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เปิด 3 เหตุผลที่ทำให้การพับกระดาษ …

พับกระดาษ แจก 4 วิธีพับ Origami ตัวช่วยฟื้นฟูผู้สูงอายุ Read More »

โรคเส้นเลือดในสมองตีบห้ามกินอะไรบ้าง? เส้นเลือดในสมองตีบ ผลไม้อะไรบ้างที่ไม่ควรกิน รวมเช็กลิสต์ที่ผู้ป่วย ผู้ดูแลและคนในครอบครัวควรรู้ เพราะการเลือกรับประทานเมนูอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสโตรก (Stroke) ซ้ำได้ด้วย วันนี้ PNKG ศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูได้รวบรวมเช็กลิสต์ 7 อาหารต้องห้าม ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบห้ามกินอะไร ป่วยเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ กินไข่ได้ไหม? เมนูไหนไม่ควรเสี่ยง พร้อมแนะนำอาหาร ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบควรกินอะไร เจาะลึก 3 เหตุผล ทำไมการเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบถึงมีความสำคัญ     เปิด 3 เหตุผลสำคัญผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบควรกินอะไร? ทำไมการเลือกอาหารที่มีโภชนาการที่เหมาะสมถึงมีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke) หรือกลุ่มโรคสโตรก (Stroke) ไม่ว่าจะเป็นกับข้าว ของว่าง ผักหรือผลไม้ มีรายละเอียด ดังนี้  1. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำ ผู้ป่วยสโตรกที่ได้รับการรักษาจนดีขึ้นแล้ว มีโอกาสที่เกิดโรคซ้ำค่อนข้างสูง ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน คอเลสเตอรอล ความดันโลหิต เป็นต้น โดยมีงานวิจัยเผยว่า ผู้ป่วยสโตรกที่มีการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม พร้อมออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย …

โรคเส้นเลือดในสมองตีบห้ามกินอะไร 7 อาหารควรงดลดเสี่ยงทรุด Read More »

Golden Period คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับการทำกายภาพผู้ป่วยสโตรก ทำความเข้าใจ 0-6 เดือน ช่วงเวลาทองสำหรับการทำกายภาพบำบัดหลังผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เพื่อฟื้นฟูสมองสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก หรือชื่อที่หลายคนคุ้นเคยอย่างสโตรก (Stroke) เพราะทุกนาที คือ โอกาส รู้ก่อนเปลี่ยนชีวิต ลดความเสี่ยงพิการและภาวะถดถอยทางร่างกาย จนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง และเสียชีวิต Golden Period คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับการทำกายภาพผู้ป่วยสโตรก   Golden Period Stroke คือ ช่วงเวลาสำคัญที่สมองสามารถเรียนรู้และจดจำรูปแบบการเคลื่อนไหวได้ดีที่สุด ประมาณ 0-6 เดือน หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง Golden Period จึงเป็นระยะเวลาทองในการฟื้นฟูสมอง เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายและการทำกิจวัตรประจำวัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่ง Golden Period คือ ช่วงที่สำคัญเป็นอย่างมาก และยังเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตในระยะยาวของผู้ป่วยด้วย หรือสรุปได้ง่าย ๆ ว่า Golden Period คือ ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยควรจะได้รับการทำกายภาพบำบัดมากที่สุด ยิ่งผู้ป่วยได้รับการทำกายภาพบำบัดไปพร้อม ๆ …

Golden Period คือ? Golden Period สำคัญยังไงกับผู้ป่วยสโตรก Read More »

9 ธ.ค. 65 จ.กรุงเทพมหานคร – PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC นำโดยคุณยูกิ ฟุรุยะ ผู้อำนวยการศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care และคุณสรวงศ์ ศิริบุญพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด บริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ พร้อม ดร.อรณัฏฐ์ นครศรี ประธานกรรมการมูลนิธิจากนางฟ้าถึงคุณวันใหม่ และ คุณณัฐกาญจน์ เด่นวณิชชากร ผู้อำนวยการของ Joy Ride Thailand มอบ “คุณช้างจับมือ” อุปกรณ์เพื่อการบริหาร เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ เพื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 500 ตัว แก่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โดยมีคุณปาริชาติ จันทร์สุนทราพร …

คุณช้างจับมือ อุปกรณ์ช่วยกายภาพ Read More »

โรคหลอดเลือดสมองหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดอัมพาต แต่สามารถป้องกันได้ หากเรารับมือและดูแลผู้ป่วยอย่างทันท่วงทีและถูกวิธี โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภัยเงียบอันดับ 2 ที่คร่าชีวิตคนไทย เป็นรองแค่เพียงโรคมะเร็งเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่แค่กับผู้สูงอายุอย่างที่เข้าใจกัน โรคหลอดเลือดในสมองอันตรายอย่างไร? โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดในสมองเกิดการตีบ ตัน หรือว่าแตก อย่างเฉียบพลัน ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองในบริเวณนั้นหยุดชะงักลง และเป็นผลให้เนื้อสมองถูกทำลายจากภาวะขาดออกซิเจนและสารอาหาร‍ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ที่นี่ ลองทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ที่นี่ โดยสมองแต่ละส่วน ก็ทำหน้าที่ในการดูแลการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป เป็นเหตุให้ อาการของผู้ป่วยโรคสมองอาจรุนแรง และแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น: เกิดความเสียหายที่สมองซีกซ้าย: ร่ายกายฝั่งขวาเป็นอัมพาต มีปัญหาการสื่อสาร การพูด และการเข้าใจ มีปัญหาในการกลืนอาหาร สูญเสียการจัดการ ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง สูญเสียการมองเห็น ภาพซีกขวาของตาทั้งสองข้าง เกิดความเสียหายที่สมองซีกขวา: ร่ายกายฝั่งซ้ายเป็นอัมพาต สูญเสียความสามารถในการประเมินขนาด และประมาณระยะทาง สูญเสียการมองเห็น ภาพซีกซ้ายของตาทั้งสองข้าง ซึ่งไม่ว่าจะเกิดความเสียหายกับเนื้อสมองส่วนไหน อาการก็ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตระยะยาวทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อลดความรุนแรงของอาการที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนเพื่อลดโอกาสการเสียชีวิต เราจึงควรสังเกตอาการตัวเองและรู้ทันอาการของโรค หากเราหรือคนรู้จักมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที BEFAST: สังเกตอาการ …

ไขข้อสงสัย: หากสมองเสียหาย เราเสี่ยงอะไรบ้าง? Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save