PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

เกี่ยวกับเรา - ความเป็นมาของ PNKG Recovery and Elder Care

PNKG Recovery and Elder Care เกิดจากความร่วมระหว่าง Nihon Keiei Group และบริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) (PRINC) ผนวกจุดแข็งด้านการการดูแลผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี เน้นการฟื้นฟู ด้วยแนวคิด Self-reliance ให้ผู้สูงอายุกลับมาแข็งแรงและกลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวได้ กับความเป็นเลิศในด้านการแพทย์ ผสานเข้ากับการนำเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อความรวดเร็วในให้บริการและความปลอดภัยของผู้เข้ารับการรักษา เพื่อที่ให้ประชากรสามารถเข้าถึงสาธารณสุขที่ดีและมีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีการฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่น (Kaigo – Do) ออกแบบแผนการฟื้นฟูร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในไทยและญี่ปุ่น (นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักโภชนาการ แพทย์ พยาบาล ทีมนักดูแล นักจิตวิทยา และญาติผู้ป่วย) เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างแข็งแรง และมีความสุข
ศูนย์ฟื้นฟู โรคหลอดเลือดสมอง ด้วยวิธีไคโกโดะ

คินสึงิ ศิลปะการซ่อมแซมสู่คอนเซ็ปต์ PNKG

ร้อยเรียงเรื่องราวด้วย “คินสึงิ” (Kintsugi) ศิลปะการซ่อมแซมภาชนะที่มีรอยร้าวหรือเสียหายด้วยการลงรักปิดทอง ฟื้นคืนความเสียหายที่เกินกว่าจะเยียวยาให้กลับมาสวยงามและโดดเด่นอีกครั้ง
  • ภาชนะที่แตกร้าวเปรียบเสมือน ร่างกายผู้ป่วยทีเคยสมบูรณ์ กลับหมดความหวังที่จะกลับมาใช้ชีวิตจากร่องรอยโรคร้ายที่สร้างความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจจนเกินจะเยียวยา
  • PNKG เปรียบเสมือนรักทอง ด้วยการประกอบชิ้นส่วนความเสียหายทางร่างกายและจิตใจด้วยความเข้าใจ วิเคราะห์ปัญหา และฟื้นฟูอย่างตรงจุด ให้กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
โดยลายเส้นในวงกลมมาจากตัวอักษร “自立” (จิริสึ) ที่แปลว่า การพึ่งตัวเอง ซึ่งสอดคล้องกับคอนเซ็ปต์การฟื้นฟูร่างกายของ PNKG ที่เน้นการฝึกให้ผู้ป่วยพึ่งพาตนเองเป็นหลัก และกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ใช้ความสามารถที่เหลืออยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

จุดเด่นของเรา

ฟื้นฟูอย่างเข้มข้นด้วยศาสตร์ Kaigo-Do

เน้นการฟื้นฟูอย่างเข้มข้นด้วยเทคนิคไคโกะ-โดะ (Kaigo-Do) หนึ่งในศาสตร์การฟื้นฟูที่ได้รับการยอมรับระดับโลก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของทีมสหวิชาชีพ

เพื่อให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์พัฒนาและนำมาสู่แบบแผนการใช้ชีวิตที่เหมาะสม

ดีไซน์แผนการฟื้นฟูเฉพาะบุคคล

พิเศษกว่าใคร ด้วยการดีไซน์โปรแกรมฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยแบบรายบุคคล โดยผู้เชี่ยวชาญจากไทยและญี่ปุ่น เน้นการฟื้นฟูอย่างเข้มข้น ในระยะเวลาสั้น ทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายได้เร็ว

บริการอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

เหนือระดับยิ่งกว่าด้วยบุคลากรทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวิชาชีพ ทั้งไทยและญี่ปุ่น พร้อมดูแลและซัพพอร์ตผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง

ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา

นักกายภาพบำบัด

นักกายภาพบำบัด (Physical Therapist) หรือที่รู้จักกันว่า “PT” หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูผู้ป่วยระบบประสาทและกระดูกกล้ามเนื้อ โดยตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยด้วยหลักการของชีวกลศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และทฤษฎีต่าง ๆ ผสมผสานกัน เพื่อให้ร่างกายอยู่ในท่าทาง และตำแหน่งที่เหมาะสมถูกต้อง ทั้งการลุก การนั่ง การเดิน รวมทั้งการบูรณาการการเคลื่อนไหวสู่การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการมีส่วนร่วมในสังคม

นักกิจกรรมบำบัด

นักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) หรือที่เรียกกันว่า “OT” หมายถึง บุคลากรที่ทำหน้าที่ประเมินและรักษาสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ เนื่องจากอาการเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือสถานการณ์อื่นๆ และช่วยให้บุคคลเหล่านั้นกลับมามีทักษะในการทำงานที่เคยหายไปอีกครั้ง นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความสามารถและทักษะทางสังคม และพึ่งพาตนเองในการทำงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝึกกลืน ฝึกความคิดความเข้าใจ ฝึกการหยิบจับ รวมถึงการฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีมากยิ่งขึ้น

พยาบาลและฝ่ายการดูแล

Care Team เป็นฝ่ายที่ทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยและครอบครัวมากที่สุดประกอบไปด้วย พยาบาล ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยเริ่มตั้งแต่ซักประวัติความเจ็บป่วยและภูมิหลัง คอยสังเกตอาการ สอบถามรายละเอียดการใช้ชีวิต สุขภาพจิตของผู้เข้ารับการฟื้นฟู ตลอดจนประวัติการรักษาโรคประจำตัว เพื่อนำมาวิเคราะห์ พร้อมประสานงานไปยังทีมนักบำบัด นำไปสู่การปรับเปลี่ยนการฟื้นฟูผ่านตารางการฝึกในแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและตรงกับความต้องการกับผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

แพทย์

คอยให้คำแนะนำ และสังเกต อาการข้างเคียงของโรคที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูเป็นอยู่ รวมไปถึงในด้านโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการฟื้นฟูรวมไปถึงพิจารณาการลดยาประจำตัวของผู้เข้ารับการฟื้นฟู

นักโภชนาการอาหาร

มีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณสารอาหารที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูพึงจะได้รับ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน โดยมีทีมนักโภชนาการจากประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ

ผู้ประสานงานหลัก

ผู้ประสานงานหลัก หรือที่เรียกกันว่า “Case manager” เป็นผู้ประสานงานหลักระหว่างครอบครัว ผู้รับบริการ ทีมการรักษาทั้งแพทย์ พยาบาล ทีมบำบัด ทีมดูแลและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยทำหน้าที่หลักเป็นคนจัดการกระบวนการดูแลในภาพรวมทุกกระบวนการตั้งแต่แรกรับ จนติดตามการรักษาหลังจากกลับบ้าน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า