การฝึกการรับรู้และความเข้าใจ

Cognitive Training คือ? กิจกรรมบำบัดกระตุ้นความรู้ความเข้าใจ

Cognitive Training คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร ทำไมผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุถึงควรทำกิจกรรมบำบัดกระตุ้นความรู้ความเข้าใจ Cognitive Training ผู้สูงอายุ ช่วยฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจได้อย่างไร? Cognitive Training Activities มีอะไรบ้าง? ปูฟื้นฐานกิจกรรมบำบัดการฟื้นฟูการรับรู้ฉบับสรุปกระชับเข้าใจง่าย โดย PNKG Recovery and Elder Care ผู้ชำนาญการมาประสบการณ์จากญี่ปุ่นและไทย ดูแลด้วยความเข้าใจอย่างใกล้ชิด พร้อมแนะนำ Cognitive Training Exercises กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยหรือผู้อายุสู่การฟื้นฟูอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนที่คุณรัก

Cognitive Training คืออะไร?

การฝึกการทำงานของสมอง (Cognitive Training) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Brain Training คือ หนึ่งในกิจกรรมบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง กระตุ้นกระบวนการทำงานของสมอง ด้วยการฝึกความคิดเข้าใจกับนักกิจกรรมบำบัด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง โดยนักกิจกรรมบำบัดจะทำหน้าที่ในการประเมินความรู้ความสามารถที่ผู้ป่วยมี และออกแบบแผนการฟื้นฟูที่เหมาะสม เพื่อฝึกสมองสม่ำเสมอ พัฒนาทักษะการคิด การจดจำ และการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบว่านักกิจกรรมบำบัดเป็นใคร? สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ นักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) คือใคร? และมีความสำคัญอย่างไรต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย

Cognitive Training ผู้สูงอายุ ช่วยเรื่องอะไรบ้าง?

โดยทั่วไป เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะเสื่อมถอยไปตามเวลา ซึ่งรวมถึงการทำงานของสมองเช่นกัน เมื่อการทำงานของสมองมีประสิทธิภาพลดลง อาจนำไปสู่ปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพภาพชีวิตโดยรวมในที่สุด และเพื่อให้การทำ Cognitive Training Exercise เหมาะสมกับอาการและความสามารถที่เหลืออยู่ จึงควรอยู่ในความดูแลของนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งนอกจากจะช่วยฟื้นฟูการรับรู้และความเข้าใจแล้ว ยังมีข้อดีอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • ช่วยพัฒนาความทรงจำทั้งระยะสั้น (Short-Term Memory) และความทรงจำระยะยาว (Long-Term Memory) เพิ่มความสามารถในการจดจำข้อมูลใหม่ได้เร็วมากยิ่งขึ้น
  • Cognitive Training คือ กิจกรรมบำบัดที่ช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ฝึกคิดวิเคราะห์และหาทางออกสำหรับปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างตรงจุด
  • พัฒนาทักษะการบริหารจัดการขั้นสูง ช่วยในการวางแผน จัดระเบียบ ควบคุมตัวเอง และตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลหรือรอบคอบมากยิ่งขึ้น
  • เพิ่มสมาธิในการโฟกัสระหว่างทำกิจกรรมได้นานขึ้น
  • ตอบสนองต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น
  • Cognitive Training ผู้สูงอายุ ช่วยพัฒนาการรับรู้ทางสายตา สามารถแยกแยะการรับรู้ภาพจากพื้น มิติสัมพันธ์ การรับรู้ตำแหน่งในพื้นที่ต่าง ๆ การรับรู้รูปทรง และตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ได้
  • พัฒนาการรับรู้ผ่านการรับความรู้สึก สามารถเข้าใจภาษาพูด ภาษาเขียน และเพิ่มความสามารถในการแยกภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยพัฒนาในการรับรู้เกี่ยวกับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง

Cognitive Training Activities ตัวอย่างกิจกรรมฟื้นฟูการรับรู้และความเข้าใจ

กิจกรรมฟื้นฟูการรับรู้และความเข้าใจในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไป Cognitive Training Activities ที่นิยมใช้ในการฝึกฝนผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ มีรายละเอียด ดังนี้

  • เกมปริศนา ฝึกการคิดวิเคราะห์ เช่น ปริศนาอักษรไขว้ (Crossword puzzles) ซูโดกุ (Sudoku)
  • กิจกรรมฝึกและพัฒนาความทรงจำ เช่น เกมจับคู่ภาพ ท่องจำรายการสิ่งของและทบทวน
  • กิจกรรมฝึกสมาธิ เช่น ฝึกนับเลขถอยหลังจาก 100 ทีละ 7 เกม Simon Says (ทำตามคำสั่ง)
  • กิจกรรมฝึกการรับรู้ทางสายตา เช่น ต่อจิ๊กซอว์ จับผิดภาพ วาดภาพหรือระบายสีตามแบบที่กำหนด
  • กิจกรรมฝึกการประสานงานระหว่างมือและตา เช่น ร้อยลูกปัดหรือเย็บปักถักร้อย การพับกระดาษ (Origami) ตัวช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
  • กิจกรรมฝึกการรับรู้ทางเสียง เช่น การแยกแยะเสียงดนตรีหรือเสียงในธรรมชาติ ทายชื่อเพลงทำนอง ฟังและทำตามคำสั่งที่ซับซ้อน
  • กิจกรรมฝึกความเร็วในการประมวลผล เช่น เกมจับคู่สีหรือรูปทรงในเวลาที่จำกัด คิดเลขเร็ว
  • กิจกรรมฝึกทักษะภาษา เช่น เล่นเกมต่อคำ (Word association games) เขียนเรื่องสั้นจากคำที่กำหนดให้ ฝึกพูดเร็วโดยใช้คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดียวกัน (Tongue twisters)
  • กิจกรรมฝึกการวางแผนและจัดการ เช่น เล่นเกมหมากรุก หมากฮอต

Cognitive Training มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?

การทำ Cognitive Training คือ กิจกรรมบำบัดที่ช่วยในการพัฒนาทักษะการรับรู้และความเข้าใจได้อย่างตรงจุด และยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพิ่มความมั่นใจ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และยังมีข้อดีอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

ด้านการทำงานของสมอง

  • สามารถคิดและตอบสนองได้เร็วมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ชื่อคน เวลา สถานที่ หรือข้อมูลที่มีความซับซ้อน
  • ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์สมอง และลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์
  • การรับรู้ทางสายตาและมิติสัมพันธ์
  • ช่วยรักษาความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหว

ด้านการทำงาน

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีสมาธิ และสามารถจดจ่อกับการทำงานได้มากขึ้น
  • พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และจัดการกับงานหลายอย่างพร้อมได้เป็นอย่างดี

ด้านการตัดสินใจ

  • สามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลหรือรอบคอบมากยิ่งขึ้น

ด้านสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต

5 ขั้นตอนการทำ Cognitive Training ของ PNKG มีอะไรบ้าง?

โปรแกรม Cognitive Training มีอะไรบ้าง? วิธีการฝึกการทำงานของสมองของ PNKG Recovery and Elder Care สามารถแบ่งได้ 5 ขั้นตอน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ประเมินและวิเคราะห์ความสามารถในการรับรู้และความเข้าใจของผู้ป่วย

ประเมินและวิเคราะห์ความสามารถในการรับรู้และความเข้าใจของผู้ป่วย ด้วยการทำแบบทดสอบแบบรายบุคคล เพื่อวัดระดับความสามารถในด้านต่าง ๆ

กำหนดเป้าหมายที่ต้องการพัฒนา

ออกแบบแผนการฟื้นฟูที่เหมาะสม เพื่อฝึกสมองสม่ำเสมอ พัฒนาทักษะการคิด การจดจำ และการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ออกแบบกิจกรรม (Cognitive Training Activities)

ออกแบบกิจกรรม ที่เหมาะสมและตรงกับทักษะที่ต้องการฟื้นฟูหรือพัฒนา โดยจะค่อย ๆ ปรับระดับความซับซ้อนขึ้นตามพัฒนาการของผู้ป่วย และทำการฝึกโปรแกรม Cognitive Training อย่างสม่ำเสมอ

ทำการประเมินซ้ำเป็นระยะ ๆ เพื่อวัดพัฒนาการ

การฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจะช่วยพัฒนาและฟื้นฟูการรับรู้และความเข้าใจในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ออกแบบแผนการฝึกใหม่ให้เหมาะสม

หากไม่เห็นผลลัพธ์พัฒนาการ นักกิจกรรมของเราจะทำการออกแบบแผนการฝึกใหม่ให้เหมาะสมและตอบโจทย์ความสามารถของผู้ป่วยมากที่สุด

ข้อควรรู้ในการทำ Cognitive Training มีอะไรบ้าง?

ส่วนข้อควรรู้ในการทำ Cognitive Training ที่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุควรรู้ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ และใช้เวลาในการฝึกฝน ผลลัพธ์อาจไม่เห็นทันที
  • เริ่มจากระดับง่าย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มความซับซ้อน ไม่ควรหักโหมมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความเครียดได้
  • เน้นการฝึกฝนหลาย ๆ ด้าน
  • นอนหลับให้เพียงพอ เพื่อสนับสนุนการทำงานของสมอง
  • หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มฝึก

ทำไมถึงควร Cognitive Training ผู้สูงอายุ กับ PNKG Recovery and Elder Care

เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งผู้สูงอายุ และผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน โรคระบบประสาท โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ บาดเจ็บไขสันหลัง กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือผู้ป่วยติดเตียง ครอบคลุมทุกความต้องการด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ทีมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน Cognitive Training พร้อมประเมินและวิเคราะห์ความสามารถของผู้ป่วย เพื่อออกแบบกิจกรรมในการฝึกฝนการทำงานของสมองแบบรายบุคคล เพื่อการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานการฟื้นฟูระดับสากล

ด้วยความรู้ ความเข้าใจ และความใส่ใจมาตรฐานเดียวกับประเทศญี่ปุ่นจากความร่วมมือ Nihon Keiei Group ที่มีประสบการณ์ด้านการดูแลผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี
ยกระดับคุณภาพการฟื้นฟูให้เหนือระดับไปอีกขั้น ด้วยการเสริมทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
มากกว่าผลลัพธ์ในการฟื้นฟู ทางเรายังให้ความสำคัญกับสภาวะจิตใจ สื่อสารด้วยความเข้าใจ เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งกว่า
ออกแบบแผนการฟื้นฟูเฉพาะบุคคลด้วยทีมนักกายภาพบำบัดทั้งในไทยและญี่ปุ่น พร้อมกายอุปกรณ์ที่ทันสมัยและครบครัน
ห้องพักเน้นดีไซน์โปร่งสบาย มีปุ่มกดเรียกพยาบาล (Nurse Call) ในห้องพักและในห้องน้ำ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
ให้ความสำคัญกับคุณภาพการฟื้นฟู ผู้ป่วย 1 ท่าน จะมีผู้ดูแลมากถึง 7 ท่าน (แพทย์ หัวหน้าเคส นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักวิทยาศาสตร์การกีฬา พยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล) พร้อมปรับเปลี่ยนแผนฟื้นฟูตามพัฒนาที่เพิ่มขึ้นเสมอ

ส่งอาการเบื้องต้นให้เราช่วยประเมิน

ปรึกษากับทีมแพทย์และนักฟื้นฟูของเรา เพื่อให้คุณวางแผนได้อย่างมั่นใจ และตรงกับอาการมากที่สุด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฝึกการทำงานของสมอง

Cognitive Training คืออะไร?

เป็นรูปแบบการฝึก เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงานของสมอง เช่น ความจำ การตัดสินใจ ความเร็วในการประมวลผล เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือรักษาการทำงานของสมองของผู้ป่วยให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านความจำ มีอาการสับสน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ การจดจำรูปภาพ เกมปริศนา เป็นต้น เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การจดจำ และการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • การฝึกอย่างสม่ำเสมอ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองและสร้างการเชื่อมต่อใหม่ ๆ ซึ่งช่วยชะลอการเสื่อมถอยของสมองได้อย่างตรงจุด
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำระยะสั้นและระยะยาว ทำให้ผู้สูงอายุสามารถจดจำข้อมูลและเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
  • เพิ่มสมาธิในการจดจ่อ ทำให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิได้ดีขึ้น
  • พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์ ทำให้ผู้สูงอายุสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น
  • การฝึกเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
การฝึกการทำงานของสมองตอบโจทย์การฟื้นฟูการรับรู้และความเข้าใจในกลุ่มคนหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์, โรคพาร์กินสัน, หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทางสมอง ซึ่งรวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับสมองด้วย
ผลลัพธ์ของการทำ Cognitive Training ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจของผู้ป่วย ประเภทของกิจกรรมที่ทำ และความสม่ำเสมอ ซึ่งการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เห็นผลได้ดีขึ้น