เพราะการกลืนไม่ใช่เรื่องเล็ก…ฝึกกลืน ฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุและผู้ป่วย เปิด 3 เหตุผล ทำไมผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือมีสายอาหารถึงควรทำกายภาพบําบัดฝึก กลืน ทำความรู้จักการฝึกการกลืนอาหาร โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยและผู้สูงอายุจาก PNKG Recovery and Elder Care
โดยทั่วไป อาหารที่ใช้ในการฝึก จะมีความโดยทาง PNKG Recovery and Elder Care จะใช้เกณฑ์ IDDSI : International Dysphagia Standardization Initiative ในการปรับระดับอาหารให้อยู่ในระดับที่กลืนง่ายตามระดับความเหมาะสมและความสามารถในการกลืนอาหารของคนไข้ โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ปรับตัว และเพิ่มระดับความสามารถในการฝึกได้อย่างเหมาะสม โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ปัจจุบัน เทคนิคการฝึกในโรงพยาบาลหรือศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูต่าง ๆ มีวิธีการฝึกกระตุ้นการกลืนสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การบำบัดทางอ้อม (Indirect Therapy) และการบำบัดทางตรงหรือใช้เทคนิคปรับเปลี่ยน (Direct Therapy / Compensatory Strategies) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
เป็นวิธีการฝึกสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะเยอะ หรือการทำงานของระบบประสานสัมพันธ์มีปัญหา โดยวิธีนี้จะช่วยเพิ่มพลังกล้ามเนื้อ ทั้งลิ้น ริมฝีปาก กล้ามเนื้อคอได้เป็นอย่างดี
ส่วนการบำบัดทางตรงจะเหมาะกับผู้ป่วยที่ผ่านประเมินการกลืนแล้วมีความเสี่ยงจะเกิดอาการสำลัก หรือไอน้อยลง ซึ่งวิธีนี้จะทำควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการบำบัดทางอ้อม
ทั้งนี้ การฝึกการกลืนไม่ควรทำด้วยตัวเอง และควรอยู่ภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการกลืนโดยเฉพาะเท่านั้น เพราะก่อนฝึก ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินและออกแบบโปรแกรมฝึกที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับความสามารถในการกลืนอาหารของผู้ป่วยด้วย
นอกจากการฝึกการกลืนจะช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถกลืนอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายผู้ป่วยได้ และมีข้อดีต่อสุขภาพโดยรวมอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
ฝึก กลืนอาหาร ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เพิ่มความมั่นใจในการรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เข้าสังคมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ
การสำลัก เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยเสียความมั่นใจในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นแล้ว ยังอาจทำให้อาหารเข้าไปในปอด นำไปสู่การติดเชื้อปอดอักเสบได้ ซึ่งฝึกกลืน กิจกรรมบำบัดสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การฝึกการกลืนช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
การทำฝึกการกลืน เป็นกระบวนการที่ช่วยแก้อาการสำลัก ภาวะกลืนลำบากได้อย่างตรงจุด ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การกลืนอาหารมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว ก่อนฝึก มีข้อควรรู้อื่น ๆ ที่ผู้ป่วยควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจใช้บริการ ได้แก่
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู PNKG Recovery and Elder Care มีทีมแพทย์เฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด ทีมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาวะกลืนลำบาก พร้อมประเมินอาการและออกแบบแผนการฟื้นฟูแบบรายบุคคล เพื่อการฟื้นฟูอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เรายังมีอาหารสำหรับการฝึกถึง 5 ระดับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ปรับตัว และเพิ่มระดับความสามารถในการฝึกได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญ เรายังมีวิธีฝึกกับผู้ป่วยหลายเทคนิค เพื่อกระตุ้นและเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้ออวัยวะบริเวณปาก ลิ้นและคอหอย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทานอาหารอย่างปลอดภัยและมั่นใจ
ปรึกษากับทีมแพทย์และนักฟื้นฟูของเรา เพื่อให้คุณวางแผนได้อย่างมั่นใจ และตรงกับอาการมากที่สุด
การฝึกกลืน คือ การฝึกควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ปาก และลิ้น เพื่อปรับปรุงความแข็งแรงและการประสานงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีสายให้อาหาร
โดยทั่วไประยะเวลาในการฝึกกลืนอาจเห็นผลในระยะเวลาสั้น ๆ แต่บางรายอาจต้องใช้เวลาในการฝึกนานหลายเดือน ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรงของรอยโรค ความถี่ในการฝึกกลืน และสภาพร่างกายและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งะต้องขึ้นอยู่กับนักกิจกรรมบำบัดและแพทย์ด้วย
ไม่ควรทำด้วยตัวเอง ควรได้รับการฝึกภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อกระตุ้นการกลืนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก
ศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง PNKG Recovery and Elder Care
ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (Princ Hospital Suvarnabhumi)
Copyright PNKG Recovery and Elder Care 2025, All Rights Reserved.