PNKG RECOVERY CENTER ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระบบประสาท ฟื้นฟูหลังผ่าตัด และผู้สูงอายุ

Motor Learning Theory หนึ่งในหัวใจกายภาพบำบัด

Motor Learning Theory คือ เทคนิกการฟื้นฟูที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ ด้วยการสร้างความเคยชิน ที่ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care เราใช้ศาสตร์การฟื้นฟูแบบไคโก-โดะ ซึ่งเป็นศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง โดยมีผู้ดูแล (Caregiver) คอยให้ความช่วยเหลือในเวลาที่เขาต้องการเท่านั้น

แต่รู้หรือไม่? เบื้องหลังความสำเร็จของการฟื้นฟูแบบไคโก-โดะ คือทฤษฎีการฟื้นฟูที่มีชื่อว่า Motor Learning Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นพัฒนา และเสริมสร้างการทำงานสหสัมพันธ์ของสมองและกล้ามเนื้อ ผ่านการฝึกฝนและช่วงเวลา‍

Motor Learning Theory คืออะไร?

เคยสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมเราสามารถกลับมาขับรถยนต์ ว่ายน้ำ หรือเล่นเปียโนได้ หลังจากหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ ไปเป็นปี ปัจจัยนึงมาจากสมองของมนุษย์นั้นได้บันทึกข้อมูลการเคลื่อนไหวนี้ไว้แล้ว ทำให้สามารถหยิบข้อมูลดังกล่าวมาใช้ได้ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่คล่องเหมือนเดิมแต่หากฝึกฝนซ้ำ ๆ ก็สามารถกลับมาทำกิจกรรมนั้นได้ดังเดิม

แล้วทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับการฟื้นฟูผู้ป่วย?

หลังจากพ้นจากขีดอันตรายของโรคหลอดเลือดสมอง พักฟื้นจากการผ่าเข่า สะโพก กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถขยับ เคลื่อนที่ หรือใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นเคย ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นคืนความสามารถที่เสียไปได้โดยการทำกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นกระบวนการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอผ่านการทำกิจวัตรประจำวัน ประหนึ่งเป็นการเรียนรู้สิ่ง ๆ หนึ่งอีกครั้ง และกระบวนการฟื้นฟูแบบนี้เอง ที่อยู่เบื้องหลังการฟื้นฟูที่ศูนย์ PNKG Recovery Center and Elder Care

ด้วยการประยุกต์ใช้ Motor Learning Theory มาเป็นทฤษฎีเบื้องหลังการฟื้นฟู ผู้เข้ารับการฟื้นฟูกับทางศูนย์ของเราจะได้ทำการกายภาพบำบัดผ่านการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขาเคยทำได้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้การเคลื่อนไหว และการทำงานประสานกันของร่างกายโดยรวม โดยนำทฤษฎีดังกล่าวมาผนวกเข้ากับกิจกรรมที่ต้องทำประจำวัน ฝึกฝนซ้ำ ๆ เป็นประจำจนเกิดเป็นความเคยชิน ผู้เข้ารับการฟื้นฟูก็จะสามารถกลับมาใช้ความสามารถที่สูญเสียไปได้อีกครั้ง อย่างใกล้เคียงปกติที่สุด

ทฤษฎี Motor Learning ประกอบด้วย 3 ระดับ ดังนี้

อ้างอิง: AARON SWANSON

Cognitive Stage (ต้องทำอะไร)

ระยะนี้เป็นระยะแรกในการเรียนรู้การเคลื่อนไหว ต้องใช้ความคิดความเข้าใจในการเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวตามที่ต้องการ เช่น การฝึกเดินครั้งแรกหลังจากผ่าตัดสะโพก ผู้ป่วยจะยังไม่ชินกับสิ่งเปลี่ยนไปหลังจากผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นกำลังกล้ามเนื้อ หรือ ช่วงการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้ต้องใช้สมาธิเป็นอย่างมากในการควบคุมร่างกายให้เคลื่อนไหวดังเดิม

Associative Stage (ทำอย่างไร)

ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มคุ้นชินกับรูปแบบการเคลื่อนไหวมากขึ้น แต่ยังสามารถพบการเคลื่อนไหวที่ยังไม่ถูกต้องได้

Autonomous Stage (ทำโดยอัตโนมัติ)

ระยะนี้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้เสมือนปกติ  ใช้ความคิดในการควบคุมร่างกายน้อยลง และพบความผิดพลาดของรูปแบบการเคลื่อนไหวน้อยลง

ทุกการฟื้นฟูล้วนแล้วแต่ต้องการความทุ่มเท และความพยายาม ที่ศูนย์ PNKG Recovery Center and Elder Care เรามอบบริการโปรแกรมฟื้นฟูครบวงจรแก่ผู้เข้ารับการฟื้นฟู ให้การดูแลฟื้นฟูทางด้านร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ผ่านกระบวนการที่ประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิผลที่เป็นที่ประจักษ์

หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือคลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Sorry, we couldn't find any posts. Please try a different search.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save