ฝึกกลืน ฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากด้วยกิจกรรมบำบัด
ฝึกกลืน ฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุและผู้ป่วย เปิด 3 เหตุผล ทำไมผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือมีสายอาหารถึงควรทำกายภาพบําบัดฝึก กลืน ทำความรู้จักการฝึกการกลืนอาหาร โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยและผู้สูงอายุจาก PNKG Recovery and Elder Care พร้อมตอบคำถามเรื่องที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจใช้บริการ การฝึกกลืนในผู้สูงอายุ มีข้อดีอย่างไร ช่วยกระตุ้นการกลืนได้อย่างไร? อาหารฝึกการกลืน สามารถแบ่งได้กี่ระดับ? แล้วการฝึกการกลืน เหมาะกับใครบ้าง? สรุปข้อควรรู้ฉบับเข้าใจง่ายได้ที่นี่
ฝึกกลืน คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ
การฝึกกลืนอาหาร คือ การฝึกควบคุมการทำงานของปาก ลิ้น และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุและผู้ป่วย ซึ่งอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน ผ่าตัดบริเวณลำคอ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีสายให้อาหาร เพราะการใส่สายอาหารในระยะยาวอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น เกิดแผล หรือการติดเชื้อ และที่สำคัญยังส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารด้วยตัวเอง การฝึกการกลืน จึงเป็นหนึ่งในกิจกรรมบำบัดที่ PNKG ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพื่อฟื้นฟูความสามารถให้ผู้ป่วยสามารถกลับมารับประทานอาหารด้วยตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องใส่สายอาหาร พร้อมเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยในระยะยาว
ฝึกกลืนอาหาร ช่วยกระตุ้นการกลืนได้อย่างไร?
ส่วนคำถามที่ว่าการฝึกการกลืนช่วยกระตุ้นการกลืนในผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้อย่างไร? จริง ๆ แล้ว การฝึก กลืนช่วยฟื้นฟูความสามารถในการกลืนอาหารและเครื่องดื่มผ่านกลไกต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กระตุ้นการรับรู้และการตอบสนอง
- กระตุ้นและเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้ออวัยวะบริเวณปาก ลิ้นและคอหอย
- เพิ่มการประสานงานระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ
- ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ (การสำลัก, การไอและอาหารหล่นออกจากปาก)
กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ
- ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงและกระตุ้นการผลิตน้ำลายภายในปาก
- ปรับปรุงการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ
กระตุ้นการทำงานของประสาท
- กระตุ้นวงจรประสาทที่ควบคุมการกลืน
- ฟื้นฟูเส้นทางประสาทที่บกพร่อง
- เพิ่มการส่งสัญญาณประสาท
- สร้างวงจรประสาทใหม่
หากผู้ป่วยฝึกอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธีจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานประสานกันได้ดีขึ้น ส่งผลให้การกลืนมีประสิทธิภาพและปลอดภัยนั่นเอง
6 เหตุผล ทำไมผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนอาหารถึงควรทำกายภาพบําบัดฝึกกลืน
นอกจากการฝึกการกลืนจะช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถกลืนอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายผู้ป่วยได้ และมีข้อดีต่อสุขภาพโดยรวมอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทานอาหารได้เอง
การฝึกสม่ำเสมอช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารและเครื่องดื่มได้ด้วยตัวเอง ลดความเสี่ยงงในการเกิดอาการแืรกซ้อนจากการใส่สายให้อาหารได้เป็นอย่างดี
ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อโครงสร้างภายในปากและลำคอ
ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เช่น ลิ้น ขากรรไกร และกล้ามเนื้อคอ เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยให้การกลืนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ช่วยปรับปรุงการประสานงานของกล้ามเนื้อ
เนื่องจาก การกลืนเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อหลายกลุ่ม การกระตุ้นการกลืนซ้ำ ๆ จึงช่วยให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกลืนทำงานประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
เพิ่มความมั่นใจในการรับประทานอาหาร
ฝึก กลืนอาหาร ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เพิ่มความมั่นใจในการรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เข้าสังคมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ
ป้องกันการสำลัก
การสำลัก เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยเสียความมั่นใจในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นแล้ว ยังอาจทำให้อาหารเข้าไปในปอด นำไปสู่การติดเชื้อปอดอักเสบได้ ซึ่งฝึกกลืน กิจกรรมบำบัดสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดสารอาหาร
การฝึกการกลืนช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
อาหารฝึกกลืน สามารถแบ่งได้กี่ระดับ?
โดยทั่วไป อาหารที่ใช้ในการฝึก จะมีความโดยทาง PNKG Recovery and Elder Care จะใช้เกณฑ์ IDDSI : International Dysphagia Standardization Initiative ในการปรับระดับอาหารให้อยู่ในระดับที่กลืนง่ายตามระดับความเหมาะสมและความสามารถในการกลืนอาหารของคนไข้ โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ปรับตัว และเพิ่มระดับความสามารถในการฝึกได้อย่างเหมาะสม โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ระดับอาหารสำหรับการฝึกการกลืน
- Level 3 : เป็นอาหารเหลวข้น
- Level 4 : เป็นอาหารบดละเอียด
- Level 5 : เป็นอาหารสับละเอียดและชุ่มน้ำ
- Level 6 : เป็นอาหารอ่อนและมีชิ้นเล็ก
- Level 7 : อาหารธรรมดา เคี้ยวง่าย
ระดับเครื่องดื่มสำหรับฝึกการกลืน
- Level 0 : เหลวและไม่หนืด
- Level 1 : หนืดเล็กน้อย
- Level 2 : หนืดน้อย
- Level 3 : หนืดปานกลาง
- Level 4 : หนืดมาก
ฝึกกลืนเหมาะกับใครบ้าง?
การฝึกกลืน กิจกรรมบำบัดตอบโจทย์ทั้งผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาการกลืนจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้ที่มีสายให้อาหาร
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
- ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS)
- ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ผู้ที่มีอาการสำลักบ่อย หรือมีอาการ
- ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือลำคอ
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณช่องปากและลำคอ
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องปากและลำคอ
- ผู้ที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ
เทคนิคกระตุ้นการกลืน มีอะไรบ้าง?
ปัจจุบัน เทคนิคการฝึกในโรงพยาบาลหรือศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูต่าง ๆ มีวิธีการฝึกกระตุ้นการกลืนสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การบำบัดทางอ้อม (Indirect Therapy) และการบำบัดทางตรงหรือใช้เทคนิคปรับเปลี่ยน (Direct Therapy / Compensatory Strategies) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
การบำบัดทางอ้อม (Indirect Therapy)
เป็นวิธีการฝึกสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะเยอะ หรือการทำงานของระบบประสานสัมพันธ์มีปัญหา โดยวิธีนี้จะช่วยเพิ่มพลังกล้ามเนื้อ ทั้งลิ้น ริมฝีปาก กล้ามเนื้อคอได้เป็นอย่างดี
- การบริหาร เพื่อคงพิสัยการเคลื่อนไหว (ROM exercise)
- การฝึกสหสัมพันธ์ของกระบวนการการกลืน (Coordination exercise)
- การบริหารออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของอวัยวะในช่องปาก คอหอยและกล่องเสียง (Strengthening of pharyngeal and laryngeal structure)
- การกระตุ้นการรับรู้ความรู้สึก (Sensory stimulation)
- การจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นในการกลืน (Environment manipulation)
การบำบัดทางตรงหรือใช้เทคนิคปรับเปลี่ยน (Direct Therapy / Compensatory Strategies)
ส่วนการบำบัดทางตรงจะเหมาะกับผู้ป่วยที่ผ่านประเมินการกลืนแล้วมีความเสี่ยงจะเกิดอาการสำลัก หรือไอน้อยลง ซึ่งวิธีนี้จะทำควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการบำบัดทางอ้อม
- การปรับอาหาร (Dietary management)
- การปรับเปลี่ยนท่าทาง (Positioning)
- เทคนิคการกลืน (Swallowing maneuvers : Supraglottic, effortful, double swallow etc.)
- ตำแหน่งในการนำอาหารเข้าปาก (Sensory stimulation)
- การปรับอุปกรณ์ช่วยเหลือ (Environment manipulation)
- การดูแลฟันและช่องปาก (Oral hygiene care)
ทั้งนี้ การฝึกการกลืนไม่ควรทำด้วยตัวเอง และควรอยู่ภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการกลืนโดยเฉพาะเท่านั้น เพราะก่อนฝึก ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินและออกแบบโปรแกรมฝึกที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับความสามารถในการกลืนอาหารของผู้ป่วยด้วย
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการฝึกการกลืน
การทำฝึกการกลืน เป็นกระบวนการที่ช่วยแก้อาการสำลัก ภาวะกลืนลำบากได้อย่างตรงจุด ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การกลืนอาหารมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว ก่อนฝึก มีข้อควรรู้อื่น ๆ ที่ผู้ป่วยควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจใช้บริการ ได้แก่
- ไม่ควรฝึกด้วยตัวเอง ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุควรฝึกภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกิจกรรมบำบัด เพื่อความปลอดภัยและความเหมาะสมกับอาการ
- ต้องใช้เวลาและการฝึกอย่างสม่ำเสมอ
- ในกรณีที่ภาวะกลืนลำบากที่เกิดจากสาเหตุของโรคต่าง ๆ ควรฝึกการกลืนควบคู่กับการรักษาหรือฟื้นฟูสาเหตุของปัญหานั้น ๆ ด้วย
- พักผ่อนให้เพียงพอ สภาพร่างกายพร้อมในการรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการสนทนาระหว่างฝึก
ทำไมถึงควรฝึกการกลืนกับ PNKG Recovery and Elder Care
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู PNKG Recovery and Elder Care เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน โรคระบบประสาท โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ บาดเจ็บไขสันหลัง กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือผู้ป่วยติดเตียง มีทีมแพทย์เฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด ทีมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาวะกลืนลำบาก พร้อมประเมินอาการและออกแบบแผนการฟื้นฟูแบบรายบุคคล เพื่อการฟื้นฟูอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ เรายังมีอาหารสำหรับการฝึกถึง 5 ระดับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ปรับตัว และเพิ่มระดับความสามารถในการฝึกได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญ เรายังมีวิธีฝึกกับผู้ป่วยหลายเทคนิค เพื่อกระตุ้นและเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้ออวัยวะบริเวณปาก ลิ้นและคอหอย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทานอาหารอย่างปลอดภัยและมั่นใจ
สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการด้านนี้ หรือต้องการดูสถานที่จริงของทาง PNKG Recovery and Elder Care สามารถปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมฟรีผ่านช่องทางการติดต่อต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- โทร : 080-910-2124
- Line : PNKG
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฝึกกลืน
อาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการกลืน มีอะไรบ้าง?
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู PNKG มีรูปแบบอาหารสำหรับฝึก 5 ระดับ ซึ่งจะแบ่งตามระดับความเข้มข้น โดยแพทย์และทีมสหวิชาชีพจะทำการประเมินความสามารถในการกลืนของแต่ละบุคคล เพื่อเลือกระดับอาหารที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย
ฝึกการกลืนอาหาร ต้องใช้เวลานานแค่ไหน?
ระยะเวลาในการฝึกในผู้สูงอายุจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและความรุนแรงของปัญหา บางรายอาจเห็นผลในระยะเวลาสั้น ๆ แต่บางรายอาจต้องใช้เวลาในการฝึกนานหลายเดือน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และทีมสหวิชาชีพ
ฝึกการกลืน ทำเองได้ไหม?
ไม่ควรทำด้วยตัวเอง ควรได้รับการฝึกภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อกระตุ้นการกลืนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก
- ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินปัญหาการกลืนอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการฝึกที่เหมาะสมกับความสามารถในการกลืนอาหารของผู้ป่วย
- นักกิจกรรมบำบัด มีเทคนิคเฉพาะที่ผ่านการอบรมมาโดยเฉพาะ และสามารถปรับเปลี่ยนแผนการฝึก เพื่อกระตุ้นการกลืนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
- ป้องกันความเสี่ยงในการสำลัก และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี