โรคพาร์กินสัน คือ โรคที่ความผิดปกติของส่วนเบซอลแกงเกลียในสมองส่วนกลาง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของร่างกาย ส่งผลต่อทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกตินั่นเอง
โรคพาร์กินสัน หรือ โรคสั่นสันนิบาต (Parkinson’s Disease) เป็นโรคยอดฮิตที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ มักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี และพบได้บ่อยรองลงมาจากโรคอัลไซเมอร์
ปัจจุบัน ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ถ้าหากได้รับการดูแล ฟื้นฟูจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้วยการกายภาพบำบัดที่ถูกต้อง ก็จะสามารถชะลออาการของโรคพาร์กินสัน และทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือตัวเองได้ และมีสภาพร่างกายที่และจิตใจที่ดีขึ้น
โรคพาร์กินสัน คืออะไร เกิดจากอะไร
“โรคพาร์กินสัน” เกิดจากความผิดปกติของส่วนเบซอลแกงเกลียในสมองส่วนกลาง ซึ่งสมองส่วนนี้ทำหน้าที่ผลิตสารสื่อประสาทชื่อว่า โดพามีน ซึ่งโดพามีนทำหน้าที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของร่างกาย
หากสมองส่วนกลางที่มีหน้าที่ผลิตโดพามีนผิดปกติ ก็จะทำให้ผลิตโดพามีนได้ลดลง ส่งผลต่อทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกตินั่นเอง โรคพาร์กินสันยังสามารถเกิดร่วมกับกลุ่มโรคสมองเสื่อม (Dementia)
อาการ โรคพาร์กินสัน
- สั่น เกร็ง ข้อต่อติดแข็ง เคลื่อนไหวช้า การทรงตัวไม่ดี
- เขียนตัวอักษรเล็กลง
- เสียงค่อยและเบาลง
- สีหน้าไร้อารมณ์
- หลังค่อม ตัวงุ้มลง
- การรับกลิ่นลดลง
- มีการขยับแขนและขาอย่างรุนแรงขณะหลับ
ระยะของโรคพาร์กินสัน
ระยะของโรคพาร์กินสันสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 5 ระยะ จากเบาไปจนถึงหนัก (แบ่งตามเกณฑ์ Modified Hoehn – Yahr)
ระยะที่ 1: ในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า ข้อต่อติดแข็งที่ร่างกายที่ซีกใดซีกหนึ่ง
ระยะที่ 1.5: แกนกลางลำตัวและกระดูกสันหลังเริ่มแสดงอาการผิดปกติ
ระยะที่ 2: ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทั้งสั่น เคลื่อนไหวช้า และข้อต่อติดแข็งทั้งสองซีกของร่างกาย แต่ยังไม่มีปัญหาเรื่องการบาลานซ์ร่างกาย สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
ระยะที่ 2.5: อาการที่เกิดขึ้นในระยะที่ 2 เริ่มรุนแรงขึ้นจากเดิม
ระยะที่ 3: เริ่มทรงตัวไม่ได้ ลุก ยืน เดิน ลำบาก ต้องมีอุปกรณ์ช่วย เช่น ไม้เท้า แต่ยังสามารถใช้ชีวิตเองได้อยู่
ระยะที่ 4: อาการทุกอย่างรุนแรงขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงกว่าเดิม ต้องมีคนช่วยอย่างใกล้ชิดเพราะผู้ป่วยอาจหกล้มได้ง่าย การทรงตัวไม่ดี
ระยะที่ 5: เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย เช่น ไม่สามารถทานอาหารได้เอง มือหงิกงอ หากปล่อยไว้ จะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงไปในที่สุด
โรคพาร์กินสันอันตรายไหม? สามารถรักษาให้หายได้รึเปล่า?
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รักษาไม่หาย อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ (Progressive Disease)
ซึ่งสิ่งที่จะคอยช่วยคงอาการผู้ป่วย คือ กายภาพบำบัด
กายภาพบำบัดจะชะลอการดำเนินโรคให้เป็นไปอย่างช้าที่สุด หากผู้ป่วยไม่ได้กายภาพบำบัด ฟื้นฟู หรือกินยาเลย ผู้ป่วยจะทรุดเร็ว ทำให้เข้าสู่ภาวะผู้ป่วยติดเตียงได้ไวขึ้น
โรคพาร์กินสันอันตรายไหม ขึ้นอยู่กับว่าคนไข้อยู่ในระยะไหนแล้ว ถ้าหากอยู่ในระยะแรก ๆ และเริ่มรักษา ฟื้นฟูร่างกายไว ก็จะชะลออาการให้เกิดช้าลง ร่างกายแข็งแรง แต่ยิ่งระยะสูง โอกาสที่อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นหรือความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุก็จะยิ่งมากตาม
การรักษาโรคพาร์กินสัน
ปัจจุบันโรคพาร์กินสันไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยาวนานที่สุดได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- การรักษาด้วยการรับประทานยา
- การรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยรายที่อาการของโรค ดำเนินไปสู่ระยะท้ายแล้ว
- การทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน
เพราะอาการของโรคพาร์กินสันนั้น ทำให้การดำเนินชีวิตเกิดอุปสรรค ที่สำคัญโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คนรอบข้างจึงควรทำความเข้าใจและคอยช่วยดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นขึ้น โดยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
- ช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย เพื่อป้องกันการเกิดข้อยึดติด ฝึกการทรงตัว เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- คอยระวังเรื่องอุบัติเหตุ การล้ม ปัญหาการกลืน การพูด
- ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ เนื่องจากผู้ป่วยพาร์กินสันจะสามารถทำ กิจกรรมต่าง ๆ ได้ช้า จึงทำให้มักมีอาการท้องผูก
นอกเหนือจากการดูแลทางด้านร่างกายแล้ว ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยและคอยดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหานอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมี ปัญหาด้านจิตใจ มีความวิตกกังวล และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า จนแยกตัวออกห่างจากสังคม
วิธีป้องกันโรคพาร์กินสัน
ปัจจุบัน ยังไม่พบสาเหตุการเกิดโรคพาร์กินสันอย่างชัดเจน แต่มีสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การเกิดอุบัติเหตุทางสมอง การทานยาจิตเวช ถึงแม้ว่าทางการแพทย์จะยังไม่ทราบสาเหตุของโรค แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป
หากสังเกตเห็นตนเองหรือคนในครอบครัวเริ่มมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที หรือถ้าหากตรวจเจอโรคพาร์กินสัน หรือ โรคหลอดเลือดสมอง แล้ว ควรรีบทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้องกับผู้เชี่ยวชาญ
หากท่านสนใจรับบริการฟื้นฟูร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลทางด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์แห่งไคโก-โดะ ศาสตร์การฟื้นฟูแบบฉบับญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพอย่ารอช้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ PNKG Recovery and Elder Care ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:30 น. จันทร์ – เสาร์ (ปิดบริการวันอาทิตย์) หรือคลิกที่นี่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
PNKG Recovery and Elder Care ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ บริการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยสโตรก ฟื้นฟูหลังผ่าตัด กระตุ้นการกลืน กระตุ้นความทรงจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
✔️ใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
✔️รักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ
✔️มาตรฐานการรักษาจากญี่ปุ่น
#PNKG #ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยและดูแลผู้สูงอายุ #บริการกายภาพบำบัด #สโตรก #ฟื้นฟูหลังผ่าตัด #กระตุ้นการกลืน #อัลไซเมอร์ #กล้ามเนื้ออ่อนแรง