กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) คือ? ฟื้นฟูผู้ป่วยยังไง
พัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับคนที่คุณรักโดยนักกิจกรรมบำบัดผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์กับ PNKG ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางความสามารถและผู้สูงอายุ หนึ่งเดียวในไทยที่ใช้หลักการและแนวคิดเดียวกับมาตรฐานญี่ปุ่น พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยศาสตร์แห่งการฟื้นฟูไคโกะ-โดะ (Kaigo-Do) ที่เน้นให้ผู้ป่วยพึ่งพาตนเองเป็นหลัก และใช้ความสามารถที่เหลืออยู่อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมไขข้อสงสัยการทำกิจกรรมบำบัดมีความสำคัญยังไง? ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้อย่างไร?
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) คืออะไร?
กิจกรรมบำบัด คือ การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ หรือพัฒนาการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การรับประทานอาหาร อาบน้ำ แปรงฟัน ใส่เสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจำเป็นต้องดำเนินการโดย Occupational Therapist ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
นักกิจกรรมบำบัด คือใคร? มีความสำคัญอย่างไรต่อการฟื้นฟูผู้ป่วย
นักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) หรือ OT เป็นหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมและได้รับใบประกอบวิชาชีพ ทำหน้าที่ในการประเมิน วิเคราะห์ปัญหา วางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว พร้อมให้การรักษาและติดตามผลการรักษา ทั้งทางกายภาพ จิตใจ รวมถึง Cognitive Training กระตุ้นการรับรู้และความเข้าใจที่มีสาเหตุจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน (Parkinson) ได้รับบาดเจ็บ ฯลฯ
โดย Occupational Therapist ของ PNKG Recovery and Elder Care จะทำการประเมินและวิเคราะห์ผู้ป่วยแบบรายบุคคล เพื่อออกแบบโปรแกรมให้เหมาะสมและตอบโจทย์อาการผู้ป่วยมากที่สุด เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูทักษะให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพาครอบครัวหรือผู้ดูแล และมีความสุขภาพกับการใช้ชีวิต
กิจกรรมบำบัด ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยได้อย่างไร?
ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง
การทำกิจกรรมหลากหลาย ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นประสาทและการเชื่อมโยงใหม่ในสมอง (Neuroplasticity) ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และการปรับตัวของระบบประสาทได้เป็นอย่างดี
มีโปรแกรมฝึกฝนอย่างเป็นระบบ
โดยทั่วไปโปรแกรมกิจกรรมจะค่อย ๆ ปรับระดับความซับซ้อนขึ้นตามพัฒนาการของผู้ป่วย ซึ่งการมีโปรแกรมฝึกฝนอย่างเป็นระบบจะช่วยสร้างความคุ้นเคย และพัฒนาทักษะให้กับผู้ป่วยอย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ช่วยพัฒนาทักษะการประสานงานของระบบร่างกาย
และเพื่อให้การประสานงานของระบบร่างกายกลับมามีประสิทธิภาพมากที่สุด ยังมีกิจกรรมที่จะต้องใช้ทักษะหลายด้านพร้อมกัน เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว การคิด และการสื่อสารไปพร้อม ๆ กัน การทำกิจกรรมประเภทนี้จะช่วยฝึกการทำงานประสานกันของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างตรงจุด
ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ป่วย
การที่ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ จะช่วยเพิ่มความสนใจให้กับผู้ป่วย และที่สำคัญ ยิ่งทำกิจกรรมสำเร็จมากเท่าไร ก็ยิ่งช่วยเพิ่มแรงจูงใจ-ความมั่นใจมากยิ่งขึ้น โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ และเพื่อให้การฟื้นฟูสมรรถภาพมีประโยชน์สูงสุด คลินิกจะมีการฝึกกิจกรรมที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การแปรงฟัน การรับประทานอาหาร การอาบน้ำ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้ทักษะและพึ่งพาตัวเองได้มากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งการช่วยเหลือจากครอบครัวหรือผู้ดูแล
คลินิกกิจกรรมบำบัด เหมาะกับใคร?
ตอบโจทย์ผู้ที่มีความต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ หรือพัฒนาการ โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มโรค ดังต่อไปนี้
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
- ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
- ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
- ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังผ่าตัด
- ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางสมอง
ข้อดีของการทำกิจกรรมบำบัด
กิจกรรม บำบัดเป็นวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ สามารถยืดหยุ่นและปรับได้เหมาะสมของแต่ละบุคคล ครอบคลุมหลายทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม โดยมีข้อดี ดังต่อไปนี้
- ฟื้นฟูทักษะที่ใช้ในการทำกิจวัตรประจำวัน ช่วยให้ผู้ป่วยพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
- พัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อสาร
- ฟื้นฟูสภาพจิตใจ ลดความเครียดและวิตกกังวล
- ช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงในการหกล้ม
- เพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิต
PNKG มีกิจกรรมบําบัดอะไรบ้าง?
OT ของ PNKG Recovery and Elder Care จะพิจารณาสาเหตุของอาการ ผลการประเมินและวิเคราะห์ความสามารถของผู้ป่วยเป็นหลัก ยกตัวอย่าง กิจกรรมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น
- กิจกรรมฝึกการทำงานของมือและนิ้ว (Fine Motor Skills) ฝึกการหยิบ การจับ และฝึกทักษะการใช้งาน เช่น การฝึกใช้ช้อนส้อม เกมจับคู่การ์ดหรือเรียงบล็อก เป็นต้น
- กิจกรรมฝึกทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งตัว การแปรงฟัน การอาบน้ำ เป็นต้น
- กิจกรรมฝึกกลืนและการรับประทานอาหารด้วยตัวเอง
- กิจกรรมฝึกสมาธิและฝึกวิเคราะห์ เช่น การพับกระดาษโอริกามิ (Origami) ปริศนาอักษรไขว้ (Crossword puzzles) ซูโดกุ (Sudoku)
- ฝึกการรับรู้และพัฒนาความเร็วในการประมวลผล เช่น เกมจับคู่สี หรือรูปทรง
ทำไมถึงควรใช้บริการกับ PNKG ?
PNKG Recovery and Elder Care เป็นศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ครบครันด้วยทีมแพทย์สาขาเฉพาะทาง ทีมพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู ทีมกายภาพบำบัด และนักกิจกรรม บำบัดที่มีความรู้ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม และยังมีจุดเด่นอีกหลายด้าน ได้แก่
- ออกแบบแผนการฟื้นฟูแบบรายบุคคลด้วยนักกิจกรรม บำบัดทั้งในไทยและญี่ปุ่น เพื่อออกแบบแผนการฟื้นฟูที่เหมาะสมและตรงจุดมากที่สุด
- ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล นำเสนอการรับรองจากองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
- ติดตามพัฒนาการด้านการฟื้นฟูสม่ำเสมอ หากไม่มีความก้าวหน้า จะทำการประเมินและวิเคราะห์ซ้ำอีกครั้ง เพื่อการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- ครบครันด้วยทีมแพทย์ และทีมสหวิชาชีพมากประสบการณ์
- ใช้หลักการและแนวคิดการฟื้นฟูเดียวกับ Nihon Keiei Group จากประเทศญี่ปุ่น
- คลินิกกว้างขวาง สะอาด ดีไซน์โปร่งสบาย มีปุ่มกดเรียกพยาบาล (Nurse Call) ในห้องพักและในห้องน้ำ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการหรือต้องการดูสถานที่จริงของทาง PNKG Recovery and Elder Care สามารถปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมฟรีผ่านช่องทางการติดต่อต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- โทร : 080-910-2124
- Line : PNKG
- Facebook : PNKG Recovery and Elder Care
คำถามที่พบบ่อย
กายภาพบําบัด กิจกรรมบําบัด แตกต่างกันอย่างไร
กายภาพบำบัด เน้นการฟื้นฟูและพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายให้กลับสู่สภาพปกติหรือใกล้เคียงปกติที่สุด ในขณะที่กิจกรรมบำบัดจะเน้นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ทักษะและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม เช่น การรับรู้และความเข้าใจ การกลืน ความบกพร่องในการประมวลผลทางประสาทสัมผัส
ตัวอย่างกิจกรรมบำบัด มีอะไรบ้าง
- เกมจับคู่สีหรือรูปทรง เพื่อพัฒนาการรับรู้ทางสายตา
- เล่นเกมความจำ เช่น การจับคู่ภาพ
- ฝึกกิจกรรมที่ใช้ในกิจวัตรประจำวัน เช่น การติดกระดุมเสื้อ แปรงฟัน อาบน้ำ
กิจกรรมบำบัดผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง
ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูการทำงานของสมอง อย่างกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด และมีกฎกติกาชัดเจน เช่น หมากรุก หมากฮอต การต่อเลโก้ เป็นต้น